ดีอีเอส เร่งเครื่อง 3 งานหลัก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ

Loading

  กระทรวงดิจิทัลฯ เร่งเครื่อง 3 งานหลักเตรียมรับการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เต็มรูปแบบกลางปีนี้ ครอบคลุม การจัดทำกฎหมายลำดับรอง จัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และวางกรอบแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มุ่งคุ้มครองเจ้าของข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ แนะประชาชนควรรู้ “สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” ซึ่งตามกฎหมายนี้กำหนดไว้ 8 เรื่อง นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ปัจจุบันสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) อยู่ระหว่างเร่งสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะมีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้เต็มรูปแบบ ซึ่งกำหนดไว้วันที่ 1 มิถุนายน 2564 โดยกำลังจัดทำ 3 เรื่อง ได้แก่ กฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมมูลฯ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ทั้งนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลฯ ได้กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ 8 เรื่อง คือ…

เมื่ออินเดียไม่ง้อบิ๊กเทค

Loading

  ในฐานะประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทุกย่างก้าวของอินเดียย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกรวมถึงวงการเทคด้วย หลังจากปะทะกับจีนจนกลายเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรี ส่งผลให้เกิดการแอนตี้สินค้าจีนรวมทั้งการแบนแอปยอดนิยมอย่าง TikTok ที่มีผู้ใช้บริการในอินเดียกว่า 200 ล้านคนมาแล้วเมื่อกลางปีก่อน ล่าสุดอินเดียก็หันมาลงดาบกับบิ๊กเทคระดับโลก อย่าง Twitter Facebook YouTube WhatsApp ตลอดจนโซเชียลมีเดียต่างประเทศอื่น ๆ ด้วยการออกกฎเหล็กให้เจ้าของแพลตฟอร์มต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นใหม่ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน และเจ้าหน้าที่ประสานงานกับภาครัฐ (ที่ต้องสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง) นอกจากนี้ ยังกำหนดให้บริษัทต้องเผยแพร่รายงานประจำเดือนด้านการปฏิบัติการกฎหมาย รวมทั้งแจกแจงรายละเอียดว่าแต่ละเดือนได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งหมดกี่เคส และดำเนินการแก้ไขอย่างไรบ้าง โดยให้เวลา 3 เดือนในการเตรียมตัว ชนวนที่ทำให้รัฐบาลของนายนเรนทรา โมดี ตัดสินใจรัวออกมาตรการคุมเข้มโซเชียลมีเดียจากต่างประเทศในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดจากความไม่พอใจที่ทวิตเตอร์แข็งขืนไม่ยอมแบนผู้ใช้งานบางบัญชีโดยเฉพาะบัญชีของสื่อมวลชน นักกิจกรรม และนักการเมือง ที่รัฐมองว่าอยู่เบื้องหลังการปั่นแฮชแท็กโจมตีร่างกฎหมายเกษตรฉบับใหม่ และสุมไฟให้การชุมนุมของเกษตรกรหลายแสนคนที่รวมตัวกันประท้วงร่างกฎหมายดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็น “เท็จ” และปราศจาก “หลักฐาน” แล้ว กฎต่าง ๆ เหล่านี้ยังมีเป้าหมายที่จะเข้ามาควบคุม “ศีลธรรม” อันดีของสังคมด้วยการสั่งห้ามแพลตฟอร์มเผยแพร่ภาพโป๊เปลือยทุกชนิด ตลอดจนภาพที่ส่อให้ไปในเรื่องเพศและภาพล้อเลียนบุคคลต่าง…

ญี่ปุ่นสั่งตรวจสอบ Line หลังสื่อชี้ยอมให้วิศวกรจีนเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งาน

Loading

  รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า จะดำเนินการสอบสวนแอปพลิเคชันไลน์ (Line) ของซี โฮลดิ้งส์ คอร์ปซึ่งอยู่ในเครือของซอฟต์แบงก์ คอร์ปของญี่ปุ่น หลังจากสื่อญี่ปุ่นรายงานว่า Line ได้ปล่อยให้วิศวกรชาวจีนที่เซี่ยงไฮ้เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานชาวญี่ปุ่นโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ใช้ทราบ สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคและสื่อญี่ปุ่นรายอื่นๆ รายงานก่อนหน้านี้ว่า ภายใต้กฎหมายความเป็นส่วนตัวของญี่ปุ่นนั้น บริษัทต่างๆ ต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเมื่อข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ถูกส่งไปยังต่างประเทศ “ตอนนี้เรายังบอกไม่ได้ว่า Line ละเมิดกฎระเบียบหรือไม่ และเราจะทำการสอบสวนเพื่อหาความจริง” เจ้าหน้าที่รัฐบาลผู้รับผิดชอบกฎหมายความเป็นส่วนตัวกล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ พร้อมเสริมว่า ถ้าหากพบว่า Line กระทำผิดจริง ทางสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นสามารถสั่งให้ทางบริษัทดำเนินการแก้ไขปรับปรุง ด้านโฆษกของ Line ระบุว่า “ไม่มีเหตุการณ์ใดที่เป็นการละเมิดกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ เราจะยังคงปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบในทุกประเทศ รวมถึงในญี่ปุ่นด้วย” แถลงการณ์ทางเว็บไซต์ของ Line ในเวลาต่อมามีใจความว่า ทางบริษัทขออภัยที่ทำให้เกิดความกังวล และไม่ได้อธิบายอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลของบริษัท และระบุเพิ่มเติมว่า ยังไม่มีการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานอย่างไม่เหมาะสมเกิดขึ้นแต่อย่างใด   ———————————————————————————————————————————————————– ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์   / วันที่เผยแพร่  17 มี.ค.2564 Link : https://www.infoquest.co.th/2021/71886

จีนผ่านกฎหมายแก้ระบบเลือกตั้งฮ่องกงคัดกรองผู้แทน’รักชาติ’

Loading

  สภาผู้แทนประชาชนจีนลงมติท่วมท้น 2,895 เสียง ต่อ 0 เสียง รับรองร่างกฎหมายเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งของฮ่องกง ลดสัดส่วนผู้แทนจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยและเสนอกลไกที่จะคัดกรองผู้แทนจากความรักชาติและความภักดีต่อปักกิ่ง        กฎหมายที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนประชาชนจีน (เอ็นพีซี) ในกรุงปักกิ่งเมื่อวันพฤหัสบดี เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของจีนเพื่อรวบรวมอำนาจปกครองเหนือฮ่องกงให้กระชับมั่นยิ่งขึ้น ตามหลังกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่ออกมาบังคับใช้กับฮ่องกงเมื่อเดือนมิถุนายน ที่นักวิจารณ์กล่าวกันว่าเป็นเครื่องมือใช้บดขยี้ผู้เห็นต่างจากรัฐ ตอบโต้การชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งใหญ่ในฮ่องกงเมื่อปี 2562        ร่างกฎหมายนี้ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกสภา 2,895 คน โดยไม่มีผู้คัดค้าน แต่มี 1 คนงดออกเสียง        แคร์รี หล่ำ หัวหน้าคณะผู้บริหารฮ่องกง กล่าวในแถลงการณ์ว่า รัฐบาลฮ่องกงและตัวเธอสนับสนุนอย่างแข็งขันและขอบคุณจากก้นบึ้งของหัวใจ การปรับโครงสร้างครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อทำให้ฮ่องกง “กลับสู่เส้นทางที่ถูกต้อง”        การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เท่ากับกำจัดความเป็นไปได้ที่ฝ่ายค้านจะส่งผลกระทบต่อผลการเลือกตั้งในเขตปกครองพิเศษของจีนแห่งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวกันด้วยว่า การกำหนดคุณสมบัติเรื่อง “ความรักชาติ” ยังเพิ่มความเสี่ยงที่นักการเมืองจะแข่งขันกันว่าใครจงรักภักดีต่อรัฐบาลปักกิ่ง มากกว่าการเสนอความคิดว่าควรบริหารฮ่องกงอย่างไรดี        เอริก จ้าง รัฐมนตรีด้านกิจการแผ่นดินใหญ่และรัฐธรรมนูญของฮ่องกง…

ชาวสวิตเซอร์แลนด์ลงประชามติสวมผ้าคลุมหน้าผิด กม. แต่ไม่พาดพิงมุสลิม

Loading

  ข้อเสนอของพวกขวาจัดที่ต้องการห้ามสวมผ้าปกคลุมใบหน้าในสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับชัยชนะอย่างฉิวเฉียดในศึกประชามติแบบมีพันธะผูกพันเมื่อวันอาทิตย์ (7 มี.ค.) โดยการทำประชามติครั้งนี้เกิดขึ้นตามแรงกระตุ้นของคนกลุ่มเดียวกันที่เคยเสนอโหวตห้ามก่อสร้างหอคอยสุเหร่ามาแล้วในปี 2009 จากผลประชามติอย่างเป็นทางการในเบื้องต้นพบว่า มาตรการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสวิตเซอร์แลนด์ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนอย่างฉิวเฉียด 51.2% ต่อ 48.8% ข้อเสนอภายใต้ระบบประชาธิปไตยโดยตรงของสวิตเซอร์แลนด์ ยังมีเป้าหมายหยุดความรุนแรงบนท้องถนนจากฝีมือพวกผู้ประท้วงสวมหน้ากาก และไม่ได้พาดพิงของอิสลามโดยตรง แต่กระนั้นก็มีพวกนักการเมืองท้องถิ่น สื่อมวลชนและนักเคลื่อนไหวบางส่วน ให้สมญานามมันว่าเป็น “บูร์กาแบน” “ในสวิตเซอร์แลนด์ วัฒนธรรมของเราคือคุณต้องโชว์ใบหน้า มันเป็นสัญญาณของเสรีภาพขั้นพื้นฐาน” วอลเตอร์ ว็อบมันน์ ประธานคณะกรรมการประชามติและสมาชิกรัฐสภาจากพรรคสวิส พีเพิลส์ กล่าวก่อนการโหวต เขาบอกต่อว่า “การปกปิดใบหน้าเป็นสัญลักษณ์อิสลามการเมืองอันสุดโต่ง ที่เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆในยุโรป ซึ่งไม่ควรปรากฏอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์” กลุ่มมุสลิมต่างๆ ประณามประชามติครั้งนี้ และบอกว่าพวกเขาจะเดินหน้าคัดค้านถึงที่สุด “การตัดสินใจในวันนี้เป็นการเปิดแผลเก่า รังแต่ขยายหลักการความไม่เท่าเทียมทางกฎหมาย และส่งสารอย่างโจ่งแจ้งแห่งการกีดกันชนกลุ่มน้อยมุสลิม” สภากลางมุสลิมในสวิตเซอร์แลนด์ระบุ พวกเขาสัญญาว่าจะยื่นคัดค้านทางกฎหมายต่อกฎหมายทั้งหลายที่บังคับใช้มาตรการห้ามสวมผ้าปกคลุมใบหน้า และจะดำเนินการระดมทุนไว้คอยช่วยเหลือบรรดาผู้หญิงที่ถูกปรับเงินจากฐานความผิดดังกล่าว “การบรรจุกฎระเบียบด้านการแต่งกายไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แค่กัดกร่อนสิทธิความเท่าเทียมของผู้หญิง แต่มันยังเป็นการก้าวถอยหลังสู่อดีต” สหพันธ์องค์กรอิสลามในสวิตเซอร์แลนด์กล่าว พร้อมระบุว่าค่านิยมแห่งความเป็นกลาง อดทนอดกลั้นและผู้ประนีประนอมของสวิตเซอร์แลนด์กำลังถูกบั่นทอนจากประเด็นถกเถียงนี้ ฝรั่งเศสห้ามสวมผ้าคลุมทั้งใบหน้ายามอยู่ในที่สาธารณะมาตั้งแต่ปี 2011 ส่วนเดนมาร์ก ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์และบัลแกเรีย ก็ห้ามสวมผ้าคลุมทั้งใบหน้าหรือบางส่วนในที่สาธารณะแล้วเช่นกัน ขณะที่ในสวิตเซอร์แลนด์เอง มีอยู่ 2…

เช็คความพร้อมไอทีก่อน PDPA บังคับใช้

Loading

  เช็คความพร้อมไอทีก่อน PDPA บังคับใช้ : โดยนายวรเทพ ว่องธนาการ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนด้านโซลูชั่น บริษัท ยิบอินซอย จำกัด เชื่อว่าหลายองค์กรในขณะนี้ต่างมีความเข้าใจถึงความสำคัญของการบังคับใช้กฎหมาย PDPA ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ การจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะเป็นการเสริมความมั่นคงปลอดภัยและความมั่นใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้งาน เพื่อเป็นการส่งท้ายก่อนกฎหมาย PDPA จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในกลางปีนี้ จึงอยากเชิญชวนองค์กรมาเช็คความพร้อมของระบบไอทีไม่ให้ตกหล่นเครื่องมือสำคัญที่ต้องมีเพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูง นั่นคือ   เครื่องมือค้นหาและจัดประเภทข้อมูล (Data Discovery and Classification) เพราะแต่ละองค์กรต่างมีการจัดเก็บและเรียกใช้และปรับปรุงข้อมูลมากมาย กระจัดกระจายอยู่ในระบบทั้งในองค์กร นอกองค์กร บนคลาวด์ หรือแม้ในปลายทาง หรือ เอนด์พอยต์ อย่างโทรศัพท์มือถือ หรือ BYOD ต่าง ๆ ดังนั้น การค้นหาและจัดประเภทข้อมูล จึงเป็นก้าวเริ่มต้นที่สำคัญในการวางระบบความปลอดภัยให้ข้อมูล เพราะเราคงไม่สามารถคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลใด ๆ ได้เลยหากไม่รู้ว่าข้อมูลนั้นอยู่ที่ไหน ข้อมูลใดสำคัญหรือไม่สำคัญและควรกำหนดแนวทางคุ้มครองอย่างไร การมีเครื่องมือไอทีที่ดีในการจัดทำคลังข้อมูลส่วนบุคคล นับเป็นการสร้างกระบวนการบริหารเชิงรุกไม่ให้มีการนำข้อมูลไปใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหา ระบุตำแหน่งที่จัดเก็บ และคัดแยกประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลในระบบ การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงผ่านการกำกับดูแลได้จากจุดเดียว สามารถติดตามกิจกรรมที่เกิดขึ้นกับการเรียกหรือใช้งานข้อมูลเหล่านั้นได้ทั้งการตรวจสอบย้อนหลัง หรือป้องปรามโดยการแจ้งเตือนทันทีที่เกิดการละเมิดนโยบายหรือข้อตกลง รวมถึงป้องกันการเข้าถึงข้อมูลด้วยการเข้ารหัส…