มาตรการเพื่อความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ e-Meeting 7 กระบวนการ ภายใต้ พ.ร.ก. การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

Loading

คธอ. เปิดข้อกำหนดใช้ e-Meeting อย่างไรให้มั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ รองรับ Work from Home ในช่วง COVID-19 ระลอกใหม่ ประธาน คธอ. เปิดมาตรการเพื่อความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ e-Meeting 7 กระบวนการ ภายใต้ พ.ร.ก. การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เตือนหน่วยงานรัฐหากมีการประชุมลับต้องมี มาตรการควบคุมสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของผู้เข้าประชุม และต้องใช้ระบบควบคุมการประชุมที่ติดตั้งและให้บริการในประเทศเท่านั้น ชวนตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองทางทุกช่องทางของ ETDA     ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ประธานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลให้หลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ต่างมีมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้าน หรือ Work from home ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) พร้อมปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชุมที่เป็นขั้นตอนทำงานสำคัญ เป็นการประชุมออนไลน์ หรือ e-Meeting ซึ่งได้รับความนิยมและมีจำนวนการใช้งานเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อดูแลให้การประชุมออนไลน์มีความมั่นคงปลอดภัยและลดความเสี่ยงของภัยคุกคามต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ การประชุมออนไลน์จึงควรดำเนินการให้สอดคล้องตามมาตรฐานขั้นต่ำที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบัน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม…

กองทัพเมียนมาแก้ประมวลกฎหมายอาญาความมั่นคง

Loading

การปลุกระดมให้เกิดการล้มล้างรัฐบาลและรัฐธรรมนูญ “ถือเป็นกบฏ” เนื่องจากเป็นลักษณะความผิดที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสังคม ขณะเดียวกัน รัฐบาลทหารเมียนมายังกำหนดลักษณะความผิดอาญาด้านความมั่นคงอีกหลายรูปแบบ     สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ว่าคณะมนตรีการปกครองแห่งรัฐเผยแพร่แถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ เกี่ยวกับการแก้ไขบางมาตราของประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วย “พฤติการณ์เข้าข่ายก่อสงครามต่อสหภาพเมียนมา” ซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงภายในประเทศ ให้ครอบคลุมถึงการปลุกระดม การสนับสนุนหรือสมคบคิดกับกลุ่มบุคคลใด โดยมีเป้าประสงค์เพื่อล้มล้างรัฐบาลและอำนาจตามรัฐธรรมนูญ “ถือเป็นความผิดร้ายแรง ฐานเป็นกบฏต่อแผ่นดิน” Anti-coup protesters rally outside National League for Democracy party (#NLD) offices in #Yangon#Myanmar pic.twitter.com/Eba1b11VJ4 — Ruptly (@Ruptly) February 15, 2021 Protesters in Myanmar continued to demand for the release of ousted civilian leader…

ไบเดนร้องสภาคองเกรสคุมเข้มกม.อาวุธปืน เนื่องในโอกาสครบรอบเหตุกราดยิงที่ฟลอริดา

Loading

นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้เรียกร้องให้สภาคองเกรสคุมเข้มกฎหมายควบคุมอาวุธปืน โดยคำเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปีเหตุคนร้ายใช้ปืนกราดยิงในโรงเรียนมัธยมที่รัฐฟลอริดา     เมื่อ 3 ปีที่แล้ว คนร้ายได้ใช้ปืนกราดยิงในโรงเรียนมัธยม “มาจอริตี้ สโตนแมน ดั๊กลาส” ซึ่งตั้งอยู่ในเขตปาร์คแลนด์ ทางตอนเหนือของเมืองไมอามี รัฐฟลอริดาของสหรัฐ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 17 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า คนร้ายซึ่งเป็นวัยรุ่นอายุประมาณ 18 ปี ได้เข้ามอบตัวกับตำรวจแล้ว ปธน.ไบเดน ได้เรียกร้องให้มีการตรวจสอบประวัติการขายปืนทุกรายการ ห้ามขายอาวุธร้ายแรงและที่ใส่กระสุนความจุสูง และยกเลิกความคุ้มกันทางกฎหมายสำหรับผู้ผลิตปืน ปธน.ไบเดน ระบุในแถลงการณ์ว่า “รัฐบาลชุดนี้จะไม่ปล่อยให้เกิดเหตุกราดยิงอีกครั้งถึงจะหันมาใส่ใจข้อเรียกร้องนี้อย่างจริงจัง เราจะดำเนินการเพื่อยุติความรุนแรงจากอาวุธปืน และทำให้โรงเรียนและชุมชนของเราปลอดภัยกว่าเดิม” ด้านนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ระบุในแถลงการณ์ว่า สภาคองเกรสจะทำงานร่วมกับรัฐบาลของปธน.ไบเดน เพื่อออกกฎหมายตรวจสอบประวัติ 2 ฉบับ ได้แก่ กฎหมาย Bipartisan Background Checks Act และ Enhanced Background Checks…

การปรับปรุงองค์การการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ด้วย Digital Transformation ตอนที่ 1

Loading

  คำว่า “Digital transformation” ตามนิยามภาษาไทยจาก Wikipedia คือ การใช้สิ่งที่ใหม่ ที่เร็ว และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของ Digital Technology เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งเข้าใจได้ว่าเป็นการนำเอาประโยชน์จาก Digital Technology เข้ามาปรับวิถีการทำงาน สมรรถนะของบุคลากร และนำไปแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่   ปัจจุบันการนำ Digital Transformation มาปรับปรุงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่พบในภาคธุรกิจและการตลาด โดยนำมาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วน ซึ่งในแต่ละส่วนมีการใช้ต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐาน รูปแบบและวัฒนธรรมภายในของกลุ่มธุรกิจและการตลาด วิธีดำเนินการ การให้บริการ ตลอดจนประเภทสินค้าในธุรกิจนั้น สำหรับการนำ Digital Transformation มาปรับประสิทธิภาพในส่วนราชการขณะนี้ คาดว่า “โอกาสที่จะเป็น” เป็นไปได้ยาก  เนื่องจากแต่ละหน่วยงานภายในหน่วยงานรัฐต่างมีวัฒนธรรมภายใน มีการกำกับการปฏิบัติงานด้วยระเบียบราชการและระเบียบภายในแต่ละหน่วยงานรัฐที่ต่างกัน อีกทั้งหน่วยงานรัฐบางแห่งยังมีกฎหมายรองรับเป็นการเฉพาะ เหล่านี้นับเป็นวิถีที่ไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ  แต่หากเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการแล้ว ในขั้นต้นก็จำเป็นต้องปรับความเข้าใจระหว่างทุกกลุ่มผู้บริหารภายในให้ตรงกันอย่างชัดเจนโดยปราศจากอคติที่จะก่อความสับสนให้ได้ก่อนที่จะนำเสนอต่อกลุ่มผู้บริหารระดับที่สูงกว่า เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานความเข้าใจในทางเดียวกัน   สำหรับข้อที่ควรพิจารณาให้ชัดเจนก่อนวางเป้าประสงค์ที่จะนำ Digital Transformation มาปรับใช้กับองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนนั้น ประเด็นแรก คือทำความเข้าใจกับ ความเป็นมานับแต่อดีตถึงปัจจุบันขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ประเด็นที่ 2 ความสอดคล้องและรองรับกันระหว่างกฎหมายและระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน…

ฮ่องกงขีดเส้นตายสั่งขรก. เซ็นเอกสารคุณธรรม-จริยธรรม

Loading

  รัฐบาลฮ่องกง “ขีดเส้นตาย 4 สัปดาห์” ให้ข้าราชการทุกคนต้องลงนามในเอกสาร ว่าด้วยความซื่อสัตย์และความภักดี ต่อเบสิกลอว์ คณะผู้บริหาร และรัฐบาลแผ่นดินใหญ่ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 16 ม.ค.ว่าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนฮ่องกงออกแถลงการณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ว่าข้าราชการประมาณ 180,000 คน ในเขตบริหารพิเศษ “มีเวลาทั้งสิ้น 4 สัปดาห์” ในการลงนามรับรองเอกสาร “ยืนยันความซื่อสัตย์สุจริต” และ “ความภักดี” ต่อเบสิกลอว์ ซึ่งเป็นกฎหมายพื้นฐานของฮ่องกง คณะผู้บริหารฮ่องกง และรัฐบาลกลางในกรุงปักกิ่ง ทั้งนี้ เนื้อหาในแถลงการณ์ระบุด้วยว่า “ความลังเลหรือการปฏิเสธ” ที่จะลงนามในเอกสารดังกล่าว อาจสร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้กับผู้บังคับบัญชา เกี่ยวกับความพร้อมและความเต็มใจของข้าราชการผู้นั้นว่า “สมควร” ได้รับความไว้วางใจ” จากผู้บังคับบัญชา” ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหรือไม่   เนื้อหาตอนหนึ่งในเอกสารระบุด้วยว่า “การสนับสนุนหรือมีส่วนร่วม” ต่อการเคลื่อนไหว “เพื่อเอกราชของฮ่องกง” ที่รวมถึงการปฏิเสธยอมรับ “อำนาจอธิปไตยของจีน” ที่อยู่เหนือฮ่องกง และ “การเรียกร้อง” ให้รัฐบาลต่างชาติหรือ “กองกำลังจากภายนอก” เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในฮ่องกง และการดำเนินกิจกรรมที่จะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ…

ดันกฎหมายห้ามแชร์ภาพใส่ร้ายตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่

Loading

ภาพประกอบ – ผู้ประท้วงต่อต้านการล็อคดาวน์ถูกตำรวจควบคุมตัวระหว่างการเดินขบวนในเมืองแฟรงก์เฟิร์ตอัมไมน์ทางตะวันตกของเยอรมนีเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2020 (ภาพโดย Yann Schreiber / AFP) ฝรั่งเศสผลักดันกฎหมายเอาผิดผู้ที่แพร่ภาพหรือคลิปที่ทำให้ตำรวจดูเป็นผู้ร้ายในสายตาประชาชน สำนักข่าว France24 รายงานว่าฝรั่งเศสเสนอร่างกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ โดยจะห้ามมิให้เผยแพร่ภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีเจตนาจะป้ายสีเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มีภาพลักษณ์ที่เลวร้าย เพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่จากการโจมตีที่มุ่งร้ายโดยใช้โซเชียลมีเดีย มาตรา 24 ของร่างกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ของฝรั่งเศสจะกำหนดความผิดทางอาญาใหม่ซึ่งมีโทษจำคุก 1 ปีและปรับ 45,000 ยูโร (ราว 1,6 ล้านบาท) หากผู้กระทำผิดเผยแพร่ภาพที่มีเป้าหมายซึ่ง “ทำร้ายให้ได้รับความกระทบกระเทือนทางร่างกายหรือจิตใจ” แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้อนี้ถูกเสนอครั้งแรกโดยฌอง มิเชล-โฟแวร์เกอ ซึ่งเป็น ส.ส. ของพรรค LREM ของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง หลังจากที่สหภาพตำรวจได้พยายามผลักดันเรื่องนี้มานาน อลิซ ตูโรต์ ส.ส. อีกคนของพรรค LREM กล่าวกับสถานีวิทยุ Inter radio ว่า จุดประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ก็คือเพื่อห้ามไม่ให้มีการเรียกร้องให้แก้แคนกับเจ้าหน้าที่และครอบครัวของพวกเขาด้วยวิธีการที่รุนแรง โดยผ่านทางการแพร่ภาพวิดีโอทางโซเชียลมีเดีย กฎหมายฉบับนี้ยังอนุญาตให้มีการแพร่ภาพบันทึกจากกล้องติดตัวตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ (body camera) เพื่อที่จะใช้เป็นการถ่วงดุลกับภาพที่มีผู็ถ่ายเอาไว้แล้วนำมาเผยแพร่ทางโซเชียลทีเดีย เนื่องจากผู้สนับสนุนกฎหมายบอกว่าภาพคลิของตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกโพสต์บนโซเชียลมีเดียมักถูกตัดต่อจนหลายคัร้งทำให้ผู้คนเข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจผิดไปจากบริบทของสถานการณ์แวดล้อม อย่างไรก็ตาม มีผู้ต่อต้านร่างกฎหมายฉบับนี้…