สหราชอาณาจักรออกพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ

Loading

ภาพจาก freepik   ร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติของสหราชอาณาจักรผ่านมติเห็นชอบจากรัฐสภาและการลงพระปรมาภิไธยรับรองของพระมหากษัตริย์ เมื่อ 11 ก.ค.66 เพื่อรับมือต่อภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะจากรัฐต่างประเทศ   ปัจจุบันสหราชอาณาจักรตกเป็นเป้าหมายในการจารกรรม การแทรกแซงของต่างชาติ การบ่อนทำลาย การบิดเบือนข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ การก่อวินาศกรรม การโจมตีด้วยอาวุธเคมี และก่อเหตุรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น การลอบสังหาร ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรถือว่ารัสเซียเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุด แม้จะมีการแทรกแซงจากจีน หรือการสังหารหรือลักพาตัวชาวอังกฤษจากอิหร่านก็ตาม   พระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ (The National Security Act) มีการปรับปรุงเนื้อหากฎหมายเกี่ยวกับจารกรรมให้ทันต่อสถานการณ์ภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการยับยั้ง ตรวจจับ และขัดขวางภัยคุกคามยุคใหม่ของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยข่าวกรอง   นอกจากนี้ กฎหมายยังระบุถึงการลงทะเบียนผู้มีอิทธิพลจากต่างชาติ (Foreign Influence Registration Scheme – FIRS) ซึ่งมีเป้าหมายต่อประเทศที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยหรือผลประโยชน์ของสหราชอาณาจักร เพื่อสามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษกรณีทำผิดข้อตกลง ทั้งเป็นการเสริมสร้างความหยืดยุ่น และความโปร่งใสในระบอบประชาธิปไตย       —————————————————————————————————————————————- ที่มา :     …

กฎหมายต่อต้านการจารกรรม ฉบับแก้ไขใหม่ของจีนมีผลบังคับใช้วันนี้

Loading

  กฎหมายต่อต้านการจารกรรมฉบับแก้ไขของจีน มีผลบังคับใช้ วันนี้ (1ก.ค.66) โดยรัฐบาลปักกิ่ง จัดทำประชาพิจารณ์เรื่องนี้ เมื่อเดือน ธ.ค. 2565 ก่อนที่สภาประชาชนแห่งชาติ (เอ็นพีซี) มีมติเห็นชอบเนื้อหาทั้งหมด ซึ่งมีการปรับแก้ เมื่อเดือน เม.ย.   สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ การมีความเกี่ยวข้องกับองค์กรจารกรรม และเจ้าหน้าที่ขององค์กรเหล่านั้น รวมถึงการได้รับหรือครอบครองเอกสาร วัตถุ และสิ่งของใดก็ตามซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติ เข้าข่ายความผิดฐานเป็นจารชน แม้การแก้ไขครั้งนี้ จะไม่มีการแก้ไขบทลงโทษเพิ่มก็ตาม เพราะบทลงโทษเดิมมีความรุนแรงพออยู่แล้ว อาจถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต   กฎหมายฉบับนี้แก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับเดิมที่บังคับใช้ในปี 2014 เพื่อปกป้องความลับของทางการ ทำให้เจ้าหน้าที่จีนมีอำนาจมากขึ้นในการปราบปราม การขโมยและการแจกจ่ายเอกสาร ข้อมูล วัตถุและสิ่งของที่เกี่ยวกับความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ ยังครอบคลุมการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อองค์กรของรัฐและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของจีน ในการเพิ่มความมั่นคงด้านไซเบอร์   นอกจากนั้น ภายใต้กฎหมายใหม่นี้ ประชาชนยังมีหน้าที่ รายงานเรื่องกิจกรรมที่เป็นการสอดแนมและอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิ่งของของผู้ต้องสงสัยได้   ขณะที่สหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตก ตลอดจนหน่วยงานระหว่างประเทศอีกหลายแห่ง วิจารณ์ว่า เนื้อหาของกฎหมายต่อให้ผ่านการแก้ไขมาแล้ว “แต่ยังคงคลุมเครือ” และอาจเป็นการเปิดโอกาส…

กฎหมาย Digital Platform คืออะไร มีไว้เพื่ออะไร ก่อนบังคับใช้ 21 สิงหาคม 2566

Loading

ภาพ : กรุะทรวงดีอีเอส กฎหมาย Digital Platform คืออะไร มีไว้เพื่ออะไร โดยกระทรวงดิจิทัลฯ หรือ ดีอีเอส ประกาศ กฎหมาย Digital Platform จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ พร้อมประกาศให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นสื่อกลาง อาทิ โซเชียลมีเดีย อีคอมเมิร์ซ sharing economy บริการสืบค้น (search engine) บริการรวบรวมข่าว โฮสติ้ง คลาวด์ แจ้งการประกอบธุรกิจต่อสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ด้วย   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า เพื่อรองรับ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย Digital Platform ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ ซึ่งมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล…

1 ก.ค.นี้ จีน เริ่มใช้กฎหมายระหว่างประเทศฉบับใหม่ ให้อำนาจประธานาธิบดี ตอบโต้ภัยคุกคาม-หวังคานอิทธิพลสหรัฐฯ

Loading

  ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า นายจ้าว เล่อจี้ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติของจีน เปิดเผยว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติผ่านร่างกฎหมายใหม่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Law on Foreign Relations) มุ่งปกป้องสิทธิ์ของประเทศจีนในการใช้มาตรการตอบโต้ต่อการกระทำต่าง ๆ ที่ถือเป็นภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ นับเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดของจีน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศหลังมีปัญหาตึงเครียดกับสหรัฐฯ และชาติตะวันตกมาหลายปี   กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ โดยสภานิติบัญญัติได้ตรากฎหมายนี้ขึ้นมาหลังประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน พยายามจะตอบโต้ในสิ่งที่ประเทศจีนมองว่า เป็นความพยายามของสหรัฐฯที่จะสกัดการพัฒนาของจีน หลังสหรัฐฯประกาศเมื่อเร็วๆนี้ ห้ามส่งออกสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูงบางประเภท อีกทั้งพยายามจะลดการพึ่งพาซัพพลายเออร์จากจีนในบางหมวดอุตสาหกรรมที่สหรัฐฯหวั่นเกรงกระทบความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ   หนังสือพิมพ์โกลบอลไทม์ของทางการจีน ระบุว่า ทางการจีนได้จัดทำกฎหมายนี้ หลังเผชิญกับปัญหาท้าทายใหม่ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น การที่ชาติตะวันตกเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของจีน พร้อมทั้งดำเนินมาตรการคว่ำบาตรจีนโดยพลการ   ในช่วง 2-3 เดือนก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ ประกาศขึ้นบัญชีดำบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งของจีน พร้อมกล่าวหาว่า พัวพันโครงการสอดแนม กระทบความมั่นคงของสหรัฐฯ และบริษัทจีนมีส่วนให้การสนับสนุนในการทำสงครามกับยูเครน โดยเสนอให้บรรดาชาติพันธมิตรห้ามส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ไปยังประเทศจีน อีกทั้งรณรงค์ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น กลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (กลุ่ม G7) ให้ใช้นโยบายลงโทษหรือบีบบังคับประเทศจีนในทางเศรษฐกิจ…

มอนแทนาลงนามกฎหมายแบน TikTok เป็นรัฐแรกของอเมริกา

Loading

    วานนี้ (17 พฤษภาคม) เกร็ก เจียนฟอร์เต (Greg Gianforte) ผู้ว่าการรัฐมอนแทนา ได้ลงนามในกฎหมายสั่งแบนแอปพลิเคชัน TikTok ในรัฐ เพื่อปกป้องคนในมอนแทนาจากการลักลอบรวบรวมข่าวกรองของรัฐบาลจีน ส่งผลให้มอนแทนาถือเป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกาที่แบน TikTok อย่างเป็นทางการ   สำนักข่าว Reuters รายงานว่า กฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2024 ซึ่งจะส่งผลให้ Google Play Store หรือ App Store ไม่สามารถเปิดให้ผู้คนในรัฐดาวน์โหลด TikTok ได้อีก เพราะจะถือว่าผู้ให้บริการเหล่านี้ทำผิดกฎหมายของรัฐ อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้ไม่ได้กำหนดบทลงโทษใด ๆ ต่อบุคคลที่ใช้งานแอปดังกล่าว   ด้าน TikTok ยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น แต่ก่อนหน้านี้แอปสัญชาติจีนเคยออกแถลงการณ์ว่า กฎหมายใหม่ดังกล่าว ‘เป็นการละเมิดเสรีภาพของชาวมอนแทนา ตามบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 (First Amendment) ด้วยการสั่งแบน TikTok อย่างผิดกฎหมาย’ พร้อมระบุด้วยว่าทางบริษัทจะเดินหน้าปกป้องสิทธิ์ของผู้ใช้งาน…

ChatGPT : กฎหมาย AI และอนาคต (ภาคแรก)

Loading

  นับจากการเปิดตัวของ ChatGPT ในปลายปี 2565 แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์ ผู้เขียนจึงหยิบยกมาอธิบายและวิเคราะห์ในมุมมองของผู้เขียน แต่ด้วยเนื้อหาที่มีค่อนข้างมากจึงขอแบ่งเป็นสองตอน   ChatGPT คืออะไร?   หากเราลองคีย์ถาม ChatGPT ให้อธิบายคุณลักษณะของตัวเอง ก็จะได้คำตอบทำนองว่า ChatGPT คือ Chatbot ที่ใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของบริษัท OpenAI ที่ใช้วิธีการประมวลผลภาษาธรรมชาติในการทำงาน   ดังนั้น ChatGPT คือ การทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาของมนุษย์ จนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อสร้างข้อความอย่างที่มนุษย์ใช้สื่อสารได้   หากได้ลองใช้งาน จะทราบว่า ChatGPT ไม่ใช่แชตบอตธรรมดาที่ตอบคำถามแบบบอตอื่นๆ ที่เราเคยใช้งานมา แต่คำตอบที่ได้มานั้นผ่านการวิเคราะห์ รวบรวม และประมวลผลออกมาเป็นภาษาธรรมชาติคล้ายกับภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน     ChatGPT กับ การแทนที่งานในปัจจุบัน   ความกังวลในการแทนที่งานปัจจุบันของ ChatGPT เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมาโดยตลอด ซึ่งหากวิเคราะห์จากความสามารถของ ChatGPT ก็พบว่าสามารถประยุกต์ใช้ในงานที่ต้องการการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้   ดังนั้น ผู้เขียนขอจัดแบ่งกลุ่มงานที่อาจได้รับผลกระทบจาก ChatGPT…