รู้ทัน Darknet ตลาดค้าข้อมูล ชุมชนอาชญากรไซเบอร์

Loading

    ทำไมข้อมูลถึงเป็นสิ่งมีค่า ? ทำไมยุโรปต้องออกกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำไมองค์กรธุรกิจที่ปล่อยข้อมูลหลุดถึงต้องโดนปรับหลายพันล้าน บทความนี้มีคำตอบครับ   Techhub อยากพาทุกคนเข้าใจเรื่อง Darknet ตลาดค้าข้อมูล ที่สร้างรายได้ให้กับใครก็ได้สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวมาได้ นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมเราถึงมักได้ยินรายงานข่าวเกี่ยวกับการขโมยข้อมูลจากบริษัทใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Twitter , Facebook และอื่น ๆ   ข้อมูลใน Darknet เปรียบเสมือนกับสินค้าถูกกฏหมายอื่น ๆ มีห่วงโซอุปทาน ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง และผู้บริโภค ซึ่งจะเชื่อมโยงกับกันหว่างองค์กรอาชญากรรมหลายแห่ง   จุดเริ่มส่วนใหญ่จะมาจากแฮกเกอร์ที่สามารถหาช่องโหว่ภายในองค์กรธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นั้นเพื่อขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น หมายเลขบัตรเครดิต ข้อมูลบัญชีธนาคาร และหมายเลขประกันสังคม รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ (อันนี้เรียกผู้ผลิต)   เมื่อได้ข้อมูลมา ส่วนใหญ่แล้วแฮกเกอร์จะไม่ได้เป็นคนขายข้อมูลนั้นเอง ข้อมูลจะถูกส่งต่อให้กับผู้ค้าส่งข้อมูล และถูกส่งไปยังผู้จำหน่ายข้อมูลรายย่อย สุดท้าย ข้อมูลจะถูกซื้อโดยมิจฉาชีพที่ต้องการนำข้อมูลนั้นไปเพื่อทำการฉ้อโกงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฟิชชิ่ง หรือการหลอกให้โอนเงิน โดยเฉพาะกับแก๊งคอลเซนเตอร์ที่เราเจอกันอยู่ทุกวันนี้  …

ดราม่าเกิด ตำรวจใช้ DNA ระบุตัวคนร้าย ส่อละเมิดความเป็นส่วนตัว

Loading

ตอนนี้กำลังมีดราม่าพอสมควรที่สำนักงานตำรวจ Edmonton ได้เผยแพร่ภาพของผู้ต้องสงสัยที่พวกเขาสร้างขึ้นโดยใช้วิธี DNA phenotyping (เป็นการตรวจหา โดยใช้เพียงตัวอย่างหลัก ไม่จำเป็นต้องมีตัวอย่างอ้างอิง มักใช้ในการตรวจหาบุคคลนิรนาม) โดยหวังว่าจะใช้มันในการระบุตัวผู้ต้องสงสัยจากคดีล่วงละเมิดทางเพศได้ และยังอ้างอีกว่า วิธีนี้จะถูกใช้เป็นตัวเลือกสุดท้าย หากช่องทางการสืบสวนอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้อีก

เตรียมให้พร้อม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล องค์กรต้องทำอะไรบ้าง

Loading

  หลาย ๆ องค์กรเริ่มมีการเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA กันบ้างแล้ว แต่ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ต้องมีระบบใด หรือต้องจัดทำเอกสารอะไร ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเตรียมตัวในเบื้องต้นเพื่อให้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับของ PDPA   PDPA คืออะไร ก่อนจะเริ่มหัวข้อการเตรียมตัว ทีมงานขอเกริ่นเกี่ยวกับ PDPA สั้น ๆ ให้ผู้อ่านทราบว่า ทำไมต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของกฏหมายนี้ เนื่องจาก PDPA เป็นพระราชบัญญัติที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองด้านสิทธิและความปลอดภัยของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หากมีการเปิดเผย ใช้ ดัดแปลง ถ่ายโอนข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทำผิดจุดประสงค์ในการตกลงร่วมกัน ก็จะสามารถร้องเรียนเพื่อเอาผิดได้ โดยข้อมูลที่ PDPA คุ้มครอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ     ข้อมูลส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป  (Personal Data) ตัวอย่างของข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป สามารถระบุตัวบุคลลนั้น ๆ เช่น – …

แจกเอกสารต้นแบบสำหรับการทำ PDPA

Loading

  เชื่อว่าหลายๆองค์กรน่าจะขยับตัวเตรียมการรับมือกับ PDPA หรือกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาระยะหนึ่งแล้ว แต่หากท่านใดที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมและเอกสารอ้างอิงแบบลายลักษณ์อักษรมาติดตามได้ที่นี่เลยครับ วันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับเว็บไซต์ https://openpdpa.org/ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำ PDPA อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ว่าขั้นตอนควรมีอะไรบ้าง อย่างไรก็ดีสิ่งที่หลายคนอาจจะยังติดขัดและจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายก็คือเอกสารอย่างเป็นทางการ เช่น การขอใช้ข้อมูลส่วนบุคคล การขอใช้สิทธิในการเป็นเจ้าของข้อมูล โดยในหน้า https://openpdpa.org/pdpa-template/ ได้แจกเอกสารต้นแบบที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้ถึง 7 แบบฟอร์ม นอกจากนี้ในเว็บไซต์ยังได้มีบทความให้ความรู้เพิ่มเติมด้วย     ที่มา : techtalkthai    /   วันที่เผยแพร่ 2 ก.พ.65 Link : https://www.techtalkthai.com/pdpa-document-template/