เปิดแผนปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัย “ไซเบอร์” ปี 2565-2570

Loading

ปัจจุบันเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ได้เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจาก “อาชญากรไซเบอร์” ได้มุ่งโจมตีผู้ใช้งานทั้งในส่วนของคนทั่วไป และองค์กรธุรกิจต่างๆ

การมีแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงและลดผลกระทบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งประเทศไทย ก็ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายของ “อาชญากรไซเบอร์” จึงต้องมีแผนเตรียมการรับมือ

“บิ๊กป้อม” สั่งเร่งร่วมมือป้องกันภัยไซเบอร์หลัง 6 เดือน โดนแฮกเว็บไซต์-ข้อมูลรั่วไหล รวม 78 เหตุการณ์

Loading

  “พล.อ.ประวิตร” ย้ำที่ประชุม กมช. เร่งขับเคลื่อนสร้างความตระหนัก ตื่นตัว ผนึกความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ ลดความเสี่ยงและรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีมากขึ้น   วันนี้ (7 เม.ย.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ว่าได้ย้ำกับที่ประชุมฯ ถึงการเตรียมความพร้อม และการปฏิบัติป้องกัน และรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากปัจจุบัน ที่หน่วยงานภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน ต้องตระหนักรู้ ตื่นตัว เตรียมความพร้อมรองรับรัฐบาลและสังคมดิจิทัล รวมถึงการผลักดันความร่วมมือกับ สถาบันการศึกษาด้านหลักสูตรทางไซเบอร์ และการจัดทำบันทึกความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ จะช่วยยกระดับขีดความสามารถและความเข้มแข็งทางด้านไซเบอร์ของประเทศ   “ได้ขอให้สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. เร่งกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ภัยทางไซเบอร์ กับหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานในกำกับ และขับเคลื่อนการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงานและกฎหมายที่กำหนด เพื่อลดความเสี่ยงผลกระทบด้านความมั่นคงและความเสียหายทางเศรษฐกิจ จากการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีมากขึ้น”       นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ที่ประชุมยังรับทราบการปฏิบัติในภารกิจป้องกัน รับมือและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ รอบ…

ไขข้อสงสัย “สำนักงานความปลอดภัยไซเบอร์ไทย” ทำงานอะไร

Loading

  ตั้งแต่มีการประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562 จนมีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ขึ้นมาดำเนินการตามกฎหมายนั้น มิติของการทำงานออกสู่สาธารณชนยังมีเพียงแค่การให้ความรู้และพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์เท่านั้น ขณะที่ภัยไซเบอร์โดยเฉพาะการแฮกข้อมูลมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น สกมช.จะมีบทบาทหน้าที่ในการทำงานด้านนี้อย่างไรบ้าง   น.อ.อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) กล่าวว่า เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการในเดือน มิ.ย.2565 จะยิ่งทำให้องค์กรต่างๆ เป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่ โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล เพราะตามกฎหมายหน่วยงานต้องมีหน้าที่รักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและมีความผิดเมื่อข้อมูลรั่วไหล ทำให้แฮกเกอร์ใช้แรนซัมแวร์ในการแฮกระบบ ฝังมัลแวร์เพื่อพยายามเจาะข้อมูลกันมากขึ้น   ดังนั้น หน่วยงานอย่าง สกมช.ซึ่งก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562 ต้องทำงานเฝ้าระวัง สร้างมาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์ ให้ความรู้หน่วยงาน CII ตลอดจนการทำงานในการสืบหาสาเหตุและติดตามแฮกเกอร์มากขึ้น เพราะการมีกฎหมายไม่ได้หมายความว่าจำนวนแฮกเกอร์จะลดน้อยลง แต่การมีกฎหมายจะช่วยป้องกันและเอาผิดกับผู้กระทำผิดได้   ทั้งนี้ สกมช.ได้กำหนดให้ CII (Critical Information Infrastructure ) หรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงภาครัฐ ด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ…