สรรพสามิต ยืนยันเหตุเพลิงไหม้ไม่กระทบเอกสารสำคัญ

Loading

    กรุงเทพฯ 6 มิ.ย.-สรรพสามิต ยืนยันเหตุเพลิงไหม้ไม่กระทบเอกสารสำคัญ หลังยกระดับสู่องค์กรดิจิทัล   นายเกรียงไกร พัฒนาภรณ์ รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ชั้น 3 อาคารกรมสรรพสามิต เมื่อบ่ายวันที่ 5 มิถุนายน 2566 โดยมีการแชร์ข้อความกันในสื่อโซเชียลมีเดีย ในประเด็นว่ามีผู้ได้ยินเสียงระเบิด และไฟไหม้ในบริเวณห้องเก็บเอกสารลับ ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น   “นับเป็นข้อมูลคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง โดยในข้อเท็จจริงบริเวณที่เกิดเหตุเป็นห้องส่วนวางแผนและพัฒนาคุณภาพการบริหารงาน สำนักแผนภาษี ซึ่งรับผิดชอบงานด้านยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต เหตุการณ์ครั้งนี้ แม้ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินทางราชการและเอกสารบางส่วน แต่ไม่สร้างความเสียหายด้านข้อมูล และไม่กระทบกับการดำเนินงานของกรมสรรพสามิต เนื่องจากได้มีการยกระดับการทำงานด้วยการบันทึกเอกสารทั้งหมดไว้ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลแล้ว” นายเกรียงไกร กล่าว   นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า กรมสรรพสามิตได้ประกาศเดินหน้ายุทธศาสตร์พัฒนาองค์กรให้ทันสมัยและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการยกระดับสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) โดยการบูรณาการระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ มีการเชื่อมโยงในส่วนของกระบวนการทำงาน ข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ระบบงานสารสนเทศ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน เข้ากันอย่างไร้รอยต่อระหว่างโลกดิจิทัลและโลกแห่งความเป็นจริง และสร้างต้นแบบหน่วยงานบริการแบบไร้กระดาษ (Paperless) เพื่อจัดเก็บเอกสารราชการต่าง ๆ…

สรรพสามิตเตือนภัย ‘มิจฉาชีพ’ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หลอกลวงหรือรีดไถเงิน

Loading

    กรมสรรพสามิตเตือนภัยผู้ประกอบการและประชาชนอย่าหลงเชื่อ “มิจฉาชีพ” แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หลอกลวงหรือรีดไถเงินแนะตรวจสอบข้อมูลก่อนทุกครั้ง   16 ก.พ. 2566 – นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า “ขณะนี้ได้มีกลุ่มผู้ไม่หวังดี” หรือ “มิจฉาชีพ” หลอกหลวงประชาชนในหลากหลายรูปแบบเพิ่มเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี จึงได้มอบนโนบายให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต ช่วยกันเฝ้าระวังและให้ข้อมูลกับ พี่น้องประชาชนเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ   หากผู้ประกอบการหรือประชาชนได้รับการแอบอ้างจากผู้ไม่หวังดีหรือมิจฉาชีพว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเข้าจับกุมตรวจค้นในการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงตัวโดยต้องแต่งเครื่องแบบกรมสรรพสามิต พร้อมแสดงบัตรข้าราชการในขณะปฏิบัติหน้าที่ และดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบการตรวจค้นทุกประการ และ เมื่อจับกุมแล้วต้องทำบันทึกจับกุม สำหรับประเด็นการเปรียบเทียบปรับ ตามระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการเปรียบเทียบคดี พ.ศ. 2560 หมวด 2 ข้อ 8 วรรค 2 ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องเปรียบเทียบคดีให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด สามารถไปดำเนินการเปรียบเทียบคดีนอกสถานที่ตั้งปกติของสำนักงานได้โดยใช้สถานที่ของหน่วยงานราชการอื่นแทน   ในกรณีการหลอกลวงทางโทรศัพท์ ให้ Add line หรือผ่านทางช่องทางออนไลน์ใด ๆ ตามที่ แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตนั้น ขอให้ผู้ประกอบการและประชาชนโปรดระมัดระวัง โดยสามารถตรวจสอบกลับมาที่สำนักงานสรรพสามิตภาค หรือพื้นที่ หรือกรมสรรพสามิต เพื่อความปลอดภัย…