โครงการฝึกงานแก่ จนท.ทหารที่ได้รับบาดเจ็บของ FBI

Loading

ภาพจากเว็บไซต์ FBI   เว็บไซต์สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ (FBI) เผยแพร่ข่าวสารเมื่อ 2 ส.ค.66 เกี่ยวกับ The FBI Wounded Warrior Internship Program ซึ่งเป็นโครงการฝึกงานที่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ทหารของสหรัฐฯ ที่ได้รับบาดเจ็บเข้ารับการฝึกงานกับ FBI ที่สำนักงานใหญ่หรือสำนักงานภาคสนามแห่งใดแห่งหนึ่งจาก 56 แห่งทั่วประเทศ   เพื่อเพิ่มเติมประสบการณ์การทำงานในขณะที่พักฟื้นจากบาดแผล ความเจ็บป่วย หรืออาการบาดเจ็บ โครงการฝึกงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Operation Warfighter ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ   นอกจากผู้ฝึกงานจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ และมุมมองใหม่ ๆ แล้ว ยังเป็นการเพิ่มพูนทักษะด้านการข่าวกรองและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น อาจค้นพบความสนใจทางวิชาชีพใหม่ ในขณะที่ยังสังกัดอยู่หน่วยงานเดิม ทั้งนี้ ผู้ฝึกงานจะได้รับการประเมินการฝึกในแต่ละเดือน ซึ่ง FBI อาจเสนองานถาวรให้กับพวกเขาหลังจากฝึกงานสำเร็จ   อย่างไรก็ดี ผู้สนใจที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด อาทิ เป็นทหารประจำการ หรือทหารกองหนุน ของกองทัพบกหรือกองทัพอากาศ เป็นพลเมืองสหรัฐฯ เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในหน่วยนักรบที่ได้รับบาดเจ็บ (Wounded Warrior)…

สหรัฐฯ เล็งดัดแปลงขีปนาวุธให้แรงขึ้น-ไกลขึ้น รับมืออิทธิพลจีนในแปซิฟิก

Loading

เรือรบยูเอสเอส เคอร์ทิซ ในการซ้อมยิงขีปนาวุธรุ่นฮาร์ปูน ถ่ายเมื่อ 26 พฤษภาคม 2019 (ที่มา: แฟ้มภาพ/รอยเตอร์)   รอยเตอร์รายงานว่า สภาคองเกรสเตรียมศึกษาและพัฒนาสารเคมีในเชื้อเพลิงของขีปนาวุธเพื่อเพิ่มระยะทำการในพื้นที่อินโด-แปซิฟิกให้ห่างจากจีนมากขึ้น   แหล่งข่าวระดับผู้ช่วยในสภาคองเกรส 2 รายและแหล่งข่าวที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 2 ราย กล่าวกับรอยเตอร์โดยไม่ออกนามว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือเพนตากอน และสภาคองเกรส มีแผนที่จะดัดแปลงเชื้อเพลิงและน้ำหนักของขีปนาวุธเพื่อเพิ่มระยะการยิงอีกราวร้อยละ 20   เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วุฒิสภาสหรัฐฯ เผยแพร่เนื้อหาของร่างกฎหมายที่จะใช้งบประมาณ 13 ล้านดอลลาร์ (ราว 448.2 ล้านบาท) ในการวางแผนและผลิตสารเคมีดังกล่าว โดยรอยเตอร์รายงานว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุมัติงบประมาณเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์ที่มีมูลค่าถึง 8.8 แสนล้านดอลลาร์ (ราว 30 ล้านล้านบาท)   แม้จะยังมีการหารือทางรายละเอียดงบประมาณอยู่ รอยเตอร์รายงานว่า การป้องปรามจีนเป็นสิ่งที่ทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันเห็นชอบร่วมกันในทางหลักการแล้ว   ไมค์ แกลลาเกอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กล่าวกับรอยเตอร์ว่า สหรัฐฯ จำเป็นที่จะต้องมีขีปนาวุธทำลายเรือที่อยู่ในระยะห่างไกลในจำนวนที่มากขึ้น เนื่องจากความกว้างใหญ่ของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกและขนาดของกองทัพเรือของจีน  …

“บอลลูนสอดแนม” จีนในอเมริกา ทำ รมว. ตปท. สหรัฐฯ เลื่อนเยือนปักกิ่ง

Loading

  แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การที่จีนเลือกส่งสิ่งที่ดูเหมือนบอลลูนเพื่อการสอดแนมเหนือน่านฟ้าอเมริกา เป็นเรื่องที่ “ยอมรับไม่ได้และไร้ความรับผิดชอบ”   นักการทูตชั้นนำของสหรัฐฯ ผู้นี้ยกเลิกการเดินทางไปปักกิ่งอย่างกะทันหัน จากแผนเดิมที่ต้องการให้เป็นการประชุมระดับสูงระหว่างสหรัฐฯ-จีนครั้งแรกในรอบหลายปี   ก่อนหน้านี้ จีนแสดงความเสียใจ โดยกล่าวว่าเป็นเรือเหาะตรวจสภาพอากาศที่ถูกพัดหลงเข้าไปในน่านฟ้าของอเมริกา   เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน   นายบลิงเคนกล่าวในแถลงการณ์เมื่อ 4 ก.พ. ว่าบอลลูนของจีน “ละเมิดอำนาจอธิปไตยของเรา”   “นี่เป็นการกระทำที่ยอมรับไม่ได้และไร้ความรับผิดชอบ” เขากล่าว   “การเข้ามาของบอลลูน 1 วัน ก่อนการออกเดินทางเยือนที่วางแผนไว้นานเป็นเรื่องที่ไร้ความรับผิดชอบยิ่ง”   เดิมนายบลิงเคนมีกำหนดเยือนปักกิ่งระหว่างวันที่ 5-6 ก.พ. เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ มากมาย รวมถึงประเด็นความมั่นคง ไต้หวัน และโควิด-19   แต่เมื่อ 2 ก.พ. เจ้าหน้าที่กลาโหมของสหรัฐฯ ประกาศว่าพวกเขากำลังติดตามบอลลูนตรวจการณ์ในระดับความสูงเหนือน่านฟ้าสหรัฐฯ   วัตถุปริศนาทำหลายเที่ยวบินในรัฐมอนแทนาหยุดบิน | REUTERS   หลังการเปิดเผยของสหรัฐฯ…

กลาโหมสหรัฐฯ แถลงเปิดสัญญาร่วม 4 ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีสร้างระบบคลาวด์ใหม่

Loading

  กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา (DOD) เผยในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือกับ Google, Oracle, Microsoft และ Amazon ในการสร้างโครงข่ายคลาวด์ใหม่ของกระทรวงฯ   ระบบคลาวด์ใหม่นี้มีชื่อว่า Joint Warfighting Cloud Capability (JWCC) อยู่ภายใต้สัญญาจัดซื้อจัดจ้างมูลค่า 9,000 ล้านเหรียญ (ราว 312,000 ล้านบาท) มีกำหนดจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนมิถุนายน 2028 ซึ่งคาดว่าจะช่วยขยายขีดความสามารถด้านคลาวด์ให้แก่ทุกหน่วยงานภายใต้ DOD   พลอากาศตรี โรเบิร์ต สกินเนอร์ (Robert Skinner) ชี้ว่าขีดความสามารถใหม่ ๆ ของเทคโนโลยีคลาวด์ในปัจจุบันจะช่วยให้คนที่ไม่เข้าใจคลาวด์ก็สามารถใช้งานคลาวด์ได้ โดยยังบอกอีกว่าระบบ JWCC จะช่วยให้ทหารที่อยู่ในสมรภูมิสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยอากาศยานไร้คนขับหรือดาวเทียมสื่อสารบนอวกาศได้อย่างง่ายดาย รวมถึงจะทำให้การส่งข้อมูลข่าวกรองทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นด้วย   นี่ยังถือเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่กลาโหมของสหรัฐฯ สามารถเข้าถึงระบบคลาวด์เอกชนในการทำงาน ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ที่ประจำอยู่ทั่วโลกไม่มีระบบคลาวด์ที่มีข้อมูลในทุกระดับชั้นความลับให้ใช้   ทั้งนี้ สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง JWCC จะไม่ได้แบ่งเท่า ๆ กัน ระหว่าง 4 บริษัท โดยเริ่มแรกจะให้เงินบริษัทละ…

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ เตรียมยกเครื่องไซเบอร์ ปล่อยแผน Zero Trust กันถูกแฮ็ก

Loading

  กลาโหมสหรัฐฯ เตรียมยกเครื่องระบบไซเบอร์ ใช้แนวคิด Zero Trust ให้ระบบตรวจสอบทุกอย่าง แม้จะเป็นคนที่ไว้วางใจ   กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (Department of Defense) เตรียมยุทธศาสตร์และแผนงาน (Roadmap) ใหม่ โดยใช้แนวคิด Zero Trust เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูล และการโจมตีทางไซเบอร์ ของเหล่าแฮ็กเกอร์จากทั่วโลก   แนวคิด Zero Trust คือ แนวคิดของระบบที่ไม่เชื่อถือใครเลย เช่น นายพล A เข้าระบบผ่านคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เพื่อทำงาน ในการใช้งานก็ต้องมีการยืนยันว่า เป็น นายพล A จริงไหม ? ทั้ง ๆ ที่เครื่องก็ตั้งอยู่ในห้องนายพล หรือแม้กระทั่งการจะทำอะไรก็ต้องมีการตรวจสอบยืนยันตัวตน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ การใส่รหัส OTP เพิ่มเติมจาก Password ปกติ   แนวคิด Zero Trust เป็นส่วนหนึ่งที่เชื่อว่าหลายฝ่ายจะช่วยลดการโจรกรรมข้อมูลและโจมตีทางไซเบอร์ของเหล่าแฮ็กเกอร์ได้  …

กลาโหมสหรัฐฯ วางแผนอิมพลีเมนต์ Zero Trust ทั้งองค์กรภายในปี 2027

Loading

  กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศแผนอิมพลีเมนต์ระบบความปลอดภัยแบบ Zero Trust ทั้งระบบ โดยวางแผนว่าจะสามารถอิมพลีเมนต์ได้สำเร็จทั้งองค์กรภายในปี 2027   การวางระบบความปลอดภัยแบบ Zero Trust จำกัดการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ในองค์กร โดยตรวจสอบความปลอดภัยทุกอย่าง กระบวนการเข้าถึงแต่ละครั้งต้องตรวจสอบทั้งยืนยันตัวตนผู้ใช้, รูปแบบการเข้าถึงว่าผิดปกติหรือไม่, อุปกรณ์ที่ใช้มีความปลอดภัย โดยการอนุญาตให้เข้าถึงทรัพยากรต่างๆ เป็นรูปแบบที่จำกัดการอนุญาตเท่าที่จำเป็นเท่านั้น   แผนการนี้ยอมรับว่ามีระบบเก่า (legacy) จำนวนมาก ที่ไม่สามารถปรับให้เข้ากับรูปแบบ zero trust ได้เต็มรูปแบบ แต่ก็ต้องออกแบบการควบคุมป้องกับภัยไซเบอร์ให้เพียงพอ หรือไม่ก็ปรับปรุงระบบเหล่านี้ให้เข้ากับแนวทางสมัยใหม่     ที่มา – U.S. Department of Defence   —————————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :                         …