โจรไซเบอร์แสบ! ปั่นข่าวปลอม “ออมสิน” ปล่อยสินเชื่อปลอดดอกเบี้ย คนแห่สนใจอันดับ 1

Loading

    ดีอีเอส ออกโรงเตือนประชาชนระวังโจรไซเบอร์ หลังประชาชนแห่สนใจเรื่องการกู้เงินออนไลน์ให้วงเงินสูง ปลอดดอกเบี้ย หลังมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อเงินกู้ฉุกเฉิน ขณะที่ข่าวปลอม ครม. อนุมัติถอนเงินชราภาพได้ก่อน 30% กดรับสิทธิผ่านลิงก์ ขึ้นแท่นข่าวปลอมที่คนสนใจสูงสุด   ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และโฆษกกระทรวงดีอีเอส เปิดเผยว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่  12-18 พฤษภาคม 66 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,189,887 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 274 ข้อความ โดยช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 240 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 34 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 189 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 85 เรื่อง…

‘ข่าวปลอม’ Fake news พุ่งไม่หยุด!! ประเด็น ‘สุขภาพ-โควิด’ บิดเบือนสูงสุด

Loading

    “ดีอีเอส”จับตา“ข่าวปลอม”สุขภาพพุ่งไม่หยุด ทั้งเส้นเลือดสมองแตก-โควิด ทำคนตื่นตระหนก เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์ พบข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด   เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์นี้ พบ ข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด โดยเฉพาะข่าวปลอม ไม่ควรสระผมก่อนอาบน้ำ เพราะทำให้เส้นเลือดสมองแตก รองลงมาข่าว โควิดสายพันธุ์ XBB และ XBB.1.16 ตรวจพบยาก เป็นพิษมากกว่าเดลต้า 5 เท่า มีอัตราการตายที่สูงกว่า และดื้อต่อภูมิคุ้มกัน ข้อมูลเท็จ ไม่เป็นความจริง อย่าแชร์!   ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 14- 20 เมษายน 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,243,222 ข้อความ…

ดีอีเอส รู้ตัว 9near แล้ว! รับหลายหน่วยงานรัฐยังมีช่องโหว่จริง

Loading

    ชัยวุฒิ เผยรู้ตัวผู้ใช้งานบัญชี 9near แล้ว พบเป็นคนในประเทศและทำเป็นขบวนการหวังดิสเครดิตรัฐ ยอมรับระบบเทคโนโลยีของภาครัฐยังมีช่องโหว่ อาจส่งผลให้ข้อมูลประชาชนรั่วไหลได้   ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เผยความคืบหน้ากรณี ผู้ใช้ชื่อบัญชี “9near” อ้างว่ามีข้อมูลส่วนตัวของคนไทยกว่า 55 ล้านรายชื่อ   ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ข้อมูลมาพอสมควรและได้ล็อกเป้าคนร้ายแล้ว แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าข้อมูลหลุดออกมาจากหน่วยงานไหน ต้องรอจับคนร้ายให้ได้ก่อนแล้วจึงขยายผล เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นการดิสเครดิต ต้องการให้รู้ว่าระบบมีปัญหา ไม่ได้เป็นการเรียกค่าไถ่ หรือหาเงินจากเรื่องนี้   คิดว่าการโจมตีครั้งนี้ มีการทำเป็นขบวนการไม่สามารถทำคนเดียวได้ ยืนยันหากจับคนร้ายได้แล้วข้อมูลไม่รั่วไหลแน่นอน   โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องเร่งหาข้อเท็จจริง รวมทั้งดูแลผู้เสียหายจากเคส 9near ด้วย   อย่างไรก็ตาม นายชัยวุฒิ มองว่า มีหลายหน่วยงานที่มีโอกาสทำข้อมูลรั่วไหล โดยเฉพาะระบบที่ประชาชนต้องลงทะเบียน รวมถึงการแจ้งผลการลงทะเบียนของประชาชน ที่จำเป็นต้องมีการระบุ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์บนแพลตฟอร์มที่เป็นสาธารณะ   ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA) ระบุให้หน่วยงานที่รู้ตัวว่าทำข้อมูลหลุดต้องแจ้งต่อ…

แนะ 3 ข้อ ระวังก่อนสแกนป้องกันภัย QR Code หลอกลวง

Loading

    “ดีอีเอส” เตือน ระวังแก๊งคอลเซ็นเตอร์มามุกใหม่ ใช้ QR Code หลอกดูดเงินให้ สแกนเพื่อรับเป็นเพื่อน แท้จริงคือ Scams วอนประชาชนตระหนัก รู้เท่าทันกลโกง และระวังก่อนสแกน   น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า จากกรณีมีข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนในเรื่องการฉ้อโกงออนไลน์รูปแบบใหม่ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยการใช้ QR Code หลอกดูดเงิน โดยส่ง QR Code มาให้ร้านอาหาร แอดไลน์ แต่เมื่อแสกน QR Code พบว่า หน้าจอเหมือนถูกไวรัส เจ้าของโทรศัพท์จึงรีบเข้าแอปธนาคาร เพื่อโอนเงินออกไปบัญชีอื่นก่อน และโทรศัพท์ก็เริ่มค้าง ระบบรวนจึงรีบปิดเครื่อง   จากกรณีที่เกิดขึ้นกระทรวงดีอีเอส มีความห่วงใยความปลอดภัยของประชาชน จึงขอแจ้งเตือนว่า ในการใช้จ่ายสินค้าหรือบริการต่างๆ ร้านอาหารหลายแห่งเริ่มใช้ QR CODE ในการชำระเงินแบบไร้เงินสด ก็ต้องระวังและมีสติในการใช้งานด้วยเช่นกัน เพราะคนร้ายหรือมิจฉาชีพอาจจงใจใช้ QR CODE พิมพ์…

เอกชน-รัฐ เช็คด่วน! ระบบประชุมออนไลน์ e-Meeting ที่ใช้อยู่ ผ่านมาตรฐาน ปลอดภัยไหม และมาดูการรับรองระบบในปัจจุบันโดย ETDA

Loading

    “การประชุมออนไลน์” หรือ e-Meeting กลายเป็นสิ่งที่หลายคน หลายองค์กรต่างใช้งานและคุ้นชินไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการประชุมออนไลน์ภายในองค์กรหรือนอกองค์กร ที่ต้องมีการติดต่อกับลูกค้าหรือหุ้นส่วนใดๆ ก็ตาม และดูเหมือนว่าการประชุมออนไลน์จะยังคงเป็นส่วนสำคัญของทุกการทำงานและธุรกิจต่อไป เพราะหลายธุรกิจต่างปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Hybrid ที่การทำงานไม่จำกัดอยู่แค่ภายในออฟฟิศเท่านั้น เห็นได้จากข้อมูลของ World Economic Forum ระบุว่า พนักงานทั่วโลกเลือกทำงานนอกสถานที่ทำงาน เพิ่มขึ้นสองเท่า จากเดิมปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 16.4 เพิ่มเป็นร้อยละ 34.4 ในปี 2564 โดยใช้แพลตฟอร์มในการประชุมออนไลน์ที่หลากหลาย อาทิ Microsoft Teams, Google Meet, ZOOM และ Cisco WebEx เป็นต้น   แม้ทุกวันนี้การประชุมออนไลน์ จะเป็นหนึ่งตัวเลือกที่ได้รับความนิยม ที่จะช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น แต่เมื่อหลายองค์กรมีการจัดประชุมและกิจกรรมออนไลน์มากขึ้น รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญระหว่างกันทางออนไลน์ “เราจะมั่นใจได้อย่างไร? ว่าระบบการประชุมออนไลน์ ที่เราเลือกใช้งานมีความปลอดภัยและเป็นระบบที่สอดคล้องเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด”   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า)…

“ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม?” แนะ 10 จุดสังเกต ไม่ตกเป็นเหยื่อ “ข่าวปลอม”

Loading

    ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา “เฟคนิวส์” หรือ “ข่าวปลอม” ได้โผล่ว่อนโซเซียล โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาด ข่าวปลอมเกี่ยวกับสุขภาพ และเรื่องโควิด   ทำให้ภาครัฐต้องถึงกับมีนโยบายให้แต่ละหน่วยงานภาครัฐตั้งทีมขึ้นมารับผิดชอบเพื่อตรวจสอบข่าวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กรม หรือกระทรวง และให้รีบแจ้งประชาสัมพันธ์ถึงข้อเท็จจริงต่อสังคม เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและเข้าใจผิด!?!   อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาล จะมีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนอยู่ตลอดเวลา แต่มิจฉาชีพได้ปรับเปลี่ยน รูปแบบกลโกง ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้ยังมีประชาชนตกเป็นเหยื่อสูญเสียเงินให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งจากรายงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พบว่า 70% ของข่าวสารที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย คือ ข่าวปลอม!!   ทั้งนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ตนเองได้รู้ทันข่าวปลอมผ่านสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะบนเฟซบุ๊ก ทางกระทรวงดีอีเอส จึงแนะนำให้สังเกตจุดสำคัญ 10 ข้อ ที่มีลักษณะเป็น “ข่าวปลอม”  ดังนี้   1. สงสัยข้อความพาดหัว : ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่ดึงดูดความสนใจโดยใช้ตัวหนังสือเด่น ๆ และเครื่องหมายอัศเจรีย์…