ส่อง“สมาร์ทซิตี้”ในไทย…ลงทุนยกระดับชีวิตคนท้องถิ่น

Loading

    การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทย   การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะ ที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน!?!   ซึ่งทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2564-2565 ประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยแล้ว 30 เมือง!?!   ทิศทาง การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ของไทยต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร? หาคำตอบได้ด้านล่างนี้?!?   ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)” บอกว่า รัฐบาลมีนโยบายนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเมืองในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ให้ยกระดับสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้เมืองเจริญทันสมัย และน่าอยู่ ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต ของประชาชนอย่างทั่วถึง   “ภายในสิ้นปี 66 นี้มีเป้าหมายจะส่งเสริมเเมืองอัจฉริยะ เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 15 เมืองรวมเป็น 45 เมือง และประเมินว่าการพัฒนา เมืองอัจฉริยะจะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนรวม มูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท และจะมีการสร้างมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต”     อย่างไรก็ตาม…

ชัยวุฒิ เข้ม สั่งเร่งปราบลักลอบใช้เน็ตข้ามประเทศผิดกฎหมาย และแก้ปัญหาซิมผี

Loading

  นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สั่งการให้ติดตามความคืบหน้าปราบอาชญากรรมออนไลน์ เดินหน้าปราบลักลอบใช้เน็ตข้ามประเทศผิดกฎหมาย แก้ปัญหาซิมผี รวมทั้งปราบบัญชีม้า   โดยในวันนี้ 16 ม.ค. 66 ได้มอบหมายให้นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประชุมร่วมกับนายเทพสุ บวรโชติดารา รองเลขาธิการสำนักงาน ปปง. พล.ต.ต. นิเวศน์ อาภาวศิน กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และนายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการสำนักงาน กสทช. เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ โดยมีความคืบหน้าการดำเนินงาน ดังนี้   1) การแก้ปัญหาซิมผี : โดย กสทช. ได้สั่งการผู้ให้บริการโทรคมนาคมแจ้งเจ้าของซิมโทรศัพท์มายืนยันตัวตนให้ถูกต้อง โดยมีแผนงาน ดังนี้ – กรณีผู้มี 100 ซิมขึ้นไป ประมาณ 8,000 ราย ยืนยันตัวตนภายใน ม.ค. 66 – กรณีผู้มี 30 ซิมขึ้นไป…

Do or Die ฉบับ “วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ” ปลัดดีอีเอสคนที่ 4

Loading

  ดีอีเอสมองการขับเคลื่อนเป็น 3 แนวทางคือ ดิจิทัลเซอร์วิส ปลอดภัยและเชื่อถือได้ ลดช่องว่างการเข้าถึงดิจิทัล และดิจิทัลต้องเป็นเรื่องที่ไร้พรมแดนอย่างแท้จริง คนในเมืองและชนบทต้องไม่มีข้อแม้ในการถึงบริการ   วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เปิดเผยทิศทางนโยบายกระทรวงดีอีเอสปี 2566 ว่า ในฐานะปลัดดีอีเอสคนที่ 4 ตนอยากเห็นกระทรวงดีอีเอสวางเป้าหมายการทำงานในเชิงรุก เพื่อทรานฟอร์เมชั่นรัฐบาลไปสู่ดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันมีกระทรวง 3 แห่งที่เป็นระบบลดการใช้กระดาษ (เปเปอร์เลส) ได้แก่ กระทรวงดีอีเอส กระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงยุติธรรม แต่ภายใน 6 เดือนจากนี้จะพยายามผลัดกันให้อีก 17 กระทรวงที่เหลือไปสู่เปเปอร์เลสให้ได้เกินครึ่ง   สำหรับแนวทางการทำงานของตนนั้น มองว่าการขับเคลื่อนโลกดิจิทัลจะมุ่งในบริการดิจิทัล (ดิจิทัล เซอร์วิส) ต้องปลอดภัยและเชื่อถือได้ (Safe & Secure) เพราะความปลอดภัยคือปัจจัยสำคัญในโลกดิจิทัล การแก้ไขปัญหา สแกมมิ่ง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างแรกและต้องทำให้สำเร็จ ต้องทำให้ปัญหาการหลอกลวงในโลกออนไลน์นี้ลดน้อยลง   นอกจากนี้ ให้แนวทางไปว่าการสร้างความปลอดภัยเรื่องนี้ การหลอกลวงเกิดขึ้นในไทยและอาจจะไม่ได้เกิดในไทย การป้องกันหลายด้านเพื่อตรวจสอบ…

“ดีอีเอส” แจงแนวทางระงับการเผยแพร่ข้อมูลผิดกฎหมาย

Loading

    ดีอีเอส ร่วมกับ กสทช. และ 35 หน่วยงาน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หาแนวทางแจ้งเตือน ระงับการเผยแพร่ข้อมูลผิดกฎหมาย หลังประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้ใน 60 วัน   วันที่ 3 พ.ย. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม​ (ดีอีเอส) ได้เชิญผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 35 ราย รับทราบ และชี้แจงประกาศกระทรวงดิจิทัลฯ เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2565 เพื่อระงับเนื้อหาข้อมูลเท็จ ความมั่นคง ลามกอนาจาร หลังรับแจ้งการกระทำผิด   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดีอีเอส กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 65 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์…

“สกมช.- หัวเว่ย” ลงนาม MOU หวังแก้ปมข้อมูลรั่วไหลและการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  รมว.ดีอีเอส ร่วมเป็นสักขีพยาน “สกมช.- หัวเว่ย” ลงนาม MOU ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ของประเทศ หวังผลักดันไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างปลอดภัย ลดเรื่องข้อมูลรั่วไหล   วันที่ 2 ส.ค. 65 ที่โรงแรมสยามเคมปินสกี้ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ร่วมเป็นสักขีพยาน   นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ประเด็นเรื่องข้อมูลรั่วไหลและการโจมตีทางไซเบอร์มีจำนวนครั้งที่เกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ และมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านองค์ความรู้และทักษะทางดิจิทัลเริ่มส่งผลกระทบกับองค์กรต่างๆ อย่างรุนแรงยิ่งกว่าเดิม นั่นเป็นสาเหตุที่กระทรวงดิจิทัลฯ ได้ร่วมจับมือกับผู้นำด้านนวัตกรรมด้านดิจิทัลอย่างหัวเว่ยในการรับมือกับปัญหานี้ เพื่อช่วยผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลแห่งอนาคตที่มีความปลอดภัย   ด้านพล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ลธ.กมช.) ได้กล่าวถึงการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความร่วมมือในหมู่องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณะ และหน่วยงานรัฐต่างๆ เพื่อให้สามารถสร้างไซเบอร์สเปซที่มีความน่าเชื่อถือในระดับโลกให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้ ทาง สกมช. เชื่อว่าการลงนามในครั้งนี้…

คู่มือ PDPA สำหรับประชาชนดาวน์โหลดฟรี ประชาชนต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง

Loading

  คู่มือ PDPA สำหรับประชาชนดาวน์โหลดฟรี ประชาชนต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง โดยนอกจากนี้มีอบรม “PDPA ข้อกฎหมายและแนวปฏิบัติ สำหรับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” ที่จัดถ่ายทอดเมื่อช่วงเช้าวันนี้ ( 24 มิถุนายน 2565 ) โดย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ชูกฎหมายคุ้มครองข้อมูลฯ เครื่องมือสำคัญการแข่งขันของประเทศในเศรษฐกิจยุคใหม่ เผย PDPA มุ่งคุ้มครองสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ไม่ใช่ขัดขวางหรืออุปสรรคต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือองค์กร     คู่มือ PDPA สำหรับประชาชนดาวน์โหลดฟรี ประชาชนต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. PDPA อย่างไร   ภาพ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ” ความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศในเศรษฐกิจยุคใหม่ หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือ ความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูลในประเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูลระหว่างประเทศ ดังนั้น การสร้างสภาพแวดล้อมที่เสริมสร้างให้เกิดความไว้วางใจในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และยกระดับมาตรฐานการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้ทัดเทียมระดับสากล จำเป็นต้องมีการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล…