จับตาแก๊งแฮ็กเกอร์จีน ก่อหวอด ‘Cyber Warfare’

Loading

    สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และนิวซีแลนด์ เผย ถูกแฮ็กเกอร์จีนเจาะระบบ โดยมีนักการเมืองและผู้ลงคะแนนเสียงเป็นเหยื่อ   การโจมตีทางไซเบอร์ที่มีรัฐอยู่เบื้องหลัง (state-sponsor) มีการพูดถึงกันมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันเชิงกลยุทธ์และเศรษฐกิจทั่วโลก   โดยรัฐทำหน้าที่เป็นท่อน้ำเลี้ยงหลักให้กับเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์และเมื่อเร็ว ๆ นี้ทางการสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และนิวซีแลนด์ได้กล่าวหา แก๊งแฮ็กเกอร์ชาวจีน ซึ่งได้รับการสนับสนุนและเชื่อมโยงกับรัฐบาลจีนว่าได้โจมตีทางไซเบอร์ซึ่งถือเป็นการคุกคามที่ร้ายแรงอย่างมาก   รัฐมนตรีสำนักงานความมั่นคงด้านการสื่อสารของนิวซีแลนด์ได้เปิดเผยว่า มีการตรวจพบกิจกรรมทางไซเบอร์ที่เป็นอันตรายซึ่งมุ่งเป้าไปที่สำนักงานที่ปรึกษารัฐสภาและฝ่ายบริการรัฐสภาในปี 64   ส่วนในสหรัฐมีอัตราการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนเพิ่มสูงขึ้น เพื่อพยายามทำลายความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศและนวัตกรรมต่าง ๆ ของสหรัฐ   อย่างกรณีที่แฮ็กเกอร์ส่งอีเมลปลอมมากกว่า 10,000 ฉบับ ไปยังเหยื่อที่เกี่ยวข้องทางการเมือง รวมถึงเจ้าหน้าที่รณรงค์เลือกตั้งอาวุโส เจ้าหน้าที่ความมั่นคงแห่งชาติอาวุโสของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เกษียณอายุแล้ว   โดยทำให้ดูเหมือนว่ามาจากสำนักข่าวหรือนักข่าวชื่อดัง ภายในอีเมลจะมีลิงก์ซ่อนอยู่เพื่อเก็บและส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับ ตำแหน่งและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอีเมลไปยังเซิร์ฟเวอร์ของแฮ็กเกอร์เพื่อเจาะเครือข่าย บัญชีอีเมล บัญชีที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ และบันทึกการโทร นอกจากนี้บริษัทของสหรัฐฯ   ในอุตสาหกรรมการป้องกัน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม การผลิตและการค้า การเงิน การให้คำปรึกษา กฎหมายและการวิจัย ก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มนี้…

อ้างจีนใช้ AI สอดแนม หน่วยข่าวกรองกลุ่มพันธมิตร Five Eyes เตือน เรื่องการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญาจากจีน ชี้เป็นภัยคุกคามแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

Loading

หัวหน้าหน่วยข่าวกรองของประเทศ Five Eyes ออกแถลงการณ์ร่วมกันเมื่อ 17 ต.ค. โดยกล่าวหาว่าจีนขโมยทรัพย์สินทางปัญญาและใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการแฮ็กและสอดแนมประเทศต่าง ๆ นี่เป็นครั้งแรกที่กลุ่มพันธมิตร Five Eyes ออกแถลงการณ์ร่วมกันเพื่อเรียกร้องให้จีนดำเนินการในเรื่องนี้