ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps สำหรับกลุ่มธุรกิจและร้านค้า พร้อมวิธีป้องกัน

Loading

    ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps เชื่อว่าหลายท่านใช้ Google Maps ในช่วงระหว่างเดินทาง หาร้านค้าเด็ด สถานที่โดนๆ เนื่องด้วยความนิยมของข้อมูล Google Maps ที่ใช้งานฟรี ให้ข้อมูลฟรีแบบนี้ กลายเป็นเป้าหมายหลักของมิจฉาชีพ กับการโกงด้านข้อมูลบน Google Maps ที่เรียกว่า Google Maps Scam มาดูกันว่าสิ่งที่ต้องระวังและลักษณะการโกงบน Google Maps มีอะไรบ้าง ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps สำหรับกลุ่มธุรกิจและร้านค้า   นี่คือตัวอย่างกลโกง 5 ข้อ ที่พบบน Google Maps ดังนี้   จ่ายเงินเพื่อเสนอรายชื่อใน Google Maps ให้โดดเด่นขึ้น   รายชื่อบน Google Maps ค่อนข้างมีประโยชน์สำหรับทุกธุรกิจ ช่วยให้ลูกค้าค้นพบธุรกิจและรู้ว่าจะเข้าถึงพวกเขาเมื่อใดและอย่างไร มิจฉาชีพจึงหาทางเข้าหาเหยื่อโดยอุบายให้เสนอรายชื่อบน Google Maps และบางครั้งก็เสนอตำแหน่งที่โดดเด่น…

ธปท. แนะวิธีสแกน QR code – โอนเงินอย่างไร? ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

Loading

    ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะวิธี สแกน QR code – โอนเงินผ่านแอป Mobile Banking อย่างไร? ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ซึ่งหากเราเผลอกรอกข้อมูลสำคัญหรือกด download จะโดนดูดเงินในบัญชีออกไป   ในปัจจุบัน “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” หรือมิจฉาชีพได้พัฒนารูปแบบการหลอกลวง ให้ผู้เสียหายสแกน QR code – โอนเงินผ่านแอป Mobile Banking เพื่อเข้าถึงข้อมูลและควบคุมโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ซึ่งหากคนร้ายสามารถรู้รหัสผ่านในการใช้งานแอปพลิเคชันธนาคาร คนร้ายก็จะสามารถทำการถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของเหยื่อจนหมด   ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้โพสต์แนะนำวิธีสแกน QR code อย่างไรให้ปลอดภัยจาก #มิจฉาชีพ โดยระบุว่า   การสแกนจ่ายหรือโอนเงินผ่านแอป Mobile Banking ต้องตรวจสอบชื่อผู้รับโอนและยอดเงินทุกครั้ง ถ้าจะจ่ายหรือโอนเงินให้หน่วยงาน เช่น มูลนิธิ ราชการ ชื่อผู้รับควรเป็นชื่อหน่วยงานนั้นโดยตรง หากสแกนแล้วเป็นชื่อบุคคล ควรตรวจสอบหรือโทรถามให้แน่ใจก่อนกดโอน     หากสแกนเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่น…

กรมพัฒนาธุรกิจ แจงกลโกง มิจฉาชีพอ้าง ชื่อปลอมโลโก้

Loading

  นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนว่า มีผู้ไม่หวังดีโทรศัพท์หรือส่งข้อความไปยังผู้ประกอบธุรกิจ และประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่สร้างปลอมขึ้นมาอย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) และแอปพลิเคชันไลน์ (Line) โดยแอบอ้างใช้ชื่อรหัสประจำตัว (Username) เป็นชื่อกรม และใช้โลโก้ของกรมเป็นรูปโปรไฟล์ พร้อมขอตรวจสอบธุรกิจเรื่องต่าง ๆ   “ขอยืนยันว่า กรมไม่มีนโยบายติดต่อหรือทักหาประชาชนก่อน โดยที่ประชาชนไม่ได้สอบถามข้อมูลมา รวมถึงไม่ได้ให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจเป็นตัวเงิน ขอฝากเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง หากไม่ได้ดำเนินการติดต่อใด ๆ กับกรม แต่ได้รับข้อมูลหรือการติดต่อจากบุคคลในลักษณะดังกล่าว ต้องพิจารณาให้ดีก่อน อย่าหลงเชื่อ หรือกดไฟล์เอกสารที่แนบมาโดยไม่สังเกตความผิดปกติ และปฏิเสธการให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลอื่น”   นายทศพล กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพเปลี่ยนกลวิธีการหลอกลวงให้แนบเนียนยิ่งขึ้น โดยได้แอบอ้างเอาหน่วยงานราชการมาใช้สร้างความเสียหาย การกระทำลักษณะดังกล่าวเรียกว่า ฟิชชิง (Phishing) เป็นการหลอกลวงผ่านช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงแต่ละบุคคล   จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังการเปิดรับช้อมูลจากแหล่งที่ไม่มั่นใจ โดยสังเกตได้จากถ้าได้รับอีเมลควรเป็นชื่อที่รู้จักหรือติดต่อไว้เท่านั้น หากระบุให้คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์ ก็ต้องแน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติ เมื่อนำเมาส์ไปชี้ที่ลิงก์ URL จะต้องมี URL ที่ตรงกันกับหน่วยงานที่ติดต่อเท่านั้น อีกทั้ง การเข้าใช้งานในเว็บไซต์ควรพิมพ์…