บล็อก SMS หลอกลวง แบนคอลเซ็นเตอร์ อีกบทบาทภารกิจร่วมสำนักงาน กสทช.

Loading

  SMS หลอกให้กู้เงิน หลอกให้โอนเงินในบัญชี หลอกว่าได้รับรางวัลและกรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือแม้แต่ปัญหาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการโทรมาหลอกลวงว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เช่น ตำรวจ ศาล และข่มขู่ว่ากระทำความผิด หลอกให้ลงทุนหรือโอนเงิน หรือปลอมเป็นหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทส่งของ เพื่อหลอกว่ามีพัสดุมาส่งต้องชำระเงิน หลอกว่าเป็นธนาคาร เพื่อหลอกว่ามียอดค้างชำระบัตรเครดิตต้องโอนมาชำระด่วน   นี่คือส่วนหนึ่งของมิจฉาชีพที่อาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสะดวกสบายในการสื่อสารหรือเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามจับกุมอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ที่ดำเนินการด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมของผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ให้บริการก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน     คุณจิตสถา ศรีประเสริฐสุข ผู้ช่วยเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ปัญหาเรื่อง SMS หลอกลวง หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นรูปแบบปัญหาที่หลายหน่วยงานจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภายใต้บทบาทและกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน ไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะแก้ไขปัญหาได้เองเพียงลำพัง ซึ่งบทบาทหลักของสำนักงาน กสทช. คือการสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และผู้ให้บริการ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของมิจฉาชีพเพื่อการจับกุม การปิดกั้นการใช้บริการโทรคมนาคมของมิจฉาชีพ เช่น…

“กสทช.”เตือนอย่าหลงเชื่อกรอกข้อมูลแอบอ้างช่วยขยายเวลาทดลองออกอากาศวิทยุ

Loading

    สำนักงาน กสทช. เผยไม่เคยให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลงทะเบียนขยายเวลาทดลองออกอากาศวิทยุชุมชน และไม่เคยขอให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ลงทะเบียน ตามที่มีการแชร์ข้อมูลในกลุ่มไลน์ต่าง ๆ   พลอากาศโท ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ  กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับการลงทะเบียน ขอขยายเวลาการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ในระบบเอฟเอ็ม โดยมีการอ้างอิงประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ ว่าด้วยการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ในระบบเอฟเอ็ม และกำหนดให้มีการกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ลงทะเบียน รวมทั้งมีการนำเสนอข้อมูลที่มีการพาดพิงถึงสำนักงาน กสทช. ในกลุ่มไลน์  นั้น  ขอชี้แจ้งว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กสทช. และสำนักงาน กสทช. แต่อย่างใด   ทั้งนี้การทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็มนั้น กสทช. ยังคงมีนโยบายที่จะเร่งรัดปรับปรุงหลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อรองรับให้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงแก่ผู้ที่ประสงค์ จะดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงต่อไป ให้มีความต่อเนื่องกับการยุติการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็ม ในวันที่ 31 ธ.ค. 67   “กสทช. ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็ม เพื่อให้ผู้ทดลอง…

“ชัยวุฒิ” หารือ กสทช.ศึกษาแนวทางแก้ ก.ม.กำกับดูแลบริการโอทีที

Loading

  รมว.ดีอีเอส พบ กรรมการ กสทช.หยิบยก เรื่องกำกับดูแล “โอทีที” หารือ ชี้ เทคโนโลยีเปลี่ยน ก.ม.เดิม อาจไม่มีประสิทธิภาพดูแลได้ 100% ศึกษาแนวทางแก้ ก.ม. และประสานการทำงานร่วมกันให้มากยิ่งขึ้น   วันนี้ (3 ม.ค.) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เปิดเผยว่า วันนี้ได้หารือกับทาง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถึงการกำกับดูแลบริการการให้บริการเนื้อหา ภาพยนต์ รายการโทรทัศน์ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ โอทีที ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น โดยทางดีอีเอส มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ใช้ดูแลแพลตฟอร์ม และ คอนเทนต์ต่าง ๆ ส่วนทาง กสทช.ก็จะกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผู้ให้บริการมือถือ ซึ่งต้องมีการประสานการทำงานร่วมกันในเรื่องกำกับดูแลในเรื่องนี้   “ที่ผ่านมาก็มีการตั้งคณะทำงานร่วมกันอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันคนดูทีวีภาคพื้นดิน หรือ ทีวีดิจิทัลน้อยลง…

NT ผนึก กสทช. เตือนภัยเครื่องหมาย + ก่อนรับสาย ระวัง!!!ภัยจากมิจฉาชีพ

Loading

  NT จับมือ กสทช. เตือนภัยประชาชนก่อนรับสายโทรศัพท์จากต่างประเทศ พบมีเครื่องหมาย + นำหน้าพึงระวัง หากน่าสงสัยวางสายทันที พร้อมวางมาตรการสกัดเหตุหวังตัดตอนปัญหามิจฉาชีพระบาดหนักในประเทศ   นางสาวโชติกา ไพจ์ศรี ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยว่า ขณะนี้มิจฉาชีพได้ปรับช่องทางในการโทรมาหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ ด้วยการใช้วิธีการโทรเข้าจากต่างประเทศ NT จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังก่อนการรับสายเบอร์โทรจากต่างประเทศทุกครั้ง   หากมีหมายเลขโทรศัพท์ที่เรียกเข้าขึ้นต้นด้วย +698 +66 ซึ่งเป็นสายที่โทรจากเบอร์มือถือไทยที่ใช้บริการโรมมิ่งจากต่างประเทศ และ +697 ซึ่งเป็นสายโทรผ่านระบบ VoIP (Voice over Internet Protocol) เข้ามาจากต่างประเทศให้พึงสังเกต หากไม่ได้มีการติดต่อธุรกิจจากต่างประเทศ หรือไม่มีญาติพี่น้องอยู่ต่างประเทศ   รวมถึงไม่ได้มีการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ให้วางสายทันทีและงดโทรกลับไปที่เบอร์ดังกล่าว เพื่อป้องกันการเกิดค่าใช้จ่ายเรียกเก็บจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและเหตุอันอาจจะก่อให้เกิดการเสียทรัพย์สินในอนาคต     ทั้งนี้เพื่อเป็นการร่วมสกัดการโทรเข้าจากต่างประเทศ NT ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีให้รัดกุมยิ่งขึ้น  …

“ดีอีเอส” แจงแนวทางระงับการเผยแพร่ข้อมูลผิดกฎหมาย

Loading

    ดีอีเอส ร่วมกับ กสทช. และ 35 หน่วยงาน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หาแนวทางแจ้งเตือน ระงับการเผยแพร่ข้อมูลผิดกฎหมาย หลังประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้ใน 60 วัน   วันที่ 3 พ.ย. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม​ (ดีอีเอส) ได้เชิญผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 35 ราย รับทราบ และชี้แจงประกาศกระทรวงดิจิทัลฯ เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2565 เพื่อระงับเนื้อหาข้อมูลเท็จ ความมั่นคง ลามกอนาจาร หลังรับแจ้งการกระทำผิด   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดีอีเอส กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 65 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์…

นักก.ม.แจ้งความเอาผิด ‘สารี-นพ.ประวิทย์’ ปล่อยข้อมูลลับกรณีควบรวมทรู-ดีแทค

Loading

  นักกฎหมาย โร่แจ้งความเอาผิดอาญา ‘สารี-นพ.ประวิทย์ ‘ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ กสทช. ผู้ที่เกี่ยวข้องอาจทำผิดฐานเผยข้อมูลลับทางราชการ 14 เงื่อนไข ควบรวมทรูดีแทค   วันที่ 17 ต.ค. นายไตรรงค์ ตันทสุข นักกฎหมาย ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน เปิดเผยว่า เมื่อต้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ตนได้เดินทางไปที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง เพื่อแจ้งความกล่าวโทษเป็นคดีอาญา ให้หาตัวผู้กระทำความผิดโดยมีผู้ต้องสงสัย ได้แก่ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค, นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักข่าวที่ลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ทุกสำนัก และเจ้าหน้าที่ กสทช. ในความผิดฐานเปิดเผยความลับทางราชการและ บิดเบือนข้อความจริงหรือนำความเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยบันทึกเป็นคดีอาญาเลขที่ 777/2565 ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่มีการให้สัมภาษณ์ของ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง และนายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ว่าได้ทราบและรู้เห็นมาตรการเฉพาะภายหลังการควบรวมกิจการทรูและดีแทค หรือ 14 เงื่อนไขก่อนที่บอร์ด กสทช.จะพิจารณาและเปิดเผย ซึ่งการกระทำทั้งปวงน่าจะเข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมาย จึงนำความไปร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อมอบคดีให้พนักงานสอบสวนสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุดต่อไป  …