เพราะอะไรการโจมตีแบบ ‘Zero-click’ ถึงอันตราย(1)
แอปรับส่งข้อความต่างๆ มักตกเป็นเป้าหมายในการโจมตี การโจมตีแบบ Zero-click มีความแตกต่างจากการโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบอื่นๆ เพราะไม่ต้องการการโต้ตอบใดๆ จากผู้ใช้งานที่ถูกกำหนดเป้าหมาย เช่น การคลิกลิงก์ การเปิดใช้มาโคร หรือการเปิดตัวโปรแกรมสั่งการ มักใช้ในการโจรกรรมทางอินเทอร์เน็ต และร่องรอยที่ทิ้งไว้มีน้อยมาก จุดนี้เองที่ทำให้เป็นอันตราย เป้าหมายของการโจมตีแบบ Zero-click สามารถเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่สมาร์ตโฟนไปจนถึงคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและแม้แต่อุปกรณ์ไอโอที เมื่ออุปกรณ์ของเหยื่อถูกโจมตี เหล่าบรรดาแฮกเกอร์สามารถเลือกที่จะติดตั้งซอฟต์แวร์ หรือการเข้ารหัสไฟล์และเก็บไว้เพื่อเรียกค่าไถ่ โดยทั่วไปแล้ว เหยื่อจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า อุปกรณ์นั้นถูกแฮกเมื่อไหร่และอย่างไร ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้งานแทบไม่สามารถป้องกันตัวเองได้เลย การโจมตีแบบ Zero-click มีเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และสปายแวร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งคือ Pegasus ของ NSO Group ซึ่งใช้ในการเฝ้าติดตามนักข่าว นักเคลื่อนไหว ผู้นำระดับโลก และผู้บริหารของบริษัท แม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่าเหยื่อแต่ละรายตกเป็นเป้าหมายได้อย่างไร และแอพรับส่งข้อความต่างๆ มักตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีแบบนี้ เนื่องจากแอพเหล่านี้ได้รับข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งที่ไม่รู้จักโดยไม่ต้องดำเนินการใดๆ จากเจ้าของอุปกรณ์ ส่วนใหญ่แล้ว ผู้โจมตีจะใช้ประโยชน์จากข้อบกพร่องในวิธีการตรวจสอบหรือประมวลผลข้อมูลโดยการโจมตีมักอาศัยช่องโหว่ Zero-days ที่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไม่รู้จัก โดยไม่ทราบว่ามีอยู่จริง ผู้ผลิตจึงไม่สามารถออกแพตช์ (patches)…