ฮ่องกงออกกฎหมายคุมเข้มการชุมนุม ต้องถือเทปล้อมขบวน เช็คเนื้อหา ห้ามกระทบความมั่นคง

Loading

    สื่ออาวุโสในฮ่องกงชี้ปัญหากฎหมายควบคุมการชุมนุมฉบับใหม่ของฮ่องกงที่มีเงื่อนไขยาวเหยียด คุมเข้มทั้งเนื้อหาที่ห้ามกระทบความมั่นคงและรูปแบบการชุมนุมที่คนร่วมต้องติดแท็กเบอร์ ต้องถือเทปกั้นล้อมขบวนชุมนุมเองและห้ามออกนอกแนวเทปกั้น แม้แต่ผู้ชุมนุมยังมองว่ามันเป็นกฎที่ “ไร้สาระจนน่าหัวเราะ”   ย้อนไปเมื่อปี 2562 ในช่วงที่มีการลุกฮือของประชาชนในฮ่องกงที่ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการเมืองจากจีนแผ่นดินใหญ่ ในตอนนั้นมีนักกิจกรรมฮ่องกงที่ร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจฮ่องกงไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะไม่ยอมแสดงหมายเลขประจำตัวหรือยศขณะเข้าปราบปรามผู้ชุมนุม   ทิม แฮมเลตต์ ที่ทำงานสื่อในฮ่องกงมาตั้งแต่ปี 2523 และปัจจุบันเกษียณอายุแล้ว ระบุว่ามันกลายเป็นเรื่องย้อนแย้งในแบบที่อธิบดีกรมตำรวจฮ่องกงไม่ทันได้นึกถึง เนื่องจากกฎหมายควบคุมการประท้วงฉบับใหม่ของฮ่องกงบังคับให้ประชาชนที่มาชุมนุมต้องติดป้ายหมายเลขลำดับด้วย แต่กลับไม่บังคับให้ตำรวจทำในสิ่งเดียวกัน   กฎหมายฉบับนี้ออกมาเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา และหลังจากนั้นไม่นานก็มีการประท้วงเล็กๆ ที่ย่านเจิ้งกวนโอ แม้สื่อจะรายงานว่าเป็นการเดินขบวน “ทางการเมือง” ครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดโควิด แต่ก็เป็นเพียงการประท้วงต่อต้านการปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าบ้านของพวกเขา เช่น การเทคอนกรีต และวางสิ่งของอื่นๆ   ทางอธิบดีกรมตำรวจฮ่องกงออก “จดหมายแจ้งไม่ขัดข้อง” ให้กับผู้ชุมนุมกลุ่มดังกล่าว ซึ่งจดหมายนี้เป็นจดหมายที่ผู้ประท้วงฮ่องกงต้องได้มาเมื่อจะชุมนุม แต่การจะได้จดหมายที่ว่านี้ต้องผ่านเงื่อนไขยาวเหยียด   ในการชุมนุมดังกล่าวนี้มีผู้ชุมนุมเข้าร่วม 80 ราย ซึ่งอาจจะน้อยกว่าตำรวจที่วางกำลังเพื่อรักษาความปลอดภัยเสียอีก และผู้ชุมนุมเหล่านี้ก็ถูกกำหนดให้ต้องติดหมายเลขของผู้ชุมนุม นอกจากนี้ยังต้องให้ผู้ชุมนุมคอยถือเทปกั้นเขตของตำรวจล้อมขบวนไว้ระหว่างเดินจัดเป็น “เขตประท้วง” ซึ่งชาวเน็ตเรียกมันว่า “เทปสถานที่เกิดเหตุอาชญากรรม”   ในกฎการชุมนุมฉบับใหม่ของฮ่องกงยังกำหนดอีกว่าเมื่อการเดินขบวนเริ่มต้นแล้ว จะไม่มีใครอนุญาตให้เข้าไปในพื้นที่ที่มีเทปกั้นเด็ดขาด ถึงแม้ว่าคุณจะมาประท้วงสายก็ตาม…

ม็อบจอร์เจียต้านกม.ปะทะตำรวจ

Loading

    ตำรวจจอร์เจียยิงแก๊สน้ำตาและฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อสลายการชุมนุมของประชาชนหลายหมื่นคนที่รวมตัวกันบนท้องถนนในกรุงทบิลิซี เพื่อต่อต้านร่างกฎหมาย “ตัวแทนต่างชาติ” ที่พวกเขาเห็นว่าเป็นกฎหมายเผด็จการและคล้ายกับกฎหมายของรัสเซีย ขณะที่ผู้ชุมนุมบางคนขว้างก้อนหินและระเบิดขวดเข้าใส่ตำรวจ   สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์อ้างรายงานการแถลงของทางการจอร์เจียเมื่อวันพุธที่ 8 มีนาคม 2566 ว่า จากเหตุผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนต่อต้านร่างกฎหมาย “ตัวแทนต่างชาติ” ชุมนุมบนท้องถนนในกรุงทบิลิซีเมื่อเย็นวันอังคารที่ผ่านมา และเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจปราบจลาจลหลายชั่วโมง ผู้ชุมนุมโดนจับกุมตัวไป 66 คน และตำรวจได้รับบาดเจ็บหลายสิบนาย   สำนักข่าวหลายสำนักของรัสเซียรายงานถ้อยแถลงของกระทรวงมหาดไทยจอร์เจียว่า เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายควบคุมตัวผู้ชุมนุมไป 66 คน จากความผิดก่อเหตุอันธพาลลหุโทษและไม่เชื่อฟังตำรวจ และตำรวจ 50 นายได้รับบาดเจ็บจากเหตุปะทะกับผู้ชุมนุมในกรุงทบิลิซีเมื่อคืนวันอังคาร   ชาวจอร์เจียหลายหมื่นคนออกมาชุมนุมบนท้องถนนเมื่อเย็นวันอังคาร เพื่อต่อต้านร่างกฎหมายตัวแทนต่างชาติ ที่บังคับให้สื่อมวลชนหรือหน่วยงานเอ็นจีโอที่ได้รับทุนสนับสนุนมากกว่าร้อยละ 20 จากต่างประเทศ จะต้องจดทะเบียนเป็น “ตัวแทนต่างชาติ” มิเช่นนั้นจะต้องโดนปรับเงินจำนวนมาก   ผู้อยู่ในการชุมนุมในกรุงทบิลิซีเมื่อคืนวันอังคาร เผยว่า เห็นตำรวจที่มีโล่ปราบจลาจลจับกุมตัวประชาชนไปหลายคนบนถนนรัสตาเวลี ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่ตัดผ่านย่านใจกลางเมืองหลวงของจอร์เจีย   หลายชั่วโมงก่อนหน้านั้น ตำรวจปะทะกับผู้ชุมนุม โดยยิงแก๊สน้ำตาและฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมบางคนขว้างระเบิดขวดและก้อนหินเข้าใส่ตำรวจ จากนั้นประชาชนมารวมตัวกันที่ด้านนอกอาคารรัฐสภา   ชาวจอร์เจียรวมตัวกันประท้วงหลังจากก่อนหน้านั้นในวันเดียวกัน สมาชิกสภานิติบัญญัติโหวตให้การสนับสนุนร่างกฎหมายนี้ในเบื้องต้น ซึ่งนักวิจารณ์ระบุว่าเป็นกฎหมายที่เป็นเผด็จการ และอาจส่งผลกระทบต่อความพยายามของประเทศในการยื่นขอเข้าร่วมสหภาพยุโรป…

ประชาชนเดินหน้าไล่ ผู้นำศรีลังกาประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งใหม่

Loading

  ประธานาธิบดีศรีลังกาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นครั้งที่ 2 ภายในระยะเวลาเพียง 5 สัปดาห์ หวังควบคุมการประท้วงของประชาชน ท่ามกลางวิฤติเศรษฐกิจ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ว่าประธานาธิบดีโกตาพญา ราชปักษา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังเกิดเหตุผละงานประท้วงของเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานหลายแห่ง และการเดินขบวนขับไล่รัฐบาล บริเวณอาคารรัฐสภาในกรุงโคลัมโบ ซึ่งบานปลายกลายเป็นการปะทะอย่างหนัก ระหว่างตำรวจปราบจลาจลกับมวลชนที่เข้าร่วมการชุมนุม   President declares State of Emergency https://t.co/CP9drrZNYv — NewsWire ?? (@NewsWireLK) May 6, 2022   แม้รายละเอียดของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งใหม่ยังไม่มีความชัดเจน แต่หลายฝ่ายเชื่อว่า ไม่น่ามีความแตกต่างกับคำสั่งแรก ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 1 เม.ย. และมีผลเพียง 5 วัน นั่นคือการเพิ่มอำนาจให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ในการจับกุมและตรวจค้น ขณะที่ผู้นำศรีลังกามีอำนาจสั่งการให้ทหารลงพื้นที่ปราบปรามผู้ประท้วงด้วย   The police fired tear gas…

วางกำลังคุ้มกันเข้ม หน้าศาลอาญา หลังนัดบุกยื่นร้องปล่อยแกนนำเคลื่อนไหว

Loading

  เจ้าหน้าที่วางกำลังรักษาความปลอดภัยศาลอาญาเข้ม หลังม็อบเตรียมบุกยื่นหนังสือร้องปล่อยนักกิจกรรม เมื่อเวลา 11.30 น.วันที่ 10 ก.ย.ที่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นายเจษฎา ศรีปลั่ง กลุ่มเครือข่ายคน รุ่นใหม่นนทบุรี และ นายธนัถต์ ธนากิจอำนวย และมวลชนประมาณ 200 คน พร้อมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ 100 คัน ได้มารวมตัวเพื่อทำกิจกรรมโดยมีวัตถุประสงค์เรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวแกนนำกลุ่มราษฎรและบุคคลที่เคลื่อนไหวทางการเมือง พร้อมแถลงข่าวการจัดงาน ยื่น หยุด ขัง ปล่อยเพื่อนเรา จนถึงเวลา12.00 น. จึงได้เคลื่อนขบวนออกไปโดยจัดขบวน CarMob ใช้เส้นทางออกจาก อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราดำเนินกลาง – สะพานพระปิ่นเกล้า -เลี้ยวขวาแยกบรมราชชนนี-สะพานพระราม7-อุโมงค์รัชดา-ลาดพร้าว – ศาลอาญาถนนรัชดา-เลี้ยวขวาแยกรัชโยธิน-เลี้ยวซ้ายแยกเกษตร-เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ     ด้านบรรยากาศที่ ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีเครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี ร่วมกับกลุ่มทะลุฟ้า, แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก จัดกิจกรรม ยืน หยุด ขัง เพื่อเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้แก่นักกิจกรรมที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ…

เพจตำรวจ เปิดขั้นตอนลำดับควบคุมฝูงชน เน้นเจรจา หากไม่เป็นผลถึงใช้กำลัง

Loading

    เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊กสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เปิดขั้นตอนการควบคุมฝูงชน ระบุว่า เน้นการเจรจาและชี้แจง หากไม่เป็นผลจะพิจารณาใช้กำลังและเครื่องมือตามสถานการณ์ความรุนแรง ลำดับการควบคุมสถานการณ์ – ใช้เครื่องกระจายเสียง เพื่อแจ้งเตือนผู้ชุมนุม พร้อมๆกับการเจรจาต่อรอง     – ใช้โล่ดัน ในกรณีหากผู้ชุมนุมจะบุกรุกเข้ามา     – ใช้น้ำฉีด ควบคุมฝูงชน เพื่อยับยั้งความรุนแรง     – ใช้เครื่องกระจายเสียงระดับสูง (ทำให้หูดับ) เพื่อจะใช้เตือนผู้ชุมนุม ไม่ให้เข้าใกล้พื้นที่ต้องห้าม     – ใช้แก๊สน้ำตา เมื่อการเจรจาชี้แจงไม่เป็นผล ต้องเป็นการสั่งการของผู้บัญชาการเหตุการณ์ขึ้นไป การใช้กำลังหรืออุปกรณ์ ต้องเป็นการสั่งการของผู้บัญชาการเหตุการณ์ขึ้นไป พิจารณาใช้ อุปกรณ์ตามความรุนแรงของสถานการณ์ ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับความรุนแรงของอุปกรณ์ มีแนวทางที่จะใช้เช่น แก๊สน้ำตา     – ใช้กระบอง กรณีไม่สามารถทำให้ฝูงชนรวมตัวอย่างสงบได้ จึงมีความจำเป็นต้องใช้อาวุธกระบองหรือกำลังทางร่างกาย    …

สถานทูตเตือนคนไทยเลี่ยงพื้นที่สำคัญกรุงจาการ์ตา 14-28 มิ.ย.

Loading

    สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนิเซีย ออกประกาศให้คนไทยระมัดระวังในการเดินทางไปยังพื้นที่รอบศาลรัฐธรรมนูญ อาจมีการชุมนุม สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา ออกประกาศให้คนไทยระมัดระวังในการเดินทางในพื้นที่ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนิเซีย ใกล้อนุสาวรีย์แห่งชาติ Monas จากสถานการณ์เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2562 เวลา 10.30 น. ตามที่ฝ่ายพลโท ปราโบโว ซูเบียนโต ได้ยื่นเรื่องคัดค้านผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดย ศาลฯ มีกำหนดดำเนินการเกี่ยวกับคดีดังกล่าว ดังนี้ ในช่วงระหว่างวันที่ 14 – 28 มิถุนายน อาจมีการชุมนุมของกลุ่มผู้สนับสนุนพล ใกล้ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งอยู่บนถนน Medan Merdeka Barat ใกล้อนุสาวรีย์แห่งชาติ Monas ซึ่งอาจนำไปสู่เหตุการณ์ความวุ่นวายได้     ทั้งนี้ ตำรวจอินโดนีเซียได้ปิดถนนหลายเส้นทางในพื้นที่โดยรอบศาลรัฐธรรมนูญเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยตั้งแต่ช่วงกลางดึกของวันที่ 13 มิถุนายน แล้ว  …