พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ปฏิเสธใช้ “รถรางแทรม” ระหว่างเสด็จเยือน “ฝรั่งเศส” วันอาทิตย์นี้ วิตกไม่ปลอดภัย กลายเป็นเป้าความโกรธผู้ประท้วงระบบเกษียณฝรั่งเศส

Loading

    เอเจนซีส์/รอยเตอร์ – มีรายงานว่าระหว่างการเสด็จเยือนฝรั่งเศสครั้งแรกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และพระราชินีคามิลลา ที่จะเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ (26 มี.ค.) นี้ ทั้ง 2 พระองค์จะไม่เสด็จประทับรถรางแทรมหลังแดนน้ำหอมเดือดลุกเป็นไฟจากวิกฤตผู้นำฝรั่งเศสที่เพิ่งรอดจากการโหวตลงมติไม่ไว้วางใจถึง 2 ครั้ง เพิ่มอายุเกษียณจาก 62 ปีเป็น 64 ปี ฝ่ายต่อต้านประกาศเตรียมรอต้อนรับการเสด็จด้วยการสไตรก์ครั้งใหญ่แบบเก่าแก่ดั้งเดิมของฝรั่งเศส   เดลีเอ็กซเพรสของอังกฤษรายงานวานนี้ (21 มี.ค.) ว่า พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และพระราชินีคามิลลา จะเปิดฉากการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศครั้งแรกในรัชสมัยในวันอาทิตย์ที่ 26 มี.ค.ที่จะถึงนี้ โดยจะเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนฝรั่งเศสเป็นเวลา 3 วัน ก่อนเสด็จเยือนเยอรมนีต่อไปหลังจากนั้น   สำนักพระราชวังบักกิงแฮมแถลงว่า จับตาอย่างใกล้ชิดต่อการเคลื่อนไหวสถานการณ์การประท้วงในฝรั่งเศส หลังจากประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ใช้อำนาจบริหารผ่านกฎหมายปฏิรูประบบเกษียณฝรั่งเศส จากแต่เดิม 62 ปี มาอยู่ที่ 64 ปีในปัจจุบัน สร้างความไม่พอใจไปทั่ว มีการประท้วงรุนแรงในฝรั่งเศส   มาครงนั้นรอดจากการโหวตลงมติไม่ไว้วางใจ 2 ครั้งในวันจันทร์…

ช็อก!! ชาวซิกข์ประท้วงเดือดบุกดึง “ธงชาติอินเดีย” ลงจากเฉลียงสถานทูตอินเดียในลอนดอน “โมดี” ตัดอินเทอร์เน็ต 27 ล้านคนวันที่ 4 ไล่ล่าแบ่งแยกดินแดนปัญจาบ

Loading

  เอเจนซีส์/เอพี/MGRออนไลน์ – กลุ่มประท้วงชาวซิกข์ในขบวนการ Khalistan (Khalistan) เปิดฉากประท้วงคู่ขนานทั้งที่สถานทูตอินเดียประจำกรุงลอนดอน และสถานกงสุลใหญ่อินเดียในเมืองซานฟรานซิสโก วันอาทิตย์ (19 มี.ค.) ภาพเผยแพร่ว่อนธงเหลืองขบวนการคาลิสถานแบ่งแยกดินแดนเผยแพร่ไปทั่ว ก่อนผู้ประท้วงใจกล้าบุกขึ้นเฉลียงชั้น 1 สถานทูตในอังกฤษ ก่อนปลดธงชาติ 3 สีอินเดียออก ระหว่างที่รัฐบาลนิวเดลีสั่งตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตครอบคลุม 27 ล้านคน เพื่อให้ตำรวจปัญจาบตามไล่ล่าบุคคลสำคัญกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวซิกข์   เอพีรายงานวานนี้ (20 มี.ค.) ว่า ตำรวจอังกฤษและตำรวจเมืองซานฟรานซิสโก แถลงตรงกันในวันจันทร์ (20) ว่า หน้าต่างของสถานทูตอินเดียประจำกรุงลอนดอน และหน้าต่างของสถานกงสุลใหญ่อินเดียประจำเมืองซานฟรานซิสโก ได้รับความเสียหายจากการประท้วงกลุ่มผู้สนับสนุนขบวนการคาลิสถาน (Khalistan) ซึ่งแบ่งแยกดินแดนชาวชาวซิกข์   ภาพที่เผยแพร่ไปทั่วโลกโซเชียลมีเดียอย่างสุดระทึกที่ด้านหน้าสถานทูตอินเดีย ในกรุงลอนดอน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ (19) แสดงให้เห็นผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งมาพร้อมธงสีเหลืองอันเป็นธงสัญลักษณ์ของขบวนการ พร้อมกับมีชายคนหนึ่งโพกผ้าสีเหลืองปีนขึ้นเฉลียงชั้น 1 ของอาคารสถานทูตกำลังปลดธงชาติ 3 สีของอินเดียลงท่ามกลางเสียงตะโกนเชียร์อย่างกึกก้อง อ้างอิงจากสื่อดิอินดีเพนเดนต์ของอังกฤษ   ตำรวจนครบาลอังกฤษ MET แถลงว่า มีชายคนหนึ่งถูกจับกุมในบ่ายวันอาทิตย์ (19) หลังก่อความไม่สงบอย่างรุนแรงด้านนอกสถานทูตอินเดีย…

ฝรั่งเศสตัดไฟฟ้าประท้วงกระทบเตรียมจัดโอลิมปิก

Loading

    เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าและพนักงานด้านพลังงานก๊าซของฝรั่งเศส ได้ร่วมประท้วงจากนโยบายที่ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ยืดอายุเกษียณจาก 62 เป็น 64 ปี ทำให้มีผู้ไม่พอใจและมีการประท้วงอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ   สำหรับการประท้วงครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ด้านพลังงานได้ตัดไฟฟ้าที่ส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิก รวมทั้งตัดไฟฟ้าของศูนย์ข้อมูลอีกด้วย   เซบาสเซียง เมอเนสปิแลร์ เลขาธิการสหพันธ์แรงงานฝรั่งเศส สาขาพลังงาน กล่าวว่า ต้องการให้ประธานาธิบดีมาครงยกเลิกการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การเกษียณอายุทำงาน แล้วหน่วยงานด้านพลังงานก็กลับไปทำงานให้ประชาชนเหมือนเดิม นอกจากนั้นยังมีรายงานว่า ได้มีการตัดไฟฟ้าที่ใช้ในสนามต่าง ๆ ที่จะใช้ในโอลิมปิกเกมส์ 2024 ด้วย แต่ได้มีการยืนยันจากการไฟฟ้าฝรั่งเศสแล้วว่า สต๊าด เดอ ฟร้องซ์ ซึ่งเป็นสนามกีฬาแห่งชาติไม่ได้ถูกตัดไฟ และยังอยู่ในสถานการณ์ปกติ   ด้านโอลิวิเย่ร์ เวร็อง โฆษกรัฐบาล กล่าวว่า การกระทำแบบนี้เป็นการทำลายเศรษฐกิจของประเทศและไม่มีใครที่จะมารับผิดชอบได้ เป้าหมายของรัฐบาล คือ การลดอัตราการว่างงาน   สำหรับการประท้วงจะยังคงเดินหน้าต่อไป โดยสหภาพแรงงานฝรั่งเศสได้ร้องขอให้มีการหยุดงานประท้วงในวันที่ 15 มีนาคม           ————————————————————————————————————————-…

เปรูปิด ‘มาชูปิกชู’ ไม่มีกำหนด ประท้วงต้านผู้นำลามทั่วประเทศ

Loading

    ทางการเปรูสั่งปิดมาชูปิกชู สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างไม่มีกำหนด ท่ามกลางการประท้วงรุนแรงที่ลุกลามไปทั่วประเทศ ทำให้มีผู้บาดเจ็บเพิ่มอีกกว่า 50 รายในวันเสาร์   เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ม.ค. 2566 รัฐบาลของประเทศเปรูประกาศปิด มาชูปิกชู หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ และสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของประเทศ อย่างไม่มีกำหนด โดยให้เหตุผลว่า เพื่อปกป้องนักท่องเที่ยวและพลเมืองของตัวเอง หลังจากการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีลุกลามไปในหลายเมืองทั่วประเทศ   คำสั่งปิดมาชูปิกชูเกิดขึ้นหลังจากบริการรถไฟมายังมรดกโลกแห่งนี้ถูกระงับ เนื่องจากรางรถไฟถูกผู้ประท้วงสร้างความเสียหาย ทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนหลายร้อยคนติดค้าง โดยแถลงการณ์จากกระทรวงวัฒนธรรมเปรู ระบุว่า นักท่องเที่ยวที่ซื้อตั๋วแล้ว สามารถเก็บไว้ใช้ได้ 1 เดือนหลังการการชุมนุมสิ้นสุด หรือจะขอเงินคืนก็ได้   เมื่อเดือนก่อน การประท้วงก็ทำให้เจ้าหน้าที่ของเปรูต้องช่วยเหลือนักท่องเที่ยวหลายร้อยคนออกจากพื้นที่ใกล้เคียงมาชูปิกชู หลังจากติดค้างอยู่ที่นั่นนานหลายวัน   ทั้งนี้ เปรูเผชิญการประท้วงรุนแรงมาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมปี 2565 หลังประธานาธิบดีคนก่อนถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 50 ศพ โดยผู้ประท้วงเรียกร้องให้ นางดีนา โบลูอาร์เต ผู้นำคนใหม่ลาออกจากตำแหน่ง แต่จนถึงตอนนี้เธอยังคงปฏิเสธที่จะทำตามข้อเรียกร้อง   ในการปะทะที่เกิดขึ้นล่าสุด ถนนหลายสายในกรุงลิมาถูกปิดกั้น ตำรวจต้องยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ผู้ชุมนุมที่ขว้างปาก้อนหินเข้าใส่เจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า…

อังกฤษเล็งเพิ่มอำนาจตำรวจเพื่อยุติการประท้วง หวั่นส่งผลกระทบประชาชน

Loading

    รัฐบาลอังกฤษภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ริชี ซูนัค จะประกาศข้อเสนอใหม่ ๆ เพื่อปราบปรามการประท้วง ในวันนี้ (16 ม.ค.) โดยจะมอบอำนาจพิเศษให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้ามาดำเนินการเพื่อป้องกันเหตุการณ์ชะงักงันอันเนื่องมาจากการประท้วง   ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การประท้วงในอังกฤษมักเกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้มีการปิดพื้นที่ส่วนใหญ่ใจกลางกรุงลอนดอนและปิดกั้นการจราจรบนทางหลวงสายสำคัญ ซึ่งทำให้ต้องออกกฎเพิ่มอำนาจพิเศษให้ตำรวจเพื่อเข้ามาหยุดยั้งความวุ่นวาย   รัฐบาลอังกฤษได้ผ่านกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหานี้ในปี 2565 แต่กำลังวางแผนที่จะดำเนินการเพิ่มเติมด้วยกฎหมายชุดใหม่ที่รู้จักกันในชื่อ ร่างกฎหมายความสงบเรียบร้อยของประชาชน (Public Order Bill)   ร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการเผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการอภิปรายในรัฐสภา ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากกลุ่มอิทธิพลเมืองที่กล่าวว่าเป็นการต่อต้านประชาธิปไตยและให้อำนาจแก่ตำรวจมากเกินไป   รัฐบาลต้องการแก้ไขร่างกฎหมายความสงบเรียบร้อยของประชาชนก่อนที่จะออกเป็นกฎหมาย เพื่อขยายคำจำกัดความทางกฎหมายของ “การหยุดชะงักอย่างร้ายแรง” เพื่อให้ตำรวจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และให้ความชัดเจนทางกฎหมายว่าอำนาจใหม่จะถูกนำมาใช้เมื่อใด   นายซูนัคกล่าวในแถลงการณ์เมื่อค่ำวานนี้ว่า “สิทธิในการประท้วงเป็นหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยของเรา แต่สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องที่แน่นอน เราไม่สามารถปล่อยให้การประท้วงจากคนส่วนน้อยส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ได้ เราจะต้องดำเนินการให้เรื่องนี้ยุติลง”   ทั้งนี้ รัฐบาลอังกฤษกล่าวว่า หากกฎหมายใหม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ก็จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้ายุติการประท้วงได้ทันที       ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :       …

เจาะสาเหตุศึกชิงเยรูซาเล็ม ปะทะเดือดอิสราเอล-ปาเลสไตน์

Loading

  อธิบายถึงสาเหตุการประท้วงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทางตะวันออกของกรุงเยรูซาเล็ม มันเกิดจากอะไร และรุนแรงขนาดไหน? ในช่วงเดือนรอมฎอนชาวปาเลสไตน์ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจอิสราเอลบนพื้นที่ทางตะวันออกของกรุงเยรูซาเล็มทุกคืน โดยประเด็นและขนาดของการประท้วงก็แตกต่างกันออกไป ซึ่งครอบคลุมทั้งศาสนา ที่ดิน และการเมือง ประเด็นเหล่านี้ทั้งหมดคือความขัดแย้งหลักระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ โดยรอยเตอร์สได้อธิบายความขัดแย้งไว้ดังนี้   การประท้วงเริ่มขึ้นเมื่อใด? ตั้งแต่ต้นเดือนรอมฎอนในช่วงกลางเดือนเมษายนชาวปาเลสไตน์ได้ปะทะกับตำรวจอิสราเอลทุกคืน โดยชาวปาเลสไตน์กล่าวหาว่าตำรวจอิสราเอลนำแผงกั้นมากีดขวางไม่ให้พวกเขารวมตัวกันบริเวณประตูดามัสกัสเพื่อพักการถือศีลอดในตอนกลางวัน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าทำไปเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของผู้คนในการสัญจรในย่านเมืองเก่า วันหนึ่งกลุ่มชาวยิวชาตินิยมเดินขบวนในนครเมืองเก่าของเยรูซาเล็มพร้อมตะโกนว่า “ชาวอาหรับต้องตาย” ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากไม่พอใจจึงเกิดการปะทะกัน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้าสลายดวยระเบิด แก๊สน้ำตา รวมถึงฉีดน้ำแรงดันสูง ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและผู้ถูกจับกุมจำนวนมาก     ทำไมความรุนแรงถึงปะทุขึ้นอีกครั้ง? การพิจารณาคดีในศาลฎีกาของอิสราเอลมีกำหนดในวันที่ 10 พฤษภาคมในคดีทางกฎหมายที่ดำเนินมายาวนานเกี่ยวกับว่าครอบครัวชาวปาเลสไตน์หลายครอบครัวจะถูกขับไล่หรือไม่ ขณะที่บ้านของพวกเขาตั้งอยู่ใน ชีค จาร์ราห์ (Sheikh Jarrah) ซึ่งเป็นย่านใกล้ประตูดามัสกัส เมื่อใกล้การไต่สวนของศาลชาวปาเลสไตน์และอิสราเอลฝ่ายซ้ายเริ่มจัดการประท้วงครั้งใหญ่ขึ้นโดยกล่าวว่าการขับไล่อาจทำให้เกิดผลกระทบเป็นโดมิโนไปทั่วพื้นที่ใกล้เคียงของชาวปาเลสไตน์ นอกจากนี้ชีค จาร์ราห์ ยังมีสถานที่สำคัญซึ่งเป็นที่เคารพนับถือนับถือของชาวยิวจึงนำไปสู่ความตึงเครียดบ่อยครั้งระหว่างชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ที่นั่นและชาวยิวที่เคร่งศาสนาเมื่อพวกเขาไปเยี่ยมที่นั่น     ทำไมจึงเป็นประเด็นอ่อนไหว? เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ประวัติศาสตร์ และศาสนา โดยใจกลางเมืองเก่าของเยรูซาเล็มเป็นเนินเขาที่รู้จักกันในชื่อว่าเนินพระวิหาร (Temple Mount) ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปีของทั้งสามศาสนาคือ ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ชาวอิสราเอลมองว่าเยรูซาเล็มทั้งหมดเป็นเมืองหลวงที่คงอยู่ชั่วนิรันดร์และแบ่งแยกไม่ได้ ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์ต้องการพื้นที่ทางตะวันออกเป็นเมืองหลวงของรัฐในอนาคต ขณะที่การผนวกเยรูซาเล็มตะวันออกของอิสราเอลไม่ได้รับการยอมรับในระดับสากล…