ThaID ศูนย์กลางพิสูจน์ตัวตน เชื่อมความปลอดภัยสู่ทุกแอป

Loading

  สิ่งที่น่าชื่นชมในระบบการลงทะเบียนคือ มีระบบพิสูจน์ตัวบุคคลโดยใช้แอป ThaID (ไทยดี) ของกรมการปกครอง แอปนี้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Digital ID) รวมถึงการเปรียบเทียบภาพใบหน้า (Face Verification System) ทางดิจิทัล   เมื่อสัปดาห์ก่อนผมลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ์เลือกตั้งนายกสมาคมศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งก็คิดว่าเหมือนระบบลงทะเบียนออนไลน์อื่น ๆ ที่มักจะให้ยืนยันตัวตนโดยเพียงการกรอกอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น ซึ่งผมเคยตั้งข้อสงสัยว่าระบบลงทะเบียนแบบนั้นจะพิสูจน์ตัวตนได้อย่างไรว่า “บุคคลที่มาลงทะเบียนบนโลกดิจิทัลกับตัวตนบนโลกจริงคือบุคคลคนเดียวกัน” เพราะใครก็สามารถใช้ชื่อของคนอื่นมาลงทะเบียนแทนได้ เช่น การสร้างอีเมลขึ้นมา และอ้างว่าเป็นบุคคลผู้นั้น   แต่สิ่งที่น่าชื่นชมในระบบการลงทะเบียนคือ มีระบบพิสูจน์ตัวบุคคลโดยใช้แอป ThaID (ไทยดี) ของกรมการปกครอง แอปนี้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Digital ID) รวมถึงการเปรียบเทียบภาพใบหน้า (Face Verification System) ทางดิจิทัล   หากระบบออนไลน์ใดของภาครัฐหรือภาคเอกชนมีการพัฒนาใช้แอป ThaID ในการยืนยันตัวตน ก็จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่ระบบผ่านแอป ThaID ได้เลย โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลให้เสียเวลา ถือเป็นการสร้างมิติใหม่ของการทำธุรกรรมออนไลน์ ที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น   กรณีของมหาวิทยาลัยขอนแก่น คนที่ต้องการลงทะเบียนใช้สิทธิ์เลือกตั้งนายกสมาคมศิษย์เก่า จะต้องทำการดาวน์โหลดแอป…

ปัดแล้วจ่าย มาใหม่ เครื่องสแกนฝ่ามือ เน้นไร้สัมผัส ใช้ยืนยันตัวตน

Loading

Tencent เผยโฉมบริการสแกนฝ่ามือในประเทศจีนใหม่ ช่วยให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพกกุญแจ กระเป๋าสตางค์ หรือกระทั่งโทรศัพท์ ก็เดินออกนอกบ้านตัวเปล่าได้ ด้วยเครื่องสแกนที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งมีเซ็นเซอร์ที่สามารถวิเคราะห์ลายนิ้วมือ และรูปแบบหลอดเลือดดำใต้ผิวหนังที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลได้

ความสับสนระหว่าง “กระเป๋าเงินดิจิทัล” และ “เงินดิจิทัล”

Loading

  หลังจากการเลือกตั้งไปกว่า 100 วัน ในที่สุดเราก็ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล พร้อมนโยบายเด่น “ดิจิทัลวอลเล็ต” หรือ “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ที่เคยประกาศไว้ช่วงหาเสียง …คนทั่วไปอาจยังสับสนกับคำว่า “กระเป๋าเงินดิจิทัล กับ เงินดิจิทัล”   หลังจากการเลือกตั้งไปกว่า 100 วัน ในที่สุดเราก็ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล พร้อมกับนโยบายเด่น “ดิจิทัลวอลเล็ต” หรือ “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ที่เคยประกาศไว้ในช่วงหาเสียง   สื่อหลายแห่งหรือแม้แต่นักการเมืองต่างก็ใช้คำพูดที่แตกต่างกัน บ้างก็บอกว่าแจก “เงินดิจิทัล” บ้างก็เรียกว่า แจก “กระเป๋าเงินดิจิทัล” แต่เสมือนว่าทุกคนเข้าใจคล้าย ๆ กันว่าจะได้เงินจำนวน 10,000 บาท ที่อยู่ในรูปของดิจิทัล โดยทีมพรรคเพื่อไทยก็บอกว่า จะใช้เทคโนโลยี บล็อกเชน ที่มีความปลอดภัยสูงมาช่วยพัฒนาระบบดังกล่าว   คนทั่วไปก็อาจจะยังสับสนกับคำว่า “กระเป๋าเงินดิจิทัล กับ เงินดิจิทัล” ทั้ง ๆ ที่สองคำนี้แตกต่างกันมากพอควร ถ้าเราลองนึกถึงกระเป๋าเงินปกติที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำ ก็คงพอเข้าใจว่าเป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในการเก็บเงินสด บัตรเครดิต บัตรโดยสารรถ หรือบัตรประจำตัวต่าง ๆ…

รู้เท่าทัน AI Deepfake ภาพที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อาจไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป

Loading

  ในวันที่อัลกอริทึม Generative AI ถูกพัฒนาสู่การเป็น AI Deepfake ที่ฉลาดล้ำและถูกนำมา สร้างเนื้อหา “ภาพ+เสียง” ที่เสมือนเรื่องจริงจนแยกไม่ออก ว่านี่คือชุดข้อมูล ที่ “มนุษย์ หรือ เทคโนโลยี AI” เป็นผู้คนสร้างสรรค์   ประเด็นดังกล่าว กลายเป็นประเด็นร้อนที่เราต่างเป็นห่วงและให้ความสำคัญ เพราะเราแทบไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่า ภาพ VDO หรือแม้แต่เสียง ที่เราแชร์ ส่งต่อกันบนโลกออนไลน์ ภายในเสี้ยววินาทีนี้ คือ ความจริง หรือ ภาพลวง แล้วเราจะรับมือและรู้ทัน AI Deepfake ได้อย่างไร?   ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Clinic หรือ AIGC) เปิดเวทีแลกเปลี่ยนมุมมอง ทำความรู้จักกับ AI Deepfake พร้อมวิธีการรับมือเบื้องต้นเพื่อให้เรารู้ทันเทคโนโลยี AI ที่วันนี้สามารถสร้างชุดข้อมูล ภาพ เสียง ได้ราวกับมนุษย์แล้ว ใน AI…

เจาะลึก!! กฎหมาย Digital Platform Services ใครได้ ใครเสียประโยชน์

Loading

  พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 นี้ เป็นอีกหนึ่งกฏหมายที่ถูกปรับมาให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ คนที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลควรต้องรู้ !!!!   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอรนิกส์ หรือ ETDA เปิดข้อมูลอินไซต์ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) หรือที่รู้จักกันในชื่อ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ที่จะถึงนี้ แน่นอนว่าในมุมของผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างผู้ให้บริการ หรือ ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพตลฟอร์มดิจิทัลนั้น คงติดตามความเคลื่อนไหวและมีการทำความเข้าใจกับกฎหมายฉบับนี้มาอย่างต่อเนื่อง   กฎหมายฉบับนี้ ได้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เปิดรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนรวบรวมประเด็นเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงกฎหมายซึ่งได้มีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง     จาก…

มทร.สุวรรณภูมิ ใช้บล็อกเชนพัฒนา “ระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

Loading

  การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผ่านออนไลน์ ซึ่งลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีหลายรูปแบบ   ปฏิเสธไม่ได้ว่า … สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นตัวเร่งให้องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เปลี่ยนผ่านการทำงานสู่ “ดิจิทัล” กันมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าปัจจุบันหลาย ๆ หน่วยงานมี “ระบบบริหารจัดการเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์” สำหรับใช้งานเรียบร้อยแล้ว   แต่..ทำไมบางหน่วยงานยังคงใช้วิธี “ลงลายมือชื่อหรือเซ็นเอกสาร” ในข้อมูลที่เป็นกระดาษอยู่ดี สาเหตุสำคัญมาจากความไม่เชื่อถือข้อมูลที่อยู่บนระบบบริหารจัดการเอกสาร โดยเฉพาะการลงนามที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ซึ่งแม้จะมีการลงนามไปแล้ว ผู้ดูแลระบบก็ยังสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลย้อนหลังได้ตลอดเวลา   พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดหมวดหมู่ของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็น 2 กลุ่มหลักคือ   1.ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เช่น การส่งข้อมูลตอบกลับทางอีเมล หรือการวางรูปลายเซ็นไว้บนเอกสาร เป็นต้น และ   2.ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะใช้กระบวนการเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์ (Digital Signature) เพื่อใช้ตรวจสอบและผูกมัดผลทางกฎหมายให้แน่นยิ่งขึ้น   ปัจจุบัน ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ จะมีโซลูชั่นในการให้บริการจากผู้ให้บริการออกใบรับรอง…