ปรับแผนการเดินรถไฟ”เส้นทางสายใต้” ช่วงสถานียะลา – ไม้แก่น ชั่วคราว

Loading

  รฟท. แจ้งปรับแผนการเดินรถ ในเส้นทางสายใต้ ช่วงระหว่างสถานียะลา – ไม้แก่นเป็นการชั่วคราว   นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2566 เวลา 19.55 – 22.00 น. รฟท. ได้รับแจ้งเหตุมีกลุ่มคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้อาวุธปืนและระเบิดลอบยิงเข้าใส่สถานีรถไฟและฐานปฏิบัติการหน่วยปฏิบัติการพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่สถานีปัตตานี วัดช้างให้ ยะลา รือเสาะ เจาะไอร้อง   จากการตรวจสอบไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้อาคารสถานี และสะพาน   รวมถึงทางรถไฟได้รับความเสียหาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอข้อมูลจากหน่วยงานความมั่นคงที่เข้าไปตรวจสอบบริเวณจุดเกิดเหตุ     จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รฟท. จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนการเดินรถ ในระหว่างวันที่ 15 – 16 เมษายน 2566 ดังนี้   1. ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 37/38 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – สุไหงโกลก…

ย้อนอดีตรถไฟสายชายแดนใต้ฝ่าดงระเบิด

Loading

  เหตุการณ์โจมตีรถไฟและลอบวางระเบิดรางไฟเกิดขึ้นมาแล้วนับร้อยครั้ง ตั้งแต่มีเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา   ข้อมูลที่รวบรวมโดย “ศูนย์ภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา” ระบุว่า ตลอด 18 ปีไฟใต้ มีเจ้าหน้าที่และพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เสียชีวิตจากเหตุการณ์โจมตีรถไฟทุกรูปแบบมาแล้ว จำนวน 8 ราย บาดเจ็บ 48 ราย โดยจำนวนนี้นับรวมเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดระเบิดรางรถไฟล่าสุดสายชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ด้วย   ประเด็นที่น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งก็คือ เส้นทางรถไฟสายชายแดนใต้มี 2 สายหลัก ๆ ถ้านับจากชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กล่าวคือ   1.เส้นทางรถไฟที่ไปจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จนถึง สถานีสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร มีสถานี 27 สถานี มีจุดล่อแหลมหรือจุดเสี่ยงรวมทั้งสิ้น 12 จุด ส่วนใหญ่เป็นช่วงจากสถานียะลาถึงสถานีสุไหงโก-ลก (ผ่าน อำเภอรือเสาะ เจาะไอร้อง ระแงะ และสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส)…