อินเตอร์เน็ตควอนตัม เน็คยุคใหม่ ไม่ต้องกลัวโดนแฮ็ก

Loading

ตามข้อมูลของ New Scientist ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Renmin ประเทศจีน ได้ทดลองสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยสายใยแก้วนำแสงหลายกิโลเมตร สำหรับทดสอบระบบอินเทอร์เน็ต และมันให้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง

จีนเตรียมปรับปรุงกฎหมายการรักษาความลับของรัฐครั้งใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ

Loading

เมื่อ 25 ต.ค.66 จีนเผยแพร่รายละเอียดของร่างกฎหมายว่าด้วยการรักษาความลับของรัฐฉบับปรับปรุง โดยเพิ่มมาตราใหม่ครอบคลุมด้านการศึกษา เทคโนโลยี และการใช้อินเทอร์เน็ต ไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหาร นับเป็นการปรับปรุงร่างกฎหมายการรักษาความลับของรัฐครั้งใหญ่ครั้งที่สองตั้งแต่ประกาศใช้ปี 2531

TikTok ว่าจ้างบริษัท NCC ของอังกฤษตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูลบนแพลตฟอร์ม

Loading

ภาพ : REUTERS/Mike Blake   TikTok ได้ว่าจ้าง NCC NCCG.L บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของอังกฤษ เพื่อตรวจสอบการควบคุมและการปกป้องข้อมูลของผู้ใช้บริการบนแพลตฟอร์มโดยอิสระ ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือน มี.ค.67   กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของบริษัทโซเชียลมีเดีย หรือเรียกชื่อย่อว่า “Project Clover” ทั้งนี้ TikTok และ NCC จะต้องร่วมมือกับผู้กำหนดนโยบายทั่วยุโรป เพื่อให้ข้อมูลในทางปฏิบัติว่า ระบบจะทำงานอย่างไร   การดำเนินการดังกล่าวสืบเนื่องมาจากแรงกดดันเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นจากฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป รวมทั้งหน่วยงานของรัฐหลายแห่งได้สั่งห้ามให้เจ้าหน้าที่ใช้งาน TikTok เพราะมีความกังวลว่า TikTok ที่มีเจ้าของโดย ByteDance บริษัทสัญชาติจีน ซึ่งรัฐบาลจีนอาจสามารถรวบรวมข้อมูลผู้ใช้ของประเทศอื่นได้   TikTok กำลังเปิดศูนย์ข้อมูลในยุโรปทั้งหมด 3 แห่ง ในไอร์แลนด์สองแห่ง และอีกหนึ่งแห่งในนอร์เวย์   นาง Elaine Fox หัวหน้าฝ่ายความเป็นส่วนตัวของ TikTok ในยุโรป กล่าวว่า “ปัจจุบัน TikTok ได้เริ่มโยกย้ายและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ในเขตเศรษฐกิจยุโรป (European…

ทำลายยาก ลายน้ำแบบใหม่ ถอดรหัสผ่านคลาวด์

Loading

  เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท CastLabs จากเยอรมนีได้เปิดตัว “ลายน้ำทางนิติเวชแบบเฟรมเดียว หรือ single-frame forensic watermarking ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ที่ทำงานผ่านระบบคลาวด์เพื่อให้สามารถระบุ ภาพหรือวีดีโอที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย ๆ   สำหรับ “ลายน้ำ” คือการระบุรูปแบบที่ซ่อนอยู่ในกระดาษ รูปภาพ หรือเนื้อหาประเภทอื่นๆ ที่ผู้ผลิตและผู้ให้บริการสามารถใช้เพื่อตรวจจับของปลอมหรือการละเมิดลิขสิทธิ์   แนวทางใหม่นี้ จะช่วยให้บริษัทสามารถฝัง “ลายน้ำในระดับที่มีความทนทาน” แม้กับไฟล์ที่มีบิทเรตเพียงน้อยนิด ในเนื้อหาดิจิทัล เช่น รูปภาพ วิดีโอ เอกสาร หรือไฟล์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ ได้   ขั้นเริ่มต้น อัลกอริธึมของ CastLabs จะฝังลายน้ำลงไปในไฟล์พร้อม ๆ กับขั้นตอนการเข้ารหัส จากนั้น หากต้องการจะตรวจสอบ สามารถทำได้ผ่านระบบคลาวด์ที่สามารถถอดรหัสลายน้ำที่ฝังไว้ออกมาได้ครับ   วิธีการดังกล่าวถูกเรียกว่า “blind extraction” สามารถดึงรูปแบบที่ซ่อนอยู่จากเนื้อหาที่มีลายน้ำ ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงลายน้ำต้นฉบับได้อีกต่อไป ซึ่งเป็นการซ่อนลายน้ำอีกชั้นหนึ่ง และไม่สามารถนำออกไปได้    …

Account ในระบบคลาวด์ มากกว่าครึ่ง เสี่ยงถูกแฮ็ก

Loading

  ปัจจุบัน มีการใช้งานระบบคลาวด์ (Cloud) กันอย่างแพร่หลายในทั่วทุกมุมโลก ส่งผลให้เกิดปัญหาการคุกคามทางไซเบอร์จากผู้ไม่ประสงค์ดีซึ่งมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน   อีกทั้งองค์กรต่าง ๆ ยังคงต้องเผชิญกับสภาวะการขาดแคลนทักษะในตลาดแรงงานทางด้านคลาวด์อีกเป็นจำนวนมากถึง 2.7 ล้านคนทั่วโลก   การสำรวจเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้งานระบบคลาวด์พบว่า องค์กรระดับโลกส่วนใหญ่ต่างพากันไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของการควบคุมความปลอดภัยในระบบคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) แม้ว่าองค์กรนั้น ๆ จะมีการจัดเก็บข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนไว้บนนั้นก็ตาม   สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจครั้งนี้คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีและความปลอดภัยจากองค์กรต่าง ๆ ซึ่งผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า 2 ใน 3 หรือประมาณ 67% มีการจัดเก็บข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน หรือ เวิร์คโหลดไว้กับผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ (Cloud Service Provider หรือ CSP)   นอกจากนี้ มีประมาณ 1 ใน 3 หรือ 31% ที่ยอมรับว่า ไม่มั่นใจ หรือมั่นใจเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับความสามารถในการปกป้องข้อมูลในระบบคลาวด์ และอีก 44% มีความมั่นใจในระดับปานกลางเท่านั้น   ในความเป็นจริงแล้ว CSP…

ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ในอังกฤษ จะต้องส่งข้อมูลเพื่อสอบสวนกรณีเด็กเสียชีวิต

Loading

    เว็บไซต์ The Guardian รายงานเมื่อ 22 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภาสหราชอาณาจักรได้ผ่านร่างกฎหมายความปลอดภัยบนโลกออนไลน์   โดยกำหนดให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ต้องส่งข้อมูลของเด็กในกรณีที่ต้องสงสัยว่าเสียชีวิตจากภัยบนโลกออนไลน์ให้แก่เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพผ่าน Office of Communications (Ofcom) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรคมนาคม และการสื่อสารในสหราชอาณาจักร เพื่อร่วมกันหาสาเหตุการเสียชีวิต   แม้ปัจจุบันแพลตฟอร์มออนไลน์จะแบ่งปันข้อมูลของเด็กที่เสียชีวิตให้กับเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพโดยสมัครใจแต่กฎหมายได้ให้อำนาจอย่างจำกัด เช่น กรณีของ Molly Russell ที่ใช้เวลายาวนานถึง 5 ปี ในการสืบสวนหาสาเหตุการเสียชีวิต เนื่องจากข้อจำกัดด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินสตราแกรม ซึ่งผลการสืบสวนพบว่า เธอได้ดูเนื้อหาจำนวนมากเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ทั้งยังมีภาวะซึมเศร้า และทำร้ายตัวเอง สุดท้ายเธอได้ฆ่าตัวตายในอายุ 14 ปี   พ่อของ Russell กล่าวว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพและครอบครัวจะต้องเข้าถึงข้อมูลบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ของเด็ก “มาตรการนี้จะเป็นก้าวแรกในการหยุดวงจรการสูญเสียได้” และแม้บางแพลตฟอร์มจะมีฟีเจอร์ “มรดกดิจิทัล (Digital legacy)” ที่อนุญาตให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตสามารถเข้าถึงบัญชีได้ แต่ฟีเจอร์ดังกล่าวก็ไม่เหมาะกับเด็กที่เสียชีวิตอย่างกะทันหัน      …