ศาลพม่าปฏิเสธประกันตัว นักข่าวรอยเตอร์โดนขังต่อข้อหาละเมิดความลับราชการ

Loading

เอเอฟพี – ศาลพม่าปฏิเสธให้ประกันตัวสองนักข่าวรอยเตอร์ที่ถูกตั้งข้อหาตามกฎหมายความลับราชการในวันนี้ (1) กฎหมายที่อาจทำให้ทั้งสองต้องเผชิญกับโทษจำคุกนาน 14 ปี คดีความที่ก่อให้เกิดการคัดค้านอย่างรุนแรงจากการถดถอยของเสรีภาพสื่อในประเทศ วา โลน และกอ โซ อู สองนักข่าวชาวพม่าถูกกล่าวหาว่าครอบครองเอกสารที่เป็นความลับทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามทางทหารอย่างรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญา การปราบปรามที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตอนเหนือของรัฐยะไข่ส่งผลให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาเกือบ 700,000 คน ต้องอพยพหลบหนีไปบังกลาเทศตั้งแต่เดือนส.ค. และหลายคนกล่าวหาว่ามีการสังหารหมู่ การข่มขืน และการวางเพลิงโดยทหารพม่า “ศาลได้ตัดสินใจที่จะไม่ให้ประกันตัว” ผู้พิพากษาเย ละวิน กล่าว  สองนักข่าวที่ถูกควบคุมตัวตั้งแต่เดือนธ.ค. กล่าวว่าพวกเขาได้รับเอกสารจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสองนายที่ได้เชิญพวกเขาทานอาหารค่ำชานนครย่างกุ้ง และเมื่อพวกเขาออกจากร้านอาหาร พวกเขาถูกจับกุมตัวก่อนที่จะมีโอกาสได้ดูเอกสารเหล่านั้น ซึ่งผู้สังเกตการณ์ระบุว่าจากระยะเวลาดังกล่าวอาจเป็นการจัดฉากของตำรวจ กลุ่มสิทธิมนุษยชนและนักการทูต และบุคคลทางการเมืองที่รวมทั้งอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้เรียกร้องการปล่อยตัวนักข่าวทั้งสองคน การตัดสินใจเกี่ยวกับการประกันตัวมีความสำคัญด้วยการไต่สวนเบื้องต้นก่อนการพิจารณาคดีคาดว่าจะกินเวลาหลายเดือนก่อนศาลจะตัดสินอย่างเป็นทางการว่าจะรับคดีดังกล่าวหรือไม่ และคาดว่าทั้งคู่จะยังคงอยู่ในคุกตลอดช่วงเวลาดังกล่าว ภรรยาของวา โลน เสียใจกับคำตัดสินของศาล ด้วยหวังว่าสามีจะได้รับการประกันตัว ขณะที่กอ โซ อู ซึ่งถูกสวมกุญแจมือได้มีโอกาสอุ้มลูกสาวอายุ 2 ขวบเพียงไม่นานระหว่างอยู่นอกห้องพิจารณาคดีก่อนตำรวจจะนำตัวไป รอยเตอร์ระบุว่ารู้สึกผิดหวังกับการตัดสินใจของศาลแต่เชื่อว่ากระบวนการจะแสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของนักข่าว แต่สำนักข่าวปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นถึงรายละเอียดของสิ่งที่สองนักข่าวกำลังรายงานในช่วงเวลาที่ถูกจับกุม แต่มีการคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าพวกเขากำลังสืบเรื่องการสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาในหมู่บ้านอินดิน ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่. ————————————————————————– ที่มา : MGR Online…

เอกสารลับของรัฐบาลออสเตรเลียถูกพบในตู้เก่าที่ร้านขายของมือสอง

Loading

การค้นหาและเปิดโปงข้อมูลลับของรัฐบาลนั้นเป็นงานที่อันตรายมาก บรรดานักแฉล้วนต้องเสี่ยงชีวิตและเสรีภาพในการนำความลับเหล่านี้ออกมาเปิดเผย ขณะที่พวกองค์กรข่าวที่เปิดเผยข้อมูลรัฐก็มักถูกข่มขู่และตำหนิ แต่สำหรับนักข่าวออสเตรเลีย พวกเขาพบวิธีที่ง่ายมาก นั่นคือการคุ้ยมาจากร้านขายของมือสอง การเข้าถึงข้อมูลลับจำนวนมหาศาล ที่เป็นเอกสารลับหลายร้อยหน้าครั้งนี้ ถูกพบโดยสถานีโทรทัศน์ ABC ด้วยการเจอมาจากในตู้เก็บเอกสารเหล่านี้ ที่ร้านขายเฟอร์นิเจอร์มือสอง เอกสารพวกนี้ถูกพบอยู่ในตู้ 2 ใบ ถูกขายอยู่ที่ร้านเฟอร์นิเจอร์มือสองในแคนเบอร์รา และสามารถซื้อได้ในราคาถูกระดับเศษเงิน เพราะกุญแจไขล็อคของตู้มันหายไป หาไม่เจอแล้ว แอชลิน แมคกี กับไมเคิล แมคคินนอน สองนักข่าวของเอบีซีบอกว่า ตู้พวกนี้ถูกวางไว้โดยไม่มีใครเปิดมาตั้งหลายเดือน จนกระทั่งมีคนเจาะล็อคของตู้ เอกสารเหล่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นการทำงานภายในของหน่วยงานรัฐ 5 แห่ง น่าจะถูกเก็บไว้นานราว 20 ปีแล้ว ในขณะที่ชาวออสเตรเลียพากันฮากับข่าวนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลออสเตรเลียกลับพากันไม่พอใจอย่างมากสำหรับการรั่วไหลของเอกสารลับ สำนักนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้ประกาศให้มีการสืบสวนเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน เนื่องจากข้อมูลเอกสารทั้งหมดถือเป็นความลับ บางเรื่องถึงขั้น “ลับสุดยอด” หรือที่เรียกกันว่า AUSTEO ซึ่งหมายความว่าเป็นเรื่องที่มีแต่คนออสเตรเลียเท่านั้นที่จะได้เห็น ———————————————————— ที่มา : MGR Online / 31 ม.ค. 2561 Link : https://mgronline.com/around/detail/9610000010363

“สโนว์เดน” โชว์แอปใหม่เปลี่ยนสมาร์ทโฟนเป็นกล้องวงจรปิด ป้องกันภัยสอดแนม

Loading

เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) อดีตเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯหรือ NSA ที่กลายเป็นผู้เปิดโปงภารกิจลับสุดยอดของ NSA จนโด่งดังทั่วโลก ประกาศเปิดตัวแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟนใหม่ชื่อ “แฮเวน” (Haven) จุดเด่น คือ การเปลี่ยนสมาร์ทโฟนให้เป็นกล้องวงจรปิดพกพาที่สามารถป้องกันการถูกสอดแนม เบื้องต้น Haven พร้อมเปิดให้ทุกคนทดลองใช้ฟรี โดยเฉพาะนักข่าวที่อาจถูกผู้มีอิทธิพลคุกคามEdward Snowden นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะจอมแฉที่เปิดเผยโครงการสอดแนมของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา สิ่งที่ Snowden กำลังทำในขณะนี้ คือ การพัฒนาตัวช่วยให้ประชาชนทั่วโลกรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชันชื่อ Haven ซึ่ง Snowden การันตีว่าสามารถเปลี่ยนโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ให้เป็นระบบป้องกันการสอดแนมแบบออลอินวันครบวงจรSnowden บอกเล่าถึงแอปพลิเคชันนี้โดยเปรียบเทียบกับสุนัขเฝ้ายาม ที่เจ้าของสามารถพาสุนัขแสนซื่อสัตย์ไปที่ห้องในโรงแรม แล้ววางสุนัขทิ้งไว้ในห้องได้แม้เจ้าของจะไม่อยู่ในห้องแล้ว จุดนี้ Snowden ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไวรด์ (Wired) ในรายงานที่เผยแพร่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า แอปพลิเคชันนี้จะไม่ต่างจากเจ้าหมาแสนรู้ที่สามารถเป็นพยานบอกเล่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อเจ้าของไม่อยู่ แนวคิดของแอปพลิเคชัน Haven นั้น เรียบง่าย ผู้ใช้ต้องติดตั้งแอปพลิเคชันไว้ที่สมาร์ทโฟนที่ควรเป็นโทรศัพท์ราคาไม่แพง ซึ่งผู้ใช้สามารถวางทิ้งไว้ไกลตัวได้ จากนั้น ก็วางโทรศัพท์ไว้ในที่ที่ผู้ใช้ต้องการระวังการถูกสอดแนมวิธีนี้จะทำให้ผู้ใช้ที่อาจอยู่ในห้องพักที่โรงแรมในฮ่องกง แล้วกังวลว่า ผู้มีอิทธิพลบางรายกำลังพยายามสอดแนมติดตามพฤติกรรม สามารถติดตั้ง Haven…

ศาลสหรัฐแฉ ‘อูเบอร์’ ตั้งทีมเฉพาะกิจล้วงตับข้อมูลคู่แข่ง

Loading

REUTERS : The letter emerged during Uber’s legal battle with Waymo           16 ธ.ค. 2560 สำนักข่าว BBC ของอังกฤษ รายงานว่า ศาลสหรัฐอเมริกา แถลงเมื่อศุกร์ที่ 15 ธ.ค.60 ตามเวลาท้องถิ่นว่า “อูเบอร์” (UBER) บริษัทให้บริการรถรับจ้างรายใหญ่ มีการจัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจสำหรับขโมยข้อมูลลับของคู่แข่งรายอื่นๆ รวมถึงป้องกันการถูกขโมยความลับของบริษัทตน หลังมีคดีพิพาทกันระหว่างอูเบอร์กับ Waymo บริษัทผลิตรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งทาง Waymo กล่าวหาว่าอูเบอร์ขโมยข้อมูลเทคโนโลยีของบริษัทตน           เรื่องราวดังกล่าวถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อมีเอกสารที่ถูกส่งจากทนายความของอดีตพนักงานอูเบอร์ ทำให้เกิดการตรวจสอบบริษัทในเดือน พ.ค. 2560 อย่างไรก็ตามเอกสารดังกล่าว ยังไม่ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะจนปัจจุบัน ขณะที่ทางอูเบอร์ ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า อูเบอร์มีความชัดเจนในการแข่งขันอย่างสุจริตและเป็นธรรม บนความแข็งแกร่งของแนวคิดและเทคโนโลยีของตนเอง โดยผู้เปิดประเด็นอื้อฉาวดังกล่าวคือ Richard Jacobs ที่ลาออกจากอูเบอร์ไปเมื่อสิ้นเดือน…

Skype ถูกศาลเบลเยียมปรับ 1.2 ล้านบาท ฐานไม่ยอมส่งข้อมูลสนทนาของผู้ใช้งานให้

Loading

เป็นอีกประเด็นของเรื่องราวด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยในครั้งนี้ศาลเบลเยียมได้สั่งปรับ Skype เป็นเงิน 35,000 เหรียญหรือราวๆ 1.22 ล้านบาท เนื่องจากทาง Microsoft Skype ไม่ยอมส่งมอบข้อมูลบทสนทนาของผู้ใช้งานให้ตามที่ร้องขอ คดีนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2012 ที่เจ้าหน้าที่รัฐของเบลเยียมได้ติดต่อไปยัง Skype เพื่อขอเนื้อหาบทสนทนาของกลุ่มอาชญากรที่พูดคุยกันผ่านทาง Skype เป็นหลัก แต่ทาง Skype นั้นไม่สามารถส่งข้อมูลบทสนทนาใดๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ได้เลย พร้อมชี้แจงว่ากรณีนี้ไม่สามารถเป็นไปได้เลยด้วยเหตุผลทางเทคนิค อย่างไรก็ดี ทาง Skype นั้นยังได้ส่งข้อมูลอื่นๆ เช่น Email Address, User History, Account Detail และ IP Address ให้กับทางหน่วยงานรัฐ ทางการของเบลเยียมนั้นมีข้อกำหนดว่าธุรกิจโทรคมนาคมนั้นจะต้องทำการส่งมอบข้อมูลตามคำสั่งศาลเพื่อการสืบสวน และเมื่อกรณีนี้เกิดขึ้นในเบลเยียม กฎหมายของเบลเยียมจึงถูกบังคับใช้กับ Skype ตามไปด้วย นอกจากประเด็นด้านเทคนิคที่ Skype อ้างว่าทำให้ไม่สามารถส่งมอบข้อมูลให้ได้แล้ว ทาง Skype เองก็ยังมองว่าตนเองไม่ใช่ธุรกิจโทรคมนาคมแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงผู้ให้บริการ Software เท่านั้น กฎหมายข้อนี้จึงไม่ควรถูกนำมาบังคับใช้ แต่ประเด็นนี้ก็ไม่สามารถอ้างได้กับศาลเบลเยียม…