สมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย ประณามการจับกุมผู้วิจารณ์พระองค์บนโลกออนไลน์

Loading

สมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย ทรงกลับมาใช้งานทวิตเตอร์อีกครั้งวานนี้ เพื่อแสดงความผิดหวังต่อการจับกุมผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์พระองค์บนโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องจากการทรงฉายพระรูปพิธีฉลองวันชาติมาเลเซีย เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13 ก.ย.) ตำรวจมาเลเซีย จับกุมนักกิจกรรมในเมืองกลัง (Klang) รัฐสลังงอร์ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทสมเด็จพระราชินี สมเด็จพระราชินีตุนกู ฮายาห์ อซิซาห์ อมีนาห์ ไมมูนาห์ อิสกันดาริยาห์ รายา ประไหมสุหรี อากงแห่งมาเลเซีย ทรงตรัสว่าพระองค์และสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน อับดุลละฮ์ เรียยาตุดดิน อัล-มุซตาฟา บิลละฮ์ ซะฮ์ อิบนี อัล-มาร์ฮุม สุลต่าน ฮาจี อะฮ์มัด ซะฮ์ อัล-มุซตาอิน บิลละฮ์ (สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียพระองค์ที่ 16) ไม่ได้ทรงร้องขอให้ตำรวจดำเนินการจับกุม และพระองค์ทรงเสียพระราชหฤทัยต่อเหตุการณ์นี้ ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในมาเลเซียส่วนหนึ่งโพสต์วิจารณ์ สมเด็จพระราชินีตุนกู ฮายาห์ อซิซาห์ ว่าทรงวางตัวไม่เหมาะสม ในงานฉลองวันชาติมาเลเซียเมื่อวันที่ 31 ส.ค. จากการที่พระองค์ทรงฉายพระรูปพิธีเดินขบวนเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระราชินีทรงตรัสชี้แจงในเวลาต่อมาว่า สมเด็จพระราชาธิบดีทรงแนะให้พระองค์ฉายรูป สมเด็จพระราชินีทรงปิดการใช้งานบัญชีทวิตเตอร์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา และทรงโพสต์ข้อความบนอินสตาแกรมว่า ทรงปิดทวิตเตอร์ด้วยเหตุผลส่วนพระองค์…

แนวทางปฏิบัติการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล

Loading

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 หมวด 4 การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล ข้อ 24 – ข้อ 32 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการสำหรับใช้ปฏิบัติกับผู้ที่อยู่ระหว่างรอว่าจ้าง บรรจุ หรือแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ที่จะได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ หรือให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่สำคัญ หรือทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล (2) รับรองความไว้วางใจบุคคลเพื่อให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ แนวทางปฏิบัติการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2553 โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 1. หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการเอง ดังต่อไปนี้ 1.1 ให้ผู้ถูกตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลกรอกรายละเอียดในแบบประวัติบุคคล (รปภ.1) 1.2 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทำหนังสือถึงหัวหน้าสถานีตำรวจนครบาล หรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรที่ผู้ถูกตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลมีภูมิลำเนาอยู่ เพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือส่งให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบพิมพ์ลายนิ้วมือและประวัติอาชญากร 1.3…

มือดีปาไข่ใส่นายกฯ ออสเตรเลียขณะหาเสียง ผู้สื่อข่าวชี้ ไข่ปลอดภัยดี

Loading

  นายกฯ ออสเตรเลีย ถูกสตรีรายหนึ่งปาไข่ใส่ศีรษะขณะหาเสียง คล้ายคลึงกับเหตุที่เกิดขึ้นก่อนหน้ากับวุฒิสมาชิกรัฐควีนสแลนด์ ซึ่งใช้ไข่ในการแสดงความไม่พอใจทางการเมืองเช่นเดียวกัน ขณะที่สก็อต มอร์ริสัน (Scott Morrison) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียกำลังหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 18 พฤษภาคม อยู่ในงานของสมาคมสตรีชนบทแห่งออสเตรเลีย (Country Women’s Association) ณ เมืองอัลเบอรี (Albury) สาววัย 25 ปีเดินอ้อมไปทางด้านหลังของมอร์ริสัน และโยนไข่ฟองหนึ่งใส่ศีรษะของเขา โดยไข่ฟองนั้นปะทะศีรษะของนายมอร์ริสันและกระเด็นออกมา ทว่าไม่แตก     เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เข้ารวบตัวหญิงสาวทันที โดยในเหตุการณ์นี้มีหญิงชรารายหนึ่งถูกกระแทกล้มลง แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด ก่อนที่มอร์ริสัน จะเข้ามาพยุงหญิงชราลุกขึ้นในภายหลัง “สิ่งที่ผมเป็นห่วงเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันนี้ที่อัลเบอรีคือเรื่องที่สุภาพสตรีสูงวัยถูกกระแทกล้มลง ผมช่วยพยุงเธอขึ้นและสวมกอดเธอ บรรดาชาวไร่ชาวนาทั้งหลายต่างก็ต้องเผชิญกับคนงี่เง่าพวกนี้ที่บุกรุกฟาร์มและบ้านของพวกเขา เราจะต้องยืนหยัดสู้กับนักเลงพวกนี้ ไม่ว่าจะเป็นพวกนักเคลื่อนไหวขี้ขลาดที่ไม่รู้จักเคารพใครเลย หรือจะเป็นกองกำลังสหภาพที่กดขี่ข่มขู่ธุรกิจเล็กๆ และลูกจ้างในพื้นที่ทำงานของพวกเขา” มอร์ริสัน ทวีตในทวิตเตอร์ของเขา   My concern about today’s incident in Albury was for the…