อาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต ก่อต้นทุนทางเศรษฐกิจแค่ไหน

Loading

  เมื่อหลายองค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์ และการที่หน่วยงานรัฐถูกจารกรรมข้อมูลบ่อยครั้ง สะท้อนปัญหาอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อเราทุกคน ไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าวหลายองค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายล้านคนที่มาไทยรั่วไหล (22 ก.ย. 2564) ฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขถูกเจาะ ทำให้ข้อมูลคนไข้นับหมื่นคนถูกขโมยไป (7 ก.ย. 2564) การที่หน่วยงานรัฐถูกจารกรรมข้อมูลบ่อยครั้ง สะท้อนปัญหาอาชญากรรมบนอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น อันตรายต่อเราทุกคน Cybercrime Magazine ประเมินว่า ในปี 2021 ความเสียหายจากอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลกสูงถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าเทียบความเสียหายคิดเป็นขนาดของ GDP พบว่าเป็นรอง GDP ของประเทศสหรัฐอเมริกาและจีนเท่านั้น ขณะที่ PurpleSec LLC ระบุว่าตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จำนวนอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า   อาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยของหน่วยงานและบุคคล เรื่องการเงิน เรื่องคุ้มครองข้อมูล ภาพโป๊เปลือย ฯลฯ จากข้อมูลของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีระบุว่า อาชญากรรมที่พบบ่อยบนอินเทอร์เน็ตมี 8 ประเภท ได้แก่ 1. ด้านการเงิน เช่น…

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แถลงเคสปิดล้อม “ฮูแตยือลอ” อ.บาเจาะ

Loading

  นราธิวาส-กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แถลงเคสปิดล้อม “ฮูแตยือลอ” อ.บาเจาะ วิสามัญ ผกร.ดับ 4 ราย   เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (4 ต.ค. 2564) พันเอกเกียรติศักดิ์ ณีวงษ์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แถลงความคืบหน้าเหตุการณ์เจ้าหน้าที่สนธิกำลังเข้าบังคับใช้กฎหมายต่อกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่หลบซ่อนอยู่ในพื้นที่ป่าพรุ บริเวณ ม.6 บ้านฮูแตยือลอ ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส หลังจากเมื่อวานนี้ (3 ต.ค.2564) คนร้ายได้ยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อพยายามเปิดทางหลบหนีออกจากวงล้อม จนเกิดการปะทะกันขึ้น ทำให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงเสียชีวิต จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย 1.นายบารูวัน กือจิ มีหมายจับ ป.วิอาญา จำนวน 2 หมาย กรณียิงนายมูฮำมัดซับรี สาและ อส.อ.บาเจาะ เสียชีวิต เมื่อ 10 มี.ค.2564 และกรณีใช้อาวุธปืนยิงเข้าใส่จุดตรวจด้านข้าง…

QR Code อาจไม่ปลอดภัย พบถูกใช้เป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์

Loading

  ในงานประชุมสัมนาของ TNW Conference 2021 Anna Chung นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ Palo Alto Networks ได้เปิดเผยเทรนด์รูปแบบการโจมตีใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงของการระบาดโควิด19 ที่ผ่านมา มีการใช้รหัส QR เป็นเครื่องมือสำคัญในการลดการสัมผัสและใช้เข้าถึงข้อมูลการติดต่อที่สำคัญตลอดการระบาดใหญ่ ทำให้สามารถแบ่งปันข้อมูลได้อย่างสะดวกและไม่ต้องสัมผัส แต่ QR Code ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ปลอดภัย เพราะมันได้เปิดกว้างสำหรับการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้โจมตีทางไซเบอร์ Quick response หรือ QR codes สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่นการย่อ URL ซึ่งให้เราเข้าถึงข้อมูลเช่นเว็บไซต์และข้อมูลติดต่อได้ทันที และยังสามารถอนุญาตให้ผู้อื่นลงชื่อเข้าใช้เครือข่าย Wi-Fi โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน แต่หลายคนคิดก่อนจะสแกนหรือไม่ ? เปล่าเลย เพราะทุกคนคิดว่ามันปลอดภัย   ในความเป็นจริงแล้ว เทคโนโลยีรหัส QR นั้นมีความปลอดภัยในตัวเอง แต่เมื่อการพึ่งพาอาศัยกันเพิ่มมากขึ้น และถูกนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ อาชญากรไซเบอร์ก็ให้ความสนใจครับ โดยรหัสเหล่านี้อาจเป็นทางเข้าสู่การโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผู้ใช้จะไม่ได้เห็นหน้าเว็บ หน้าแอปพลิเคชัน ฯลฯ ที่อยู่เบื้องหลังรหัส QR แต่เมื่อเราสแกน มันจะพาไปยังหน้าเว็บ…

ระบบเครือข่ายของ Johnson Memorial Health ล่ม หลังถูกโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  เครือโรงพยาบาล Johnson Memorial Health รัฐอินดิแอนาของสหรัฐอเมริกา แถลงว่าได้ตกเป็นเหยื่อการโจมตีทางไซเบอร์ที่ทำให้ระบบเครือข่ายสารสนเทศล่มทั้งระบบ แต่ยืนยันเพิ่มเติมว่าระบบการให้บริการส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และแจ้งให้คนไข้อย่าเพิ่งยกเลิกนัดพบแพทย์ เว้นแต่จะมีการติดต่อจากโรงพยายาล “เรากำลังทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างใกล้ชิดเพื่อสืบสวนการโจมตีที่เกิดขึ้นและคืนสภาพระบบคอมพิวเตอร์ให้กลับไปอยู่ในสภาวะปกติโดยเร็วที่สุด” Johnson Memorial Health ระบุในคำแถลง ทั้งนี้ Johnson Memorial Health ไม่ได้เป็นผู้บริการทางการแพทย์รายแรกที่ประสบกับเหตุฉุกเฉินทางไซเบอร์ ก่อนหน้านี้ ในเดือนกันยายน Eskenazi Health ผู้ให้บริการทางการแพทย์อีกรายในรัฐเดียวกัน ก็เพิ่งถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โดยทาง Eskenazi แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (1 ตุลาคม) ว่ามีการนำข้อมูลทางการแพทย์ของบุคลากรและคนไข้ที่ขโมยไป อาทิ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการวินิจฉัยโรค และใบสั่งยา ปล่อยลงบนดาร์กเว็บ ที่มา Indystar   —————————————————————————————————————————— ที่มา : Beartai       / วันที่เผยแพร่   3 ต.ค.2564 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/801974

KY ICT เผยโฉม “SOC” ศูนย์สั่งการความปลอดภัยอัจฉริยะใหญ่ที่สุดในไทย อีกหนึ่งเทคโนโลยีสุดล้ำแห่งยุคที่จะพลิกโฉมประเทศสู่ Better Thailand

Loading

  ห้องปฏิบัติการที่เต็มไปด้วยจอมอนิเตอร์เรียงราย พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ และเทคโนโลยีสุดล้ำที่ปรากฏตามภาพยนตร์สืบสวนหรือหนัง Sci-fi กลายเป็นภาพจดจำในฐานะ “ผู้ช่วยชีวิต” ที่ลงมือได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีใครสักคนตกอยู่ในอันตราย คงจะดีไม่น้อยหากเทคโนโลยีและทีมปฏิบัติการเหล่านั้นสามารถเฝ้าระวังและช่วยแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตจริง เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางยุคแห่งความไม่มั่นคงปลอดภัย (Insecurity Era) เช่นนี้     ขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY ผู้นำด้านการพัฒนานวัตกรรม การให้บริการ Digital Platform และ AI Solutions ระดับประเทศ เล่าว่า นับตั้งแต่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาด้านความปลอดภัย ช่วยยืนยันอัตลักษณ์บุคคล และวิเคราะห์ความผิดปกติจากสภาพแวดล้อมหรือระบบการทำงานต่างๆ ได้แม่นยำและหลากหลายรูปแบบมากขึ้น   ทำให้เหล่าประเทศพัฒนาแล้วต่างนำ Security Tech มาใช้อย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ระดับอุตสาหกรรมไปจนถึงการใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมด้านความปลอดภัยมาตลอด 5 ปี บริษัทเห็นแนวโน้มดังกล่าวจึงได้พัฒนาศูนย์สั่งการอัจฉริยะด้านความปลอดภัย (Security Operation Center) หรือ SOC…

จีนสั่งเพิ่ม ‘ความปลอดภัย’ ในรพ. ห้ามจ้างรปภ.น้อยกว่า 3% ของจนท.

Loading

  ปักกิ่ง, 30 ก.ย. (ซินหัว) — คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน (NHC) ศาลประชาชนสูงสุดจีน (SPC) สำนักงานอัยการประชาชนสูงสุดจีน (SPP) และกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีน เผยแพร่คำสั่งว่าด้วยการเสริมสร้างความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ คำสั่งดังกล่าว มุ่งเน้นการปกป้องความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย และกระตุ้นให้สถาบันทางการแพทย์ติดตั้งระบบควบคุมความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานมากขึ้น โรงพยาบาลควรจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของบุคลากรทางการแพทย์ที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ หรือร้อยละ 0.3 ของจำนวนผู้ป่วยนอกรายวัน รวมถึงสร้างเครือข่ายรักษาความปลอดภัยแบบบูรณาการ อันประกอบด้วยการแจ้งเตือนการบุกรุก ระบบกล้องวงจรปิด ระบบควบคุมทางเข้า-ออก และระบบตรวจสอบไฟฟ้า นอกจากนั้น คำสั่งยังกระตุ้นให้สถาบันการแพทย์ปรับปรุงศักยภาพการให้บริการของตนเอง และเพิ่มความสามารถในการสื่อสารกับผู้ป่วยและการรับมือกับข้อพิพาท รวมถึงวางข้อกำหนดด้านการประสานงานระหว่างสถาบันการแพทย์และหน่วยงานความปลอดภัยสาธารณะที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น   ——————————————————————————————————————————————- ที่มา : ซินหัวไทย    / วันที่เผยแพร่  30 ก.ย.2564 Link : https://www.xinhuathai.com/china/232925_20210930