ระทึก!!โบอิ้ง767ไฟลุกไหม้เครื่องยนต์กลางอากาศ ต้องลงจอดฉุกเฉินที่เซเนกัล

Loading

รอยเตอร์ – เครื่องบินของสายการบินเอธิโอเปีย แอร์ไลน์ส ต้องลงจอดฉุกเฉินไม่กี่นาทีหลังเทคออฟขึ้นจากเซเนกัลในวันอังคาร(8ต.ค.) หลังเกิดไฟลุกไหม้เครื่องยนต์ อย่างไรก็ตาม ทิเดยเน ทัมบา โฆษกของสายการบินเอธิโอเปีย แอร์ไลน์ส ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่าผู้โดยสารทั้ง 90 คนและลูกเรือ ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์นี้ สายการบินเอธิโอเปีย แอร์ไลน์ส ยืนยันผ่านทวิตเตอร์ว่าเครื่องบินโบอื้ง 767 จำเป็นต้องลงจอดอย่างไม่ได้คาดหมายที่ท่าอากาศยานนานาชาติแบลซ ดียาญ ของเซเนกัล ใกล้ๆกับกรุงดาการ์ สืบเนื่องจาก “ปัญหาทางเทคนิค” อย่างไรก็ตามทางสายการบินไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นตอของปัญหา เพียงแต่บอกว่าพวกผู้โดยสารทุกคนได้รับการเปลี่ยนเที่ยวบินไปยังเที่ยวบินลำอื่นแล้ว ภาพถ่ายที่โพสต์ลงบนบัญชีทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการของสนามบิน พบเห็นเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและเจ้าหน้าที่สนามบินยืนอยู่ข้างๆเครื่องยนต์ของเครื่องบินที่อยู่ในสภาพไหม้เกรียม พร้อมกับมีโฟมดับเพลิงกระจายอยู่บนพื้นทั่วบริเวณ เมื่อ 7 เดือนก่อน เที่ยวบิน 302 ของสายการบินเอธิโอเปีย แอร์ไลน์ส จมูกปักพื้นโหม่งโลกบริเวณผืนไร่แห่งหนึ่งรอบนอกกรุงแอดดิสอาบาบา คร่าชีวิตยกลำ 157 ศพ ไม่กี่นาทีหลังเทคออฟ เหตุการณ์ดังกล่าวกระพือข้อถกเถียงระดับโลกในประเด็นความปลอดภัยของเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 737 แม็กซ์ ซึ่งเพิ่งประสบอุบัติเหตุโหม่งโลกแบบเดียวกันในอินโดนีเซียไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น รายงานเบื้องต้นของทั้งสองกรณีเน้นย้ำเกี่ยวกับบทบาทของระบบอัตโนมัติหนึ่งที่ทำงานผิดพลาดบังคับให้เครื่องดิ่งลงพื้น แม้ว่านักบินจะพยายามปลุกปล้ำเพื่อเอาชนะระบบควบคุมการบินดังกล่าวก็ตาม ทั้งนี้อุบัติเหตุทั้งสองเหตุการณ์ ได้คร่าชีวิตรวมกัน 346 ศพ ————————————————————- ที่มา :…

สุดยอด!…ระบบป้องกันภัยซาอุฯ ถูกทำลายด้วยโดรนราคาถูก

Loading

การโจมตีโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง ในซาอุดิอาระเบีย แสดงให้เห็นว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศถูกทำลายอย่างง่ายดายโดยเทคโนโลยีราคาถูก และไม่สามารถป้องกันได้ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นขีปนาวุธหรือเครื่องบินขับไล่อย่าง F-15 ซาอุดิอาระเบีย ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อปีที่แล้วเพิ่งซื้ออาวุธไป 65,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีสหรัฐฯ เป็นคู่ค้ารายใหญ่ มีระบบป้องกันภัยทางอากาศ ที่รวมถึงเรดาร์ เครื่องบินขับไล่หลายรุ่น เช่น F-15 และขีปนาวุธที่สามารถสกัดขีปนาวุธที่ถูกยิงมาจากดินแดนของศัตรูได้อย่างแม่นยำ แต่เมื่อวันเสาร์ โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทอารัมโก 2 แห่ง กลับถูกโจมตีด้วยฝูงโดรนของกลุ่มกบฎฮูตี ที่เป็นกองกำลังกลุ่มเล็กๆ ทำให้ต้องระงับการผลิตน้ำมัน 5.7 ล้านบาร์เรล/วัน ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า กลุ่มฮูตีเจาะช่องโหว่ระบบป้องกันภัยทางอากาศ และยังใช้เทคโนโลยีราคาถูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยโดรนเพียง 10 ลำ นี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะฮูตีเคยใช้โดรนแทรกซึมน่านฟ้าซาอุฯและถ่ายรูปโรงงานผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล และโจมตีท่อส่งน้ำมันไปยังทะเลแดงด้วย ส่วนโดรนที่ใช้น่าจะเป็น “แซมแม้ด ทรี” ที่สามารถบรรทุกระเบิดและเล่นงานเป้าหมายที่อยู่ไกลถึง 1,500 ก.ม. ———————————————————————- ที่มา : Nation TV / 17 กันยายน 2562 Link…

อังกฤษห้ามผู้เข้าสอบใส่นาฬิกาทุกชนิดเพื่อป้องกันการทุจริต

Loading

เป็นเรื่องยากสำหรับผู้คุมสอบที่จะแยกระหว่างนาฬิกาธรรมดาทั่วไปกับนาฬิกาอัจฉริยะหรือสมาร์ทวอทช์ (Smart Watch) หรือแม้แต่ให้ผู้คุมสอบตรวจนาฬิกาผู้เข้าสอบทุกคน สหราชอาณาจักรจึงพิจารณาห้ามใส่นาฬิกาทุกชนิดเข้าห้องสอบเพื่อป้องกันการทุจริต คณะกรรมการอิสระด้านการทุจริตการสอบ (The Independent Commission on Examination Malpractice) รายงานว่า มีการทุจริตการสอบอยู่ในระดับต่ำมาก แต่ถึงกระนั้นการห้ามใส่นาฬิกาทุกประเภท รวมถึงอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้นั้น จะช่วยลดความเป็นไปได้ที่ผู้สอบจะเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตในช่วงสอบได้ แนวคิดนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่แต่อย่างใด โรงเรียนบางแห่งในสหรัฐอเมริกาก็ได้สั่งห้ามนำนาฬิกาข้อมือเข้าห้องสอบมาแล้ว แต่นี่เป็นคำแนะนำจากหน่วยงานควบคุมการวัดคุณสมบัติและการสอบ (The Office of Qualifications and Examinations Regulation หรือ Ofqual) ที่กำกับดูแลทุกโรงเรียนในสหราชอาณาจักร ซึ่งคาดว่าจะบังคับใช้กฎเรื่องการห้ามใส่นาฬิกาเข้าสอบในทุกการจัดสอบภายในฤดูร้อนปีหน้า ปัญหาส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์ หลายปีก่อนเคยมีนักเรียนแอบใส่นาฬิกาที่เป็นเครื่องคิดเลขเข้าสอบ แต่หน้าตาอุปกรณ์นั้นดูแยกแยะได้ชัดเจนจากนาฬิกาทั่วไป ซึ่งต่างจากสมาร์ทวอทช์ในปัจจุบันนี้ แน่นอนว่านาฬิกาไม่ใช่วิธีเดียวที่ใช้ในการทุจริต ทางคณะกรรมาธิการยังเสนอให้คอยตรวจสอบเว็บเถื่อนที่อาจจำหน่ายข้อสอบและคอยตรวจตราห้องน้ำในช่วงสอบเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนไม่ได้ซ่อนโน้ตหรือโทรศัพท์ไว้ ——————————————– ที่มา : ADPT News / 13 กันยายน 2562 Link : https://www.adpt.news/2019/09/13/uk-may-ban-all-watches-during-exams-to-prevent-cheating/

เริ่มวันนี้! ญี่ปุ่นเพิ่มตรวจเข้ม ผู้โดยสารเที่ยวบินในประเทศ รับจัดกีฬารายการใหญ่

Loading

กระทรวงคมนาคมญี่ปุ่น เริ่มต้นมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยอย่างเข้มงวดมากขึ้น ตามสนามบินต่างๆ ทั่วประเทศ ในวันนี้ (13 ก.ย.) ก่อนหน้าที่จะถึงการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ “รักบี้่ เวิลด์ คัพ” ในวันที่ 20 กันยายนนี้ และการแข่งขัน “โตเกียว โอลิมปิก” แลพาราลิมปิก กลางปีหน้า จากเดิมนั้น การตรวจสอบก่อนที่จะขึ้นเครื่องสำหรับผู้โดยสารในเที่ยวบินภายในประเทศ จะทำเฉพาะการตรวจสอบกระเป่าเท่านั้น แต่มาตรการใหม่ที่เริ่มขึ้นในวันนี้ ผู้โดยสารเที่ยวบินภายในประเทศจะต้องถอดเสื้อคลุม หรือเสื้อแจ็คเกตออกมา เพื่อตรวจสอบ เหมือนกับมาตรการตรวจสอบผู้โดยสารในเที่ยวบินระหว่างประเทศ ทั้งในกรณีที่ใส่รองเท้าหุ้มข้อ ก็ต้องถอดออกเพื่อนำมาตรวจสอบเช่นกัน นอกจากนี้ ยังจะดำเนินการสุ่มตรวจร่างกายผู้โดยสารบางคน ซึ่งเป็นกระบวนการใหม่ ที่จะใช้กระดาษแบบพิเศษ สำหรับการตรวจสอบหาร่องรอยวัตถุระเบิดบนตัวผู้โดยสาร ระหว่างวันที่ 13 กันยายน – 5 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลกนั้น ยังมีคำสั่งห้ามโดรนในห้องโดยสารของทุกเที่ยวบินด้วย กระทรวงคมนาคมญี่ปุ่นยังขอให้ผู้โดยสารเดินทางไปถึงสนามบินเร็วกว่าเดิม เพราะมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยนี้ อาจต้องใช้เวลาในการตรวจสอบนานขึ้น ——————————————– ที่มา : THE BANGKOK INSIGHT / 13 กันยายน 2562…

ออสเตรเลียตั้งคณะทำงานปกป้อง “มหาวิทยาลัย” ไม่ให้ถูกต่างชาติแทรกแซง

Loading

เอเอฟพี – ออสเตรเลียพยายามตอบโต้การแทรกแซงจากต่างชาติในมหาวิทยาลัยในประเทศวันนี้ (28) โดยได้ก่อตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อช่วยปกป้องการวิจัยที่อ่อนไหว ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเสรีภาพในการพูด ด้วยความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของจีนเหนือสถาบันศึกษาต่างๆ ในแดนจิงโจ้ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ แดน เตฮาน ประกาศการปรึกษาหารือเพิ่มเติมระหว่างสถาบันศึกษาและเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงหน่วยงานข่าวกรองต่างๆ  กลุ่มๆ นี้จะให้ความสำคัญกับการเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการทำให้แน่ใจว่าการร่วมงานกับบุคคลหรือองค์กรต่างชาติจะไม่ทำลายผลประโยชน์แห่งชาติของออสเตรเลีย  เตฮานเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างความสมดุลระหว่าง “ผลประโยชน์แห่งชาติและเสรีภาพของมหาวิทยาลัยในการทำวิจัยและการร่วมมือที่ขยายขอบเขตความรู้ของเราและนำไปนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต” ความสมดุลดังกล่าวถูกตั้งข้อสงสัยเนื่องจากการแฮก การบริจาคอันเป็นที่ถกเถียง และกรณีการข่มขู่สถาบันศึกษาที่เกี่ยวข้องกับปักกิ่ง การรั่วไหลของข้อมูลที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียเมื่อปีที่แล้วทำให้ข้อมูลอ่อนไหวของพนักงานและนักศึกษาย้อนกลับไป 20 ปีถูกเปิดโปง มหาวิทยาลัยออสเตรเลียหลายแห่งได้รับเงินหลายสิบล้านดอลลาร์จากปักกิ่งเพื่อก่อตั้ง “สถาบันขงจื้อ” ที่หลบเลี่ยงประเด็นต่างๆ ที่สร้างความเสียหายต่อพรรครัฐบาลคอมมิวนิสต์ของจีน มหาวิทยาลัยเหล่านี้คัดค้านเสียงเรียกร้องให้ขึ้นทะเบียนสถาบันขงจื้อภายใต้กฎหมายการแทรกแซงจากต่างชาติฉบับใหม่ ความไม่สงบในฮ่องกงก็ถูกสะท้อนให้เห็นในสถาบันศึกษาหลายแห่งทั่วออสเตรเลีย มีนักศึกษาโปรประชาธิปไตยหลายคนถูกกลุ่มนักศึกษาจีนโปรปักกิ่งข่มขู่ และถูกปล่อยข้อมูลส่วนตัวบนอินเตอร์เน็ต “การทดสอบข้อผูกมัดของเราต่อเสรีภาพในการพูดคือเราจะมีความตั้งใจอดทนต่อการพูดของผู้อื่นหรือไม่ โดยเฉพาะจากกลุ่มคนที่เราไม่เห้นด้วยอย่างที่สุด” เตฮาน กล่าว ——————————————————— ที่มา : MGR Online / 28 สิงหาคม 2562 Link : https://mgronline.com/around/detail/9620000082509