‘ออสซี่’ ทบทวนหน่วยงานข่าวกรองครั้งใหญ่ เพิ่มความแข็งแกร่งสู้อิทธิพลต่างชาติ

Loading

รัฐบาลออสเตรเลียประกาศ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา เริ่มกระบวนการทบทวนหน่วยงานด้านข่าวกรองของประเทศที่ครอบคลุมมากที่สุดในรอบหลายสิบปี ท่ามกลางความห่วงกังวลด้านการก่อการร้าย รวมถึงการแทรกแซงทางการเมืองจากต่างประเทศ รายงานระบุว่า อดีตผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองความมั่นคงแห่งชาติ (เอเอสไอโอ) ของออสเตรเลียจะเป็นประธานในการตรวจสอบที่จะเน้นไปที่การทบทวนการแบ่งปันข้อมูล ทรัพยากร รวมถึงกฎหมาย ที่หน่วยงานข่าวกรองส่วนกลางและท้องถิ่นนั้นใช้ร่วมกัน คริสเตียน พอร์เตอร์ อัยการสูงสุดออสเตรเลียระบุว่า การทบทวนครั้งนี้นับเป็นการทบทวนกฎหมายด้านข่าวกรองครั้งใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 โดยการทบทวนดังกล่าวนั้นมีขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมด้านข่าวกรองในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป และการทบทวนมีความจำเป็นเพื่อทำให้แน่ใจว่าหน่วยงานข่าวกรองมีเครื่องมือและกรอบการทำงานที่จะทำงานให้เป็นไปตามเป้าประสงค์หลักนั่นคือการทำให้ชาวออสเตรเลียปลอดภัย ทั้งนี้การทบทวนดังกล่าวนับเป็นหนึ่งในกระบวนการปฏิรูปกฎหมายจารกรรมและการแทรกแซงจากต่างชาติ ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีก่อนโดยเน้นไปที่ความห่วงกังวลในการแทรกแซงทางการเมืองจากจีน หลังมีรายงานข่าวว่ามหาเศรษฐีชาวจีน ใช้การบริจาคเงินเพื่อเข้าถึงพรรคการเมืองออสเตรเลีย ———————————————————————- ที่มา : MATICHON Online / 30 พฤษภาคม 2561 Link : https://www.matichon.co.th/foreign/news_976991

หวั่นสหรัฐเอาไม่อยู่ ถ้าเกิดสงครามนาทีนี้จะถูกรัสเซีย-จีน สอยเครื่องบินรบได้ง่ายดาย

Loading

เมื่อวันที่ 22 พ.ค. เว็บไซต์นิวสวีก รายงานว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประเมินว่าจากเทคโนโลยีการทหารของรัสเซีย และจีนที่พัฒนามากขึ้นในปัจจุบัน อาจจะทำให้เครื่องบินรบของสหรัฐต้องเจอปัญหาความยุ่งยาก และอาจถูกยิงตกได้ภายในวันแรก หากเกิดสงครามขึ้น ฮีตเธอร์ วิลสัน รัฐมนตรีหญิงแห่งกระทรวงทหารอากาศสหรัฐ รายงานต่อคณะอนุกรรมาธิการวุฒิสภาในเรื่องกลาโหมถึงแผนการยกระดับอัพเกรดเครื่องบินรบของรัสเซีย และจีนที่มีเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นว่าอาจจะสร้างความเสียหายให้กับกองทัพสหรัฐได้ง่ายขึ้น หากสหรัฐไม่เร่งพัฒนาให้ล้ำหน้ากว่า นอกจากนี้นางวิลสันยังพูดถึงเรื่องระบบ JSTARS (ย่อมาจาก Joint Surveillance Target Attack Radar System) ที่ออกแบบมาเพื่อให้ควบคุมและกำหนดทิศทางการบินให้กับหน่วยบินสอดแนมเพื่อหาข้อมูลให้กับทหารภาคพื้น โดยทางกองทัพอาหารเล็งที่จะเปลี่ยนเอาเทคโนโลยี JSTARS ที่ใช้มานานในเครื่องบินสอดแนม 17 ลำออก และจะเอาระบบจัดการการต่อสู้ขั้นสูงเข้ามาแทนที่ ระบบนี้จะผสานทั้งระบบควบคุมโดยมนุษย์ และไร้มนุษย์ อีกทั้งยังทำระดับขึ้นสู่อวกาศเพื่อสอดแนมได้ แต่อนุกรรมาธิการเสนอว่าหากปลดระบบ JSTARS ออก งบประมาณจะถูกลดลงถึงร้อยละ 50 นางวิลสันชี้แจงว่าแม้ว่าทางกองทัพจะอัพเกรดระบบ JSTARS ก็ยังไม่เพียงพอต่อการรับมือรัสเซีย และจีนในแง่การป้องกันประเทศ พร้อมระบุว่าสองประเทศนี้มีระบบขีปนาวุธป้องกันทางอากาศที่มีระยะไกลกว่าระยะของระบบ JSTARS และเครื่องบินของสหรัฐจะถูกยิงตกในวันแรกของสงครามอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ทางกองทัพสหรัฐรู้ดีถึงขีดความสามารถของรัสเซีย และจีน อย่างระบบขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน เอส-400 ที่โจมตีศัตรูในระยะไกลกว่า 400 กิโลเมตร…

สวีเดนแจกแผ่นพับเตรียมตัวรับมือศึกรัสเซีย

Loading

รัฐบาลสวีเดนแจกแผ่นพับแก่ประชาชน แนะแนววิธีรับมือหากเกิดสงคราม ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดทั่วโลกที่บางครั้งสุ่มเสี่ยงต่อการเปิดฉากทำสงคราม ทางการสวีเดนซึ่งขึ้นชื่อว่าเรื่องความสงบและปลอดภัย ได้เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์เลวร้ายด้วยการจัดทำแผ่นพับคู่มือรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินแจกจ่ายพลเมือง 4.8 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ในเว็บไซต์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น แผ่นพับดังกล่าวชื่อว่า “Om krisen eller kriget kommer” หรือ “หากเกิดวิกฤตหรือสงคราม” เนื้อหาจำนวน 20 หน้าเป็นไปตามหลักปฏิบัติของสำนักงานป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนสวีเดน (MBS) โดยให้คำแนะนำวิธีการเตรียมตัวว่าในกล่องฉุกเฉินควรมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง พาสต้า อาหารแห้ง แผ่นแป้งตอติลย่า มันบดสำเร็จรูป ซอสโบโลเนส ส่วนอุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ ได้แก่ กระป๋องมีฝาปิด วิทยุ ทิชชู่เปียก หมายเลขโทรศัพท์สำคัญที่จดลงกระดาษ รวมทั้งให้พกเงินสดแทนบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเครดิต เนื่องจากตู้เอทีเอ็มอาจขัดข้อง นอกจากสงครามแล้ว ในแผ่นพับยังเอ่ยถึงภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยจากการก่อการร้าย แฮกเกอร์ และข่าวปลอม โดยแนะนำวิธีการกรองข่าวเบื้องต้นด้วยการตั้งคำถามง่ายๆ ว่า จุดประสงค์ของข่าวคืออะไร มีแหล่งข่าวจากที่ใด แหล่งข่าวนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ การปัดฝุ่นคู่มือครั้งนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี หลังจากประกาศใช้เวอร์ชั่นแรกในสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงปี 1980 และมีขึ้นท่ามกลางความกังวลต่อสถานการณ์ความมั่นคงในแถบทะเลบอลติก…

ไทยเตรียมใช้ ‘ดิจิทัล ไอดี’ ปลายปี 61 หนุนใช้กับโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ จ่ายผ่านอีมันนี่ อุดช่องฉวยโอกาสทุจริต

Loading

ข่าวเกี่ยวกับการทุจริตเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง จนทำให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ตัดสินใจให้จ่ายเงินผ่านรูปแบบการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้รับบริการหรือระบบอีเพย์เมนต์ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2561 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ แต่ในบางทัศนะกลับมองว่า มาตรการใหม่นี้ช่วยแก้ปัญหาการทุจริตแค่เฉพาะหน้าหรืออาจไม่ได้เลย ดังเช่นกรณีทุจริตกองทุนเงินเสมาพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่มีการนำบัญชีธนาคารของเครือญาติเข้ามารับประโยชน์แทน กรณีเหล่านี้จึงกลายเป็นช่องโหว่ที่ต้องช่วยกันขบคิดหาวิธีรับมือ แน่นอนว่า จำเป็นต้องปรับระบบสวัสดิการให้สอดคล้องและพร้อมรับมือกับโลกสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ‘สุทธิพงษ์ กนกากร’ สมาชิกคณะทำงานด้านเทคนิค National Digital ID อธิบายให้เห็นภาพเป็นฉาก ๆ ในเรื่องการวางระบบป้องกันทุจริตในโครงการเกี่ยวข้องกับสวัสดิการแห่งรัฐ ในเวทีสัมมนา เรื่อง ปรับทิศทางเศรษฐกิจไทยให้พร้อมสู่ยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เขาบอกว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถนำมาปรับใช้กับระบบสวัสดิการแห่งรัฐ 3 รูปแบบ คือ 1. บล็อกเชน (Blockchain) คือ เครือข่ายการเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่ง โดยสามารถป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลและทำให้รู้แม้กระทั่งว่า ใครเขียนข้อมูลอะไรลงไปบ้าง 2.ดิจิทัล ไอดี (Digital ID) คือ ระบบที่ช่วยพิสูจน์ตัวตน 3.เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) คือ การทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งจะมีหรือไม่มีบัญชีธนาคารเลยก็ได้ โดยการนำเทคโนโลยีทั้ง 3 รูปแบบ มาใช้กับระบบสวัสดิการแห่งรัฐนั้น สุทธิพงษ์ อธิบายว่า ส่วนใหญ่ขั้นตอนการคัดกรองผู้มีสิทธิรับประโยชน์…