ย้อนประวัติศาสตร์อาวุธเคมี

Loading

ข่าวการใช้อาวุธเคมีโจมตีพลเรือนผู้บริสุทธิ์ในเมืองดูมาของซีเรีย รวมทั้งข่าวการใช้สารทำลายระบบประสาทหวังลอบสังหารอดีตสายลับรัสเซียในอังกฤษ ทำให้เรื่องอาวุธเคมีกลายเป็นประเด็นที่โลกให้ความสนใจอีกครั้ง บีบีซีขอย้อนรอยประวัติศาสตร์การใช้อาวุธเคมีซึ่งเริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว นายฮามิช เดอ เบรต์ตอง-กอร์ดอง อดีตทหารอังกฤษ และเจ้าหน้าที่หน่วยอาวุธเคมี ชีวภาพ และนิวเคลียร์องค์การนาโต เล่าว่า อาวุธเคมีชนิดแรกของโลกคือ คลอรีน (Chlorine) เป็นสารทําลายระบบทางเดินหายใจ (Choking agent) แม้ในตอนแรกมันจะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำให้เหยื่อพิการมากกว่าทำให้เสียชีวิต แต่ที่ผ่านมาอาวุธชนิดนี้ก็คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก สารคลอรีนถูกใช้ครั้งแรกในสงครามเมืองอีเพรส์ครั้งที่ 2 ในเบลเยียม เมื่อปี 1915 และสร้างความหายนะครั้งใหญ่หลวง เพราะตอนนั้นยังไม่เคยมีการใช้สารคลอรีนเป็นอาวุธทางการทหารมาก่อน แม้จะเป็นสารเคมีพื้นฐานก็ตาม ต่อมาก็มีการใช้แก๊สมัสตาร์ด ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองผิวหนังและเกิดแผลพุพอง (Blister agents) จากนั้นกองทัพนาซีเยอรมนีได้พัฒนาสารทำลายระบบประสาท (Nerve agents) ขึ้น โดยเป็นสารสังเคราะห์จากกรดฟอสฟอริก ซึ่งเป็นสารกำจัดศัตรูพืช และพบว่าสารทาบุน และโซมาน สามารถฆ่าคนได้มีประสิทธิภาพ สารทำลายระบบประสาทถูกใช้อย่างแพร่หลายในสงครามอิหร่าน-อิรัก เมื่อปี 1984-1988 ซึ่งเหตุโจมตีเมืองฮาลับยาในอิรัก เมื่อวันที่ 16 มี.ค.1988 ยังติดอยู่ในความทรงจำของผู้คนจำนวนมาก เพราะมีผู้เสียชีวิตมากถึง 5,000 คนในเหตุโจมตีวันนั้น ปัจจุบันอาวุธเคมีกลายเป็นข่าวครึกโครมอีกครั้ง…

สถานทูตสหรัฐฯ ไล่ออกพนักงานเขมร 32 คน ส่งต่อรูปโป๊ในกรุ๊ปแชท

Loading

รอยเตอร์ – สถานทูตสหรัฐฯ ในกัมพูชาไล่ออกเจ้าหน้าที่ 32 คน หลังทั้งหมดถูกกล่าวหาว่าส่งต่อสื่อลามกอนาจารในกลุ่มสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ ตามการเปิดเผยของแหล่งข่าววันนี้ (13)  แหล่งข่าว 4 คน เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า คลิปวิดีโอและรูปภาพลามกอนาจาร ที่บางส่วนมีผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ปรากฎอยู่ด้วยนั้น ถูกส่งต่อกันในกรุ๊ปแชทบนแอพลิเคชั่น Facebook Messenger  ภรรยาของพนักงานสถานทูตพบเห็นภาพบางส่วนและได้รายงานเรื่องดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่สถานทูต ซึ่งเรื่องราวนี้ถูกส่งต่อไปยังเอฟบีไอ ตามการระบุของแหล่งข่าว “พวกเขาถูกยึดบัตรประจำตัวและโทรศัพท์ของบางคนถูกตรวจสอบ” อดีตพนักงานสถานทูตสหรัฐฯ กล่าวกับรอยเตอร์ แหล่งข่าวยังระบุว่า พนักงานสถานทูต 32 คน ประกอบด้วยชาวกัมพูชาและชาวอเมริกันเชื้อสายกัมพูชา หลายคนเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและบางคนอยู่กองเสมียน ไม่มีนักการทูตอยู่ในกลุ่มนี้  แหล่งข่าวอีก 2 คน ที่ทำงานในสถานทูตยืนยันการไล่ออก การไล่ออกพนักงานเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กัมพูชาและสหรัฐฯ กำลังตึงเครียดจากการวิพากษ์วิจารณ์ของสหรัฐฯ ต่อการปราบปรามผู้เห็นต่างของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน และความไม่พอใจของผู้นำเขมรในสิ่งที่เขากล่าวว่าเป็นความพยายามของสหรัฐฯ ที่จะบ่อนทำลายการปกครองของเขา สหรัฐฯ ปฏิเสธการแทรกแซงการเมืองของกัมพูชา ส่วนรัฐบาลกัมพูชาไม่ได้แสดงความเห็นถึงเรื่องการไล่ออกพนักงานครั้งนี้ กัมพูชามีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการค้าประเวณีเด็ก และชาวต่างชาติหลายคนถูกตัดสินโทษจำคุกจากการล่วงละเมิดเด็กในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การข่มขืนเด็กยังคงเป็นปัญหาร้ายแรงในกัมพูชา ตามการรายงานของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในปี 2559 โฆษกสถานทูตระบุว่าไม่สามารถแสดงความเห็นได้และส่งข้อซักถามไปยังกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเมื่อได้รับการติดต่อจากรอยเตอร์ “บันทึกเหล่านี้เป็นความลับ…

‘เอฟบีไอ’ บุกค้นสำนักงานทนายความ ‘ทรัมป์’ พบหลักฐานจ่ายค่าปิดปากอดีตดาราหนังโป๊

Loading

สำนักงานสอบสวนกลาง หรือ FBI บุกตรวจค้นสำนักงานของทนายส่วนตัวประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และพบหลักฐานการจ่ายเงินค่าปิดปากให้กับอดีตดาราหนังผู้ใหญ่ เพื่อให้เก็บงำความสัมพันธ์ลับกับผู้นำสหรัฐฯ นายสตีเฟน ไรอัน ทนายของนายไมเคิล โคเฮน ทนายส่วนตัวประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยว่า นายโคเฮนให้ความร่วมมือกับทาง FBI ในการมอบเอกสารหลักฐานหลายพันฉบับให้กับทีมสืบสวนกรณีที่รัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ทั้งอีเมลล์ เอกสารทางภาษี และบันทึกทางธุรกิจ แต่ที่น่าสนใจ คือ ทาง FBI ได้บุกยึดหลักฐานการสนทนาระหว่างนายโคเฮน กับประธานาธิบดีทรัมป์ รวมทั้งเอกสารการจ่ายเงินค่าปิดปาก 130,000 ดอลลาร์ให้กับสตอร์มีย์ แดเนียลส์ หรือ สเตฟานี คลิฟฟอร์ด อดีตดาราหนังผู้ใหญ่ เพื่อไม่ให้ปริปากพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเธอและทรัมป์ ก่อนการเลือกตั้งสหรัฐฯ เมื่อ 2 ปีก่อน ทั้งนี้ ทนายของนายไมเคิล โคเฮน การบุกตรวจค้นสำนักงานของนายโคเฮนของ FBI เป็นไปอย่างไม่เหมาะสมและไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด แต่เอกสารดังกล่าวถือเป็นการยืนยันคำพูดของนายโคเฮน แต่หักล้างคำปฏิเสธของประธานาธิบดีทรัมป์ ที่อ้างว่าเขาไม่ทราบเรื่องการจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวมาก่อน ด้านประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ประณามการบุกค้นสำนักงานทนายความส่วนตัวของเขาว่าเป็นสิ่งที่ “น่าอับอาย”…

ใครอยู่เบื้องหลังการโจมตีในยุโรปและอเมริกาเหนือ?

Loading

บีบีซีร่วมกับผู้เชี่ยวชาญการก่อการร้ายและปฏิบัติการของพวกหัวรุนแรงนอกองค์กรรวบรวมและวิเคราะห์เหตุการณ์โจมตีที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตกเพื่อให้เห็นว่ารูปแบบของปฏิบัติการเหล่านี้เป็นอย่างไร ดร.ลอเรนโซ วิดิโน ผู้อำนวยการโครงการศึกษากลุ่มที่มีแนวความคิดสุดโต่งของมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลของบีบีซีชี้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในโลกตะวันตกจากน้ำมือของนักรบจิฮัดในช่วงสามปีที่ผ่านมามีจำนวนรวมกันถึง 420 คนแล้ว ต่อไปนี้เป็นการจำแนกข้อมูลคร่าว ๆ ของรูปแบบการโจมตี ซึ่งมีทั้งสถานที่ อายุของผู้ปฏิบัติการ สถานะคนเข้าเมือง และความเกี่ยวเนื่องกับองค์กร เช่น กลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลาม (ไอเอส) การโจมตีมักจะเกิดขึ้นที่ใด การโจมตีเกิดขึ้น 63 ครั้งในช่วงตั้งแต่เดือน ก.ย.ปี 2014 (หลังคำประกาศแนวทางการต่อสู้ของ “กาหลิบ” โดยไอเอส) มาถึงจนปลายเดือน ส.ค. 2017 ประเทศถูกที่โจมตีก็คือยุโรปเก้าประเทศ ประกอบด้วยสหรัฐและแคนาดา เป้าหมายคือเมืองใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นนครบาร์เซโลนาของสเปน, กรุงลอนดอนและเมืองแมนเชสเตอร์ของอังกฤษ, กรุงปารีสและเมืองนีซของฝรั่งเศส กรุงเบอร์ลินของเยอรมนี กรุงบรัสเซลล์ของเบลเยียม กรุงสตอกโฮล์มของสวีเดน และเมืองออร์แลนโดของสหรัฐฯ การโจมตีเกิดขึ้น 63 ครั้ง ทำให้คน 424 คนเสียชีวิตและทำให้คนมากกว่า 1,800 คนได้รับบาดเจ็บ โดยไม่นับรวมผู้ที่ก่อการที่มักเสียชีวิตในขณะที่โจมตีด้วย การโจมตีในกรุงปารีสเมื่อเดือนพ.ย. 2015 เป็นครั้งร้ายแรงที่สุด มีผู้เสียชีวิตถึง 130 คน…