PDPC ตรวจสอบเชิงรุก 2 เดือน สกัดการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคลกว่า 5,000 เคส

Loading

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เร่งทำงานเชิงรุกตรวจสอบเฝ้าระวังการรั่วไหลและการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนอย่างต่อเนื่อง และมาตรการยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ สกัดการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคลกว่า 5,000 เคส

‘แคสเปอร์สกี้’ แนะยุทธวิธี รับมือหลังถูก ‘ละเมิดข้อมูล’

Loading

    การรั่วไหลของ “ข้อมูลส่วนบุคคล” กลายเป็นปัญหาใหญ่ของทั้งธุรกิจองค์กรและบุคคลทั่วไป ทั้งมีแนวโน้มว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้และต่อๆ ไปในอนาคต   เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ เปิดมุมมองว่า แม้ว่าการละเมิดข้อมูลจะส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลโดยตรง แต่ความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน   ที่ผ่านมา ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมักจะใช้อีเมลแอดเดรสของบริษัทเพื่อลงทะเบียนกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้เมื่อข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น อีเมลแอดเดรส สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ     ข้อมูลดังกล่าวอาจเรียกความสนใจจากอาชญากรไซเบอร์ และจุดชนวนให้เกิดการสนทนาบนเว็บไซต์ดาร์กเน็ตเกี่ยวกับการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร มากกว่านั้นข้อมูลดังกล่าวยังสามารถใช้ทำฟิชชิงและวิศวกรรมสังคมได้อีกด้วย   ไม่ควรไล่ใครออก เมื่อเกิดเหตุ   ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ล้วนต้องมีความเสี่ยง ตั้งแต่บริษัทขนาดเล็กที่สุดที่เก็บสำรองข้อมูลแบบออฟไลน์ไว้ห่างจากสำนักงาน ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่สุดที่ต้องการใช้ชุดโซลูชันการป้องกันขั้นสูง   เนื่องจากค่าเสียหายของการละเมิดข้อมูล ไม่ได้มีเพียงค่าใช้จ่ายในการจัดการกับการกู้คืนหลังการโจมตีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเสียหายต่อชื่อเสียงและการสูญเสียความต่อเนื่องทางธุรกิจ   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้แนะนำรายการตรวจสอบเพื่อให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้เร็วยิ่งขึ้น และเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยด้านไอทีหลังจากเกิดการละเมิดข้อมูล ดังนี้   1. ประเมินสถานการณ์ : ประเมินความเสี่ยงของการละเมิดข้อมูลที่มีต่อลูกค้า การประเมินความเสี่ยงช่วยให้ตัดสินใจขั้นตอนต่อไปและการรายงานการละเมิด หากมีความเสี่ยงสูงจะต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยไม่รีรอ   2. ไม่ไล่…

แนวทางประเมินความเสี่ยงและแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

    พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ มาตรา 37 (4) กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ “แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล” แก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง   นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล   อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย   ตามมาตรา 37 (4) แสดงให้เห็นว่า “การประเมินความเสี่ยงต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล” เป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทราบว่าตนเองนั้นมีหน้าที่ต้องแจ้งหรือไม่ต้องแจ้งเหตุ แก่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ทราบถึงเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้น   ดังนั้น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจึงจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล เมื่อเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้น     คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้กำหนดปัจจัยต่าง ๆ ที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอาจใช้ในการประเมินความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ในประกาศฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลฯ ข้อ 12   โดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล อาจพิจารณาจากปัจจัย ดังต่อไปนี้   (1) ลักษณะและประเภทของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล   (2) ลักษณะหรือประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด   (3) ปริมาณของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด ซึ่งอาจพิจารณาจากจำนวนเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือจำนวนรายการ (records)…