มัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตีโรงพยาบาล: ไซเบอร์ฆ่าคนได้จริง

Loading

    คืนวันที่ 11 กันยายน ของปี 2020 คงเป็นหนึ่งในค่ำคืนอันโศกเศร้ามากที่สุดของครอบครัวของผู้ป่วยวัย 78 ปีรายหนึ่ง ซึ่งป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองที่ต้องมาจบชีวิตลง เนื่องจากไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยดึสเซิลดอร์ฟได้ เพราะระบบขัดข้องจากการมัลแวร์เรียกค่าไถ่     หญิงสูงวัยผู้นี้ต้องไปจบชีวิตบนรถพยาบาลระหว่างเดินทางไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในเมืองวุพเพอร์ทาลที่อยู่ไกลออกไปกว่า 30 กิโลเมตร ทำให้การรักษาล่าช้าไปเป็นชั่วโมง   หากไม่มีแฮกเกอร์หิวเงินที่ปล่อยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เข้าสู่ระบบโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยดึสเซิลดอร์ฟ ผู้ป่วยรายนี้ก็คงได้รับการรักษาจนกลับไปใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวได้อีกครั้ง   แฮกโรงพยาบาลกระทบถึงชีวิตคนไข้   ระบบการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์หลายแห่งหันมาพึ่งพาระบบไอทีเพิ่มมากขึ้น ทั้งระบบคลาวด์ เครือข่ายฐานข้อมูลภายใน ไปจนถึงปัญญาประดิษฐ์ เพื่อยกระดับการทำงาน ลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้เข้ารับการรักษาให้มากขึ้น   แต่ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์ โดยเฉพาะมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่ไม่เฉพาะแต่สร้างความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังสร้างความสูญเสียให้เกิดกับคนไข้ที่มารับการรักษาด้วย   เนื่องจากการโจมตีแต่ละครั้งทำให้โรงพยาบาลต้องหันกลับใช้ระบบการทำงานด้วยมือ กระดาษ และปากกา ทำให้ระบบการทำงานช้าลง และแบกรับภาระคนไข้ไม่ได้เท่าที่เคย   ในกรณีโศกนาฎกรรมที่ดึสเซิลดอร์ฟ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ทำให้โรงพยาบาลรับคนไข้ได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งจากที่เคยรับได้ถึงวันละมากกว่า 1,000 คน และยังไม่สามารถรับคนไข้ใหม่ได้อีกด้วย   บางโรงพยาบาลอย่างในฝรั่งเศส แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นต้องส่งคนไข้ที่อยู่ในการดูแลไปโรงพยาบาลอื่น ๆ…

‘Royal ransomware’ โจมตีระบบไอทีเมืองแดลลัส

Loading

  ในวันนี้ ผมขอหยิบยกข่าวที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐเกี่ยวกับกรณีที่เมืองแดลลัส (Dallas) รัฐเท็กซัส ถูกโจมตีจาก “Royal ransomware” ทำให้ต้องปิดระบบไอทีบางส่วนชั่วคราวเพื่อเป็นการสกัดการแพร่กระจายของการโจมตีในครั้งนี้   อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า เมืองแดลลัส เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของสหรัฐ มีประชากรประมาณ 2.6 ล้านคน ซึ่งจุดนี้เองน่าจะเป็นสาเหตุที่ให้เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์เลือกเมืองแดลลัสเป็นเป้าหมายในการโจมตี   โดยสื่อท้องถิ่นรายงานว่า ระบบการสื่อสารของตำรวจและระบบไอทีของเมืองถูกชัดดาวน์ เนื่องจากมีความสงสัยว่ามีการบุกโจมตีของแรนซัมแวร์   จากสถานการณ์นี้มีผลทำให้เจ้าหน้าที่ของ 911 ต้องจดบันทึกรายงานเหตุต่าง ๆ ที่ประชาชนแจ้งเข้ามาและส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแทนการส่งผ่านระบบสั่งการทางคอมพิวเตอร์โดยตรง และมีการปิดเว็บไซต์ของกรมตำรวจแดลลัสเพื่อความปลอดภัยก่อนกลับมาเปิดใช้งานอีกครั้งในเวลาต่อมา   นายกเทศมนตรีและสภาเทศบาลเมืองได้รับการแจ้งเหตุการณ์การโจมตีตามแผนการตอบสนองภัยคุกคาม (IRP) โดยเครื่องมือตรวจสอบความปลอดภัยของแดลลัสได้แจ้งเตือนไปยังศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย (SOC) ว่ามีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์และได้รับการยืนยันว่าเซิร์ฟเวอร์จำนวนหนึ่งถูกแฮ็กซึ่งส่งผลกระทบต่อฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ  รวมถึงเว็บไซต์กรมตำรวจอีกด้วย   โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งจัดการแยกแรนซัมแวร์เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย เริ่มจากการลบแรนซัมแวร์ออกจากเซิร์ฟเวอร์ที่ติดไวรัสและกู้คืนบริการต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาใช้งานได้อย่างปกติ และในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็เร่งประเมินผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับประชาชน   กล่าวคือ หากประชาชนพบกับปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการสามารถโทรติดต่อ 311 แต่ถ้าเป็นกรณีฉุกเฉินให้โทรติดต่อ 911 และมีผลกระทบกับระบบศาลของเมืองแดลลัสที่ต้องยกเลิกการพิจารณาคดีของคณะลูกขุนเพราะระบบไอทีใช้งานไม่ได้   มีรายงานเกี่ยวกับการออกปฏิบัติการของเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์พบว่า รัฐบาลท้องถิ่นถูกแรนซัมแวร์บุกโจมตีเพิ่มเรื่อย ๆ…

ระบาดหนัก ChatGPT ปลอมบน Facebook หลอกให้ใช้ หวังกระจายมัลแวร์

Loading

    [เตือนภัย] หากกล่าวถึงแชทบอต AI ชื่อดังในตอนนี้ ChatGPT คงมาเป็นอันดับต้น ๆ แต่ด้วยชื่อเสียงนี้เอง ก็เปิดโอกาสให้เหล่าผู้ไม่หวังดีด้วยเช่นกัน ล่าสุดพบบริการ ChatGPT ปลอม ระบาดหนักใน Facebook หลอกให้ใช้เพื่อกระจายมัลแวร์   Meta ออกโรงเตือน พบมัลแวร์กว่า 10 ชนิด อาทิ DuckTail กับ NodeStealer ปลอมเป็นบริการ ChatGPT และเครื่องมือ AI ตัวอื่น ๆ ซึ่งมาในรูปแบบ [ส่วนขยาย] สำหรับติดตั้งในเว็บเบราว์เซอร์ โดยเผยแพร่ผ่านโฆษณา และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ แน่นอนว่ามีของ Facebook ด้วย   Duc H. Nguyen และ Ryan Victory สองวิศวกรด้านความปลอดภัยของ Meta ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้พัฒนามัลแวร์นั้น จะทำการหลอกให้ติดตั้งส่วนขยายในเว็บเบราว์เซอร์ เช่น…

‘จีน’ จี้สหรัฐ หยุดโจมตีทางไซเบอร์รัฐบาลทั่วโลก ตราหน้าเป็น ‘อาณาจักรแฮ็กเกอร์’

Loading

    เมื่อวานนี้ นาง เหมาหนิง โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนได้ออกโรงเรียกร้องให้ทางการสหรัฐหยุดการสอดแนม และโจมตีทางไซเบอร์ไปทั่วโลกที่สหรัฐดำเนินการมาตลอด   โดยท่าทีของจีนครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากที่ศูนย์ตอบโต้ไวรัสคอมพิวเตอร์แห่งชาติจีน และบริษัท อินเตอร์เน็ต ซิเคียวริตี้ 360 ของจีน ได้เผยรายงานระบุว่า สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐ หรือ ซีไอเอ ได้ใช้วิธีการสอดแนม และการโจมตีทางไซเบอร์ต่อรัฐบาล และองค์กรต่าง ๆ ในต่างประเทศ ทั่วโลก พร้อมกับตราหน้าสหรัฐว่าเป็น “อาณาจักรของแฮ็กเกอร์”   ตามรายงานระบุว่า ซีไอเอ ได้โจรกรรมข้อมูลจากรัฐบาล บริษัทเอกชน องค์กร ข้อมูลประชาชนผ่านปฏิบัติการลับนี้ โดยที่ ซีไอเอ เป็นผู้จัดหาการเข้ารหัส และระบบโทรคมนาคมให้กับกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง รวมถึงบริการเชื่อมต่อ และเครื่องมือสื่อสารในเหตุการณ์ชุมนุมและการประท้วงต่างๆ อีกทั้ง ซีไอเอ ยัง มีส่วนร่วมในกิจกรรมจารกรรมอย่างต่อเนื่อง ประชาคมระหว่างประเทศควรระแวดระวังอย่างสูงต่อการเคลื่อนไหวเหล่านี้   นาง เหมาหนิง กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้มีเคสที่สหรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง และเปิดการโจมตีทางไซเบอร์มาแล้วมากมาย ทั้งในจีน และในอีกหลายประเทศทั่วโลก สหรัฐควรจะตระหนักถึงความวิตกของนานาชาติต่อเรื่องนี้…

‘อาชญากรรมไซเบอร์’ ระบาดหนัก ปลุก ’งบฯ ซิเคียวริตี้’ โตสวนศก.โลก

Loading

    ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั้งกับธุรกิจขนาดใหญ่ไล่ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก จึงกลายเป็นภารกิจหลักของผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กร ขณะที่ อาชญากรรมไซเบอร์ใช้เครื่องมือสำเร็จรูปมากขึ้นและผสานการโจมตีหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน   “เพียร์ แซมซัน” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ (CRO) บริษัท Hackuity ตั้งข้อสังเกต พร้อมยกคาดการณ์ ที่ระบุว่าภายในปี 2568 ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลกจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก สูงกว่า 10.5 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อปี 2558   สำหรับปี 2566 นี้ คาดว่า ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลก น่าจะสร้างความเสียหายประมาณ 8 ล้านล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของ Cybersecurity Ventures บริษัทวิจัยทางการตลาดในสหรัฐอเมริกา และยังระบุอีกว่า ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่พบบ่อย เช่น   -การล่อลวงด้วยฟิชชิง (phishing scams)   -มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware)   -มัลแวร์ (malware)   -การละเมิดข้อมูล และเทคนิควิศวกรรมสังคม…

T-Mobile ผู้ให้บริการสัญญาณมือถือเจ้าใหญ่ของสหรัฐฯ ถูกแฮ็ก (อีกแล้ว)

Loading

    T-Mobile หนึ่งในผู้ให้บริการสัญญาณมือถือรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาเผยว่าบริษัทถูกแฮ็กเป็นครั้งที่ 9 ในรอบ 6 ปี   สำหรับครั้งนี้ บริษัทระบุว่าแฮ็กเกอร์อาจสามารถขโมยเลขที่บัญชี เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลการติดต่อ รหัส PIN เลขที่รัฐบาลออกให้ วันเกิด และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ของลูกค้า 836 คน ออกไปได้   โดยได้รีเซตรหัส PIN ของลูกค้าแล้ว และยังเสนอให้บริการเฝ้าระวังและติดตามความเคลื่อนไหวบัญชีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 2 ปี   จากข้อมูลในเอกสารของสำนักงานอัยการรัฐเมน ที่ได้รับการเผยแพร่โดยเว็บไซต์ Bleeping Computer ชี้ว่าการแฮ็กครั้งนี้เริ่มมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์แล้ว บริษัทพบการแฮ็กในวันที่ 27 มีนาคม และสามารถจัดการปัญหาได้ในวันที่ 30 มีนาคม   แต่กว่าจะแจ้งให้ลูกค้ารับรู้ก็ปาเข้าไปวันที่ 28 เมษายนแล้ว   ขณะที่เว็บไซต์ The Verge ชี้ว่านี่เป็นเหตุการณ์แฮ็กครั้งที่ 9 แล้วที่เกิดขึ้นกับ…