‘จีน’ จี้สหรัฐ หยุดโจมตีทางไซเบอร์รัฐบาลทั่วโลก ตราหน้าเป็น ‘อาณาจักรแฮ็กเกอร์’

Loading

    เมื่อวานนี้ นาง เหมาหนิง โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนได้ออกโรงเรียกร้องให้ทางการสหรัฐหยุดการสอดแนม และโจมตีทางไซเบอร์ไปทั่วโลกที่สหรัฐดำเนินการมาตลอด   โดยท่าทีของจีนครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากที่ศูนย์ตอบโต้ไวรัสคอมพิวเตอร์แห่งชาติจีน และบริษัท อินเตอร์เน็ต ซิเคียวริตี้ 360 ของจีน ได้เผยรายงานระบุว่า สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐ หรือ ซีไอเอ ได้ใช้วิธีการสอดแนม และการโจมตีทางไซเบอร์ต่อรัฐบาล และองค์กรต่าง ๆ ในต่างประเทศ ทั่วโลก พร้อมกับตราหน้าสหรัฐว่าเป็น “อาณาจักรของแฮ็กเกอร์”   ตามรายงานระบุว่า ซีไอเอ ได้โจรกรรมข้อมูลจากรัฐบาล บริษัทเอกชน องค์กร ข้อมูลประชาชนผ่านปฏิบัติการลับนี้ โดยที่ ซีไอเอ เป็นผู้จัดหาการเข้ารหัส และระบบโทรคมนาคมให้กับกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง รวมถึงบริการเชื่อมต่อ และเครื่องมือสื่อสารในเหตุการณ์ชุมนุมและการประท้วงต่างๆ อีกทั้ง ซีไอเอ ยัง มีส่วนร่วมในกิจกรรมจารกรรมอย่างต่อเนื่อง ประชาคมระหว่างประเทศควรระแวดระวังอย่างสูงต่อการเคลื่อนไหวเหล่านี้   นาง เหมาหนิง กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้มีเคสที่สหรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง และเปิดการโจมตีทางไซเบอร์มาแล้วมากมาย ทั้งในจีน และในอีกหลายประเทศทั่วโลก สหรัฐควรจะตระหนักถึงความวิตกของนานาชาติต่อเรื่องนี้…

‘อาชญากรรมไซเบอร์’ ระบาดหนัก ปลุก ’งบฯ ซิเคียวริตี้’ โตสวนศก.โลก

Loading

    ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั้งกับธุรกิจขนาดใหญ่ไล่ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก จึงกลายเป็นภารกิจหลักของผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กร ขณะที่ อาชญากรรมไซเบอร์ใช้เครื่องมือสำเร็จรูปมากขึ้นและผสานการโจมตีหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน   “เพียร์ แซมซัน” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ (CRO) บริษัท Hackuity ตั้งข้อสังเกต พร้อมยกคาดการณ์ ที่ระบุว่าภายในปี 2568 ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลกจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก สูงกว่า 10.5 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อปี 2558   สำหรับปี 2566 นี้ คาดว่า ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลก น่าจะสร้างความเสียหายประมาณ 8 ล้านล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของ Cybersecurity Ventures บริษัทวิจัยทางการตลาดในสหรัฐอเมริกา และยังระบุอีกว่า ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่พบบ่อย เช่น   -การล่อลวงด้วยฟิชชิง (phishing scams)   -มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware)   -มัลแวร์ (malware)   -การละเมิดข้อมูล และเทคนิควิศวกรรมสังคม…

T-Mobile ผู้ให้บริการสัญญาณมือถือเจ้าใหญ่ของสหรัฐฯ ถูกแฮ็ก (อีกแล้ว)

Loading

    T-Mobile หนึ่งในผู้ให้บริการสัญญาณมือถือรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาเผยว่าบริษัทถูกแฮ็กเป็นครั้งที่ 9 ในรอบ 6 ปี   สำหรับครั้งนี้ บริษัทระบุว่าแฮ็กเกอร์อาจสามารถขโมยเลขที่บัญชี เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลการติดต่อ รหัส PIN เลขที่รัฐบาลออกให้ วันเกิด และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ของลูกค้า 836 คน ออกไปได้   โดยได้รีเซตรหัส PIN ของลูกค้าแล้ว และยังเสนอให้บริการเฝ้าระวังและติดตามความเคลื่อนไหวบัญชีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 2 ปี   จากข้อมูลในเอกสารของสำนักงานอัยการรัฐเมน ที่ได้รับการเผยแพร่โดยเว็บไซต์ Bleeping Computer ชี้ว่าการแฮ็กครั้งนี้เริ่มมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์แล้ว บริษัทพบการแฮ็กในวันที่ 27 มีนาคม และสามารถจัดการปัญหาได้ในวันที่ 30 มีนาคม   แต่กว่าจะแจ้งให้ลูกค้ารับรู้ก็ปาเข้าไปวันที่ 28 เมษายนแล้ว   ขณะที่เว็บไซต์ The Verge ชี้ว่านี่เป็นเหตุการณ์แฮ็กครั้งที่ 9 แล้วที่เกิดขึ้นกับ…

กลุ่มแฮ็กเกอร์สนับสนุนอาหรับโจมตีเว็บไซต์การท่า

Loading

    เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (26 เมษายน) แฮ็กเกอร์โจมตีเว็บไซต์ของการท่าเรืออิสราเอลด้วยวิธีการ Distributed Denial-of-Service (DDoS) จนล่ม   Anonymous Sudan กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ต่อต้านนโยบายปาเลสไตน์ของอิสราเอลออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตีในครั้งนี้   กลุ่มดังกล่าวยังอ้างว่าได้โจมตีเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข หน่วยข่าวกรองภายในประเทศ (Shin Bet) สำนักงานหลักทรัพย์อิสราเอล และการท่าของเมืองไฮฟา ด้วย   แต่เว็บไซต์เหล่านี้ยังทำงานได้อย่างเป็นปกติอยู่         ที่มา The Jerusalem Post         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                                 …

สรุป อุตสาหกรรม Cybersecurity ฉบับภาษาคน

Loading

  เมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลของคนไทย 55 ล้านบัญชี ถูกแฮก โดยแฮกเกอร์ที่ชื่อ “9Near”   ข้อมูลเหล่านั้นประกอบไปด้วย ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ รวมถึงเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งถ้าข้อมูลจำนวนมากนี้หลุดออกไป ก็ถือเป็นความอันตรายต่อคนไทยทั้งประเทศ และอาจสร้างความเสียหายเป็นหลักพันล้านบาท   หากดูในภาพรวมจะพบว่า ในปีที่ผ่านมา Cyberattack หรือการโจมตีทางไซเบอร์ทั่วโลก มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 350,000 ล้านบาท..   สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้อุตสาหกรรม “Cybersecurity” หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ เติบโตขึ้นเป็นเงาตามตัว   Cyberattack และ Cybersecurity คืออะไร   และมีรูปแบบไหนบ้าง​ ?   ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง   เรามาเริ่มกันที่ Cyberattack หรือ การโจมตีทางไซเบอร์ กันก่อน ภาษาบ้าน ๆ เลยก็คือ โจรที่พยายามจะเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา   โดยทั่วไปแล้วคนเหล่านี้…

ธุรกิจในอาเซียนระวัง !! แคสเปอร์สกี้ชี้ ‘โจมตีออนไลน์พุ่ง 45%

Loading

    ปี 2565 ดูจะเป็นปีที่ยุ่งสุดๆ ของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ ที่มีเป้าหมายโจมตีบริษัทองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) พบการขยายตัวของภัยคุกคามทางเว็บแบบก้าวกระโดดถึง 45%   ภัยคุกคามทางเว็บ หรือภัยคุกคามออนไลน์ หมายถึงความพยายามที่จะดาวน์โหลดอ็อปเจ็กต์อันตรายจากเว็บไซต์ที่ติดเชื้อหรือมีอันตราย ซึ่งจงใจสร้างขึ้นมาโดยยูสเซอร์ที่ประสงค์ร้าย เว็บไซต์ที่ตกอยู่ในอันตรายทั้งหลายประกอบด้วย เว็บไซต์ที่ยูสเซอร์ใส่คอนเท็นท์ลงไปด้วย เช่น ฟอรั่ม และเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ต่างๆ   ภัยคุกคามทางเว็บนั้นเกิดได้เพราะมีช่องโหว่จากทางเอ็นด์ยูสเซอร์ นักพัฒนาเว็บเซอร์วิส ผู้บริหารเว็บเซอร์วิส และตัวเว็บเซอร์วิสเอง ไม่ว่าจะมาจากความจงใจหรือสาเหตุอื่นใด ผลจากภัยคุกคามทางเว็บนั้นก็ส่งผบกระทบอันไม่พึงประสงค์ต่อทั้งตัวบุคคลและองค์กร     ช่วงสูงสุดของโรคระบาดเมื่อปี 2563 นั้น แคสเปอร์สกี้ได้บล็อกการโจมตีผ่านเว็บจำนวน 10,200,817 ครั้งเพื่อไม่ให้กระทบต่อธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาในปี 2564 พบว่า จำนวนการโจมตีเว็บลดลงนิดหน่อยอยู่ที่ 9,180,344 ครั้ง และทะยานเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2565 ที่จำนวน 13,381,164 ครั้ง   ในปี 2565 สิงคโปร์มีตัวเลขการเติบโตของภัยคุกคามทางเว็บที่โจมตีธุรกิจในอัตราก้าวกระโดดสูงที่สุด นับแบบ YOY ยอดรวมของจำนวนภัยคุกคามทางเว็บต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นถึงสามเท่า…