Wired เผยแฮ็กเกอร์รัฐบาลจีนขโมยข้อมูลอาเซียนเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022

Loading

  เว็บไซต์ Wired เผยว่าเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 มีประกาศแจ้งเตือนทางไซเบอร์ที่ระบุว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ที่รับงานจากรัฐบาลจีนเข้าไปขโมยอีเมลกว่า 10,000 ฉบับ รวมถึงข้อมูลละเอียดอ่อนจากประเทศอาเซียน คาดว่าเพื่อหาข้อมูลด้านการเมืองและเศรษฐกิจจากเพื่อนบ้าน   อาเซียน (ASEAN) หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง สมาชิก ได้แก่ ไทย บรูไน กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา สิงคโปร์ และเวียดนาม   การขโมยข้อมูลเป็นไปแบบรายวัน ทุกประเทศในอาเซียนได้รับผลกระทบทั้งหมด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีขนาดรวมกันมากกว่า 30 กิกะไบต์   Wired ชี้ว่าประกาศแจ้งเตือนนี้ถูกส่งไปยังหน่วยงานด้านไซเบอร์ กระทรวงการต่างประเทศ และองค์กรของรัฐในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ   แฮ็กเกอร์ใช้ข้อมูลการล็อกอินในการเจาะ 4 เซิร์ฟเวอร์อีเมล Microsoft Exchange ของอาเซียนที่ใช้โดเมน mail.asean.org และ auto.discover.asean.org…

แฮ็กเกอร์โจมตีเว็บไซต์โรงพยาบาล 9 แห่งในเดนมาร์ก ผู้เชี่ยวชาญเชื่อเป็นกลุ่มสนับสนุนรัสเซีย

Loading

  หน่วยงานด้านสาธารณสุขในภูมิภาคส่วนกลางของเดนมาร์ก (Region Hovedstaden – Region H) เผยว่าการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยวิธี DDoS ทำให้ระบบโครงข่ายของโรงพยาบาล 9 แห่งต้องปิดตัวลงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (26 กุมภาพันธ์)   แต่ทาง Region H ยืนยันว่าคนไข้ที่อยู่ในระบบการรักษาไม่ได้รับผลกระทบต่อชีวิต รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลก็ยังทำงานได้ มีเพียงเว็บไซต์เท่านั้นที่ล่ม โดยได้มีการใช้ระบบโทรศัพท์แทน   กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า Anonymous Sudan ได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในช่องทาง Telegram ของทางกลุ่ม ซึ่งอ้างเหตุผลของการโจมตีว่าเป็นเพราะโรงพยาบาลหลายแห่งในเดนมาร์กเผาคัมภีร์อัลกุรอาน พร้อมเตือนว่าจะมีการโจมตีต่อไปอีก   ทางกลุ่มอ้างว่ามาจากซูดานและมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ใช้ชื่อเดียวกัน แต่นักวิจัยทางไซเบอร์ชี้ว่ากลุ่มที่ก่อเหตุล่าสุดนี้เป็นชาวรัสเซียและมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต รวมทั้งยังน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ Killnet กลุ่มแฮ็กเกอร์สนับสนุนรัสเซียที่กำเนิดขึ้นในช่วงสงครามยูเครน   เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ Anonymous Sudan ออกมาอ้างความรับผิดชอบการโจมตีเว็บไซต์หน่วยข่าวกรองต่างประเทศเยอรมนี และเว็บไซต์ของคณะรัฐมนตรีเยอรมนี ซึ่งในตอนนั้นทางเยอรมนีชี้ว่าการโจมตีไม่ได้เป็นผลนัก   ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่มบริษัทไซเบอร์สวีเดนสามารถปิดเซิร์ฟเวอร์ 61 แห่งที่เป็นของ Anonymous Sudan บนบริการคลาวด์ของ IBM ที่ตั้งอยู่ในเยอรมนีได้เป็นผลสำเร็จ…

พบ Malicious Code เป็นภัยคุกคามไซเบอร์อันดับหนึ่ง แนะรับมือก่อนถูกโจมตี

Loading

    พบ Malicious Code เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์สูงถึง 54% เป็นอันดับหนึ่งในปี 65 พร้อมแนะองค์กร และประชาชนทั่วไปรับมือก่อนถูกโจมตี สร้างความเสียหายมหาศาล   ศูนย์ปฏิบัติการ Cybersecurity Operations Center หรือ CSOC ของ NT cyfence ได้รวบรวมสถิติภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับระบบสารสนเทศในปี 2565 โดยระบุว่า กว่า 54% ของภัยคุกคามทั้งหมด มาจาก 1.Malicious Code ที่เป็นการถูกโจมตีอันดับหนึ่ง   โดยเป็นภัยคุกคามที่เกิดจากโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อส่งให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์กับผู้ใช้งาน หรือระบบ (Malicious Code) เพื่อทำให้เกิดความขัดข้อง หรือเสียหายกับระบบที่โปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ที่มีมัลแวร์ติดตั้งอยู่ โดยปกติมัลแวร์ประเภทนี้ต้องอาศัยผู้ใช้งานเป็นผู้เปิดโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ก่อน จึงจะสามารถติดตั้งตัวเองหรือทำงานได้   เช่น Virus, Worm, Trojan หรือ Spyware ต่างๆ ส่วนช่องทางที่จะทำให้มัลแวร์เข้าสู่ระบบคือ พนักงานในองค์กรขาดความตระหนักด้าน Cybersecurity…

“สงครามลูกผสม” คืออะไร เยือนศูนย์ศึกษาภัยคุกคามโลกยุคใหม่ในฟินแลนด์

Loading

    เหตุระเบิดใต้น้ำปริศนา การโจมตีทางไซเบอร์ของกลุ่มคนนิรนาม และขบวนการบ่อนทำลายประชาธิปไตยในชาติตะวันตกอันแยบยล เหล่านี้ล้วนเป็น “ภัยคุกคามแบบผสมผสาน” (hybrid threats)   บีบีซีได้เยี่ยมชมศูนย์ทำงานที่มีเป้าหมายต่อสู้กับสงครามรูปแบบใหม่นี้ ซึ่งกำลังสร้างความวิตกกังวลให้ชาติสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต และสหภาพยุโรป หรือ อียู ดร.เทยา ทิลลิไคเนน ให้คำนิยามคำว่า “สงครามลูกผสม” (hybrid warfare) เอาไว้ว่า “มันคือการสร้างความวุ่นวายต่อพื้นที่สารสนเทศ มันคือการโจมตีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ”   เธอคือผู้อำนวยการศูนย์เพื่อความเป็นเลิศในการต่อสู้ภัยคุกคามผสมผสานแห่งยุโรป (European Centre of Excellence for Countering Hybrid Threats หรือ Hybrid CoE) ที่ก่อตั้งขึ้นในกรุงเฮลซิงกิ ของฟินแลนด์ เมื่อ 6 ปีก่อน   ดร.ทิลลิไคเนน อธิบายว่า มันคือรูปแบบของภัยคุกคามที่ไม่ชัดเจน ซึ่งประเทศต่าง ๆ มองว่าเป็นภัยที่ยากในการต่อต้าน และการปกป้องตนเอง   แต่ภัยเหล่านี้เป็นอันตรายอย่างแท้จริง   เมื่อเดือน…

Trend Micro พบอาชญากรใช้กลวิธีทำให้เว็บไซต์แฝงมัลแวร์ขึ้นผลค้นหาบน ๆ ของ Google เพื่อโจมตีเป้าหมายในออสเตรเลีย

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญจาก Trend Micro พบว่าอาชญากรไซเบอร์ใช้โปรแกรมเล่นสื่อ VLC ในการปล่อยมัลแวร์ Cobalt Strike เพื่อโจมตีเป้าหมายในออสเตรเลีย   อาชญากรเหล่านี้สร้างเว็บไซต์ปลอมที่ได้รับการออกแบบให้ดูเหมือนกระดานสนทนาที่เผยแพร่เอกสารข้อตกลงเกี่ยวกับบริการสุขภาพในลักษณะไฟล์ ZIP   นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้วิธีการที่เรียกว่า SEO (search engine optimization) poisoning หรือการทำให้เว็บไซต์ปลอมที่สร้างขึ้นไปอยู่ในผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิน โดยเฉพาะ Google ในลำดับบน ๆ ด้วยการใส่ลิงก์เว็บไซต์ปลอมที่ว่านี้ในหน้าเว็บไซต์อื่น ๆ และโพสต์ในโซเชียลมีเดียให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้   อาชญากรกลุ่มนี้ยังได้พยายามทำให้เว็บไซต์ของตัวเองเชื่อมโยงกับคีย์เวิร์ดอย่าง ‘โรงพยาบาล’ ‘สุขภาพ’ และ ‘ข้อตกลง’ จับคู่กับชื่อเมืองต่าง ๆ ในออสเตรเลีย   หากมีเหยื่อหลงไปดาวน์โหลดไฟล์ ZIP บนเว็บไซต์ปลอมดังกล่าวก็จะทำให้ตัว Gootkit Loader เข้าไปทำงานในเครื่องโดยจะปล่อยสคริปต์ PowerShell ที่จะดาวน์โหลดมัลแวร์เพิ่มเติมลงในอุปกรณ์ของเหยื่อ หนึ่งในไฟล์ที่ Gootkit ดาวน์โหลดเข้าไปในเครื่องเป็นไฟล์ VLC media player ซึ่งเมื่อเหยื่อเปิดไฟล์ตัวนี้ขึ้นมา มันจะมองหาไฟล์…

มัลแวร์เล่นใหญ่ ปลอมเป็นโปรแกรมยอดฮิต หลอกคนกดดูลิงก์ปลอม

Loading

  ตอนนี้มีการตรวจพบแคมเปญการโจมตีขนาดใหญ่ที่ใช้ชื่อโดเมนปลอมมากถึง 1,300 โดเมน ซึ่งจะหลอกตัวเองเป็นเว็บไซต์ที่ให้โหลดโปรแกรมยอดนิมยม อย่าง AnyDesk ,MSI Afterburner, 7-ZIP, Blender, Dashlane, Slack, VLC, OBS, Audacity , โปรแกรมขายสกุลเงินดิจิทัล รวมทั้งโปรแกรมอื่น ๆ   สำหรับ AnyDesk เป็นโปรแกรมที่ถูกปลอมโดเมนเนมเยอะมากที่สุด เป็นโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นจากระยะไกลที่นิยมใช้ใน Windows, Linux และ macOS ซึ่งใช้โดยผู้คนนับล้านทั่วโลกและส่วนใหญ่จะเป็นแผนกไอทีของแต่ละบริษัทครับ   เมื่อดาวน์โหลดไปติดตั้งในเครื่อง แทนที่จะเป็นโปรแกรมที่เราโหลดมา จะเป็นการติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องแทน จากนั้นมัลแวร์จะทำการขโมยประวัติเบราว์เซอร์ของเหยื่อ ขโมยข้อมูลประจำตัวของบัญชี รหัสผ่านที่บันทึกไว้ ข้อมูลกระเป๋าเงินดิจิตอล ข้อมูลธนาคาร และข้อมูลสำคัญอื่นๆ จากนั้นข้อมูลนี้จะถูกส่งกลับไปยังแฮกเกอร์ ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลนี้ไปใช้สร้างแคมเปญการโจมตีอื่น ๆ หรือขายในตลาดมืดครับ   จริง ๆ มีหลายโดเมนที่ถูกปิดไปแล้ว แต่บางโดเมนยังเปิดใช้งานอยู่ เช่นโปรแกรม Audacity ซึ่งยังมีลิงก์ปลอมให้โหลด แถมยังซื้อโฆษณา Google Ads…