แฮ็กเกอร์รัสเซียโจมตีทางไซเบอร์ต่อโรมาเนีย พันธมิตรสำคัญของยูเครน

Loading

  เว็บไซต์ของรัฐบาลและองค์กรอื่น ๆ ในโรมาเนียตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซเบอร์ โดยหน่วยข่าวกรองของประเทศเชื่อว่าการโจมตีดังกล่าวเป็นฝีมือของกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่สนับสนุนรัฐบาลรัสเซีย   กลุ่มแฮ็กเกอร์มีชื่อว่า Killnet ซึ่งได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยวิธีการแบบ DDoS (Distributed Denial-of-Service) หรือการป้อนข้อมูลจำนวนมหาศาลไปยังเซิร์ฟเวอร์หรือโดเมนเป้าหมายให้ล่มจนใช้การไม่ได้   เว็บไซต์ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ เว็บไซต์ของกระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจชายแดน บริษัทระบบราง CFR Calatori และสถาบันทางการเงินแห่งหนึ่งที่ไม่ได้รับการเปิดเผยชื่อ ส่งผลให้เว็บไซต์เหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง   ก่อนหน้านี้ Killnet ได้เคยโจมตีองค์กรของประเทศที่เป็นปรปักษ์กับรัสเซีย อาทิ สหรัฐอเมริกา เอสโตเนีย โปแลนด์ เช็กเกีย และนาโต้ ซึ่งล้วนแล้วแต่ให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ แก่ยูเครนที่กำลังถูกรัสเซียรุกรานอยู่ในขณะนี้   สำหรับโรมาเนีย รัฐบาลและรัฐสภาระบุว่ากำลังพิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือด้านการทหารแก่ยูเครนเพิ่มเติม ซึ่ง นิโกลาเอ ชิวกา (Nicolae Ciucă) นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย มาเซล โชลากู (Marcel Ciolacu) ประธานรัฐสภา เพิ่งได้เดินทางไปยูเครนด้วยตัวเอง โดยทั้งคู่ให้คำมั่นว่าจะช่วยยูเครนในการต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย    …

กองทัพสหรัฐฯ ชม SpaceX รับมือรัสเซียแฮก Starlink ได้อย่างรวดเร็ว

Loading

    C4ISRNet สื่อสำหรับการทหารและงานข่าวกรองยุคใหม่ได้นำเสนอการสนทนาในเรื่อง “Instruments of electronic warfare” หรือเครื่องมือในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยกล่าวถึงการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ของรัสเซียในการโจมตียูเครน ซึ่ง เดฟ เทรมเปอร์ (Dave Tremper) ผู้อำนวยการฝ่ายสงครามอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้กล่าวชมสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ที่สามารถปกป้องบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมสตาร์ลิงก์ (Starlink) จากการแฮกและโจมตีของรัสเซียได้อย่างรวดเร็ว   นาทาน สเตราต์ (Nathan Strout) พิธีกรของ C4ISRNet ได้สนทนาผ่านวิดีโอทางไกลกับ พลจัตวา แทด คลาร์ก (Brig. Gen. Tad Clark) ผู้อำนวยการฝ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำนักงานใหญ่กองทัพอากาศสหรัฐฯ และ เดฟ เทรมเปอร์ โดยพูดคุยกันถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ในการบุกยูเครนของรัสเซีย   ในการสนทนา เทรมเปอร์ ได้กล่าวชมทีมวิศวกรของสเปซเอ็กซ์ที่สามารถเขียนโค้ดคำสั่งปล่อยขึ้นไปแค่หนึ่งบรรทัดก็สามารถแก้ไขปัญหาการแฮกและบุกโจมตีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมสตาร์ลิงก์ได้อย่างรวดเร็ว วิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจและกองทัพสามารถเรียนรู้   24 กุมภาพันธ์ รัสเซียได้ส่งกำลังทหารบุกถล่มยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งการโจมตีได้ทำลายสายไฟเบอร์ออปติก สายเคเบิ้ลและเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ส่งผลกระทบต่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ดังนั้นกองทัพยูเครนจึงต้องสื่อสารทางการทหารผ่านดาวเทียม…

“บิ๊กป้อม” สั่งเร่งร่วมมือป้องกันภัยไซเบอร์หลัง 6 เดือน โดนแฮกเว็บไซต์-ข้อมูลรั่วไหล รวม 78 เหตุการณ์

Loading

  “พล.อ.ประวิตร” ย้ำที่ประชุม กมช. เร่งขับเคลื่อนสร้างความตระหนัก ตื่นตัว ผนึกความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ ลดความเสี่ยงและรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีมากขึ้น   วันนี้ (7 เม.ย.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ว่าได้ย้ำกับที่ประชุมฯ ถึงการเตรียมความพร้อม และการปฏิบัติป้องกัน และรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากปัจจุบัน ที่หน่วยงานภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน ต้องตระหนักรู้ ตื่นตัว เตรียมความพร้อมรองรับรัฐบาลและสังคมดิจิทัล รวมถึงการผลักดันความร่วมมือกับ สถาบันการศึกษาด้านหลักสูตรทางไซเบอร์ และการจัดทำบันทึกความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ จะช่วยยกระดับขีดความสามารถและความเข้มแข็งทางด้านไซเบอร์ของประเทศ   “ได้ขอให้สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. เร่งกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ภัยทางไซเบอร์ กับหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานในกำกับ และขับเคลื่อนการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงานและกฎหมายที่กำหนด เพื่อลดความเสี่ยงผลกระทบด้านความมั่นคงและความเสียหายทางเศรษฐกิจ จากการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีมากขึ้น”       นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ที่ประชุมยังรับทราบการปฏิบัติในภารกิจป้องกัน รับมือและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ รอบ…

รัสเซีย ยูเครน : การโจมตีทางไซเบอร์ 3 รูปแบบของรัสเซียที่โลกตะวันตกหวั่นเกรงมากที่สุด

Loading

  ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เรียกร้องให้บริษัทเอกชนและองค์กรต่าง ๆ ในสหรัฐฯ “ล็อกประตูดิจิทัล” ให้แน่นหนา โดยอ้างข้อมูลข่าวกรองที่บ่งชี้ว่ารัสเซียกำลังวางแผนโจมตีทางไซเบอร์ต่อสหรัฐฯ   หน่วยงานรัฐทางด้านไซเบอร์ของสหราชอาณาจักรก็สนับสนุนข้อเรียกร้องของทำเนียบขาวที่ให้ “เพิ่มความระมัดระวังด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์” แม้ว่าจะไม่ได้แสดงหลักฐานยืนยันว่ารัสเซียกำลังวางแผนจะโจมตีก็ตาม   ที่ผ่านมารัสเซียมักระบุถึงข้อกล่าวหาลักษณะนี้ว่าเกิดขึ้นจาก “ความเกลียดกลัวรัสเซีย”   อย่างไรก็ตาม รัสเซียถือเป็นมหาอำนาจทางไซเบอร์ที่มีทั้งเครื่องมือและแฮกเกอร์ที่มีความสามารถในการโจมตีทางไซเบอร์ที่จะสร้างความวุ่นวาย และอาจก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงได้   แม้ยูเครนจะยังไม่ประสบปัญหาร้ายแรงจากการโจมตีทางไซเบอร์ของรัสเซีย แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างหวั่นวิตกว่ารัสเซียอาจมุ่งเป้าไปเล่นงานชาติพันธมิตรของยูเครนแทน   เจน เอลลิส จากบริษัทด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ Rapid7 กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “คำเตือนของประธานาธิบดีไบเดน ดูเหมือนจะมีเหตุผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาติตะวันตกเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย การที่แฮกเกอร์ยังคงเข้าร่วมการต่อสู้ และการที่การทำสงครามในยูเครนดูเหมือนจะไม่คืบหน้าตามแผน”   บีบีซีรวบรวมการโจมตีทางไซเบอร์ 3 รูปแบบของรัสเซีย ที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญตะวันตกหวั่นเกรงมากที่สุด     BlackEnergy – มุ่งเป้าโจมตีระบบสาธารณูปโภคสำคัญ ยูเครนมักถูกเปรียบเป็น “สนามเด็กเล่น” ของแฮกเกอร์รัสเซีย ซึ่งมักก่อเหตุโจมตีเพื่อทดสอบเทคนิคหรือเครื่องมือต่าง ๆ   เมื่อปี 2015 ระบบเครือข่ายการจ่ายไฟฟ้าของยูเครนประสบภาวะชะงักงันหลังมีการโจมตีทางไซเบอร์โดยใช้มัลแวร์ที่เรียกว่า BlackEnergy ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าราว…

คณะกรรมาธิการยุโรปแนะอียูตั้งกฎความมั่นคงทางไซเบอร์สำหรับองค์กร

Loading

    คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ประกาศคำแนะนำสำหรับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ในวันอังคาร(22มี.ค.) ระบุว่า ควรมีการจัดตั้งกรอบการทำงานเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางไซเบอร์   คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ประกาศคำแนะนำสำหรับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ในวันอังคาร(22มี.ค.) ระบุว่า ควรมีการจัดตั้งกรอบการทำงานเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญและข้อมูลอ่อนไหวได้   ข้อเสนอดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของร่างนโยบายการป้องกันประเทศทางไซเบอร์ของอียูซึ่งมีจุดประสงค์ในการจัดตั้งคณะกรรมการความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cybersecurity Board) เพื่อกำกับดูแลการบังคับใช้นโยบายเหล่านี้   “ในสภาพแวดล้อมที่ทุกอย่างเชื่อมถึงกัน การโจมตีทางไซเบอร์เพียงครั้งเดียวก็อาจส่งผลกระทบต่อทั้งองค์กร การสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแกร่งต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์และเหตุการณ์ที่อาจกระทบการทำงานของเราจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด” นายโจฮันส์ ฮาห์น ประธานคณะกรรมาธิการด้านงบประมาณ กล่าวในแถลงการณ์   ภายใต้นโยบายดังกล่าว สถาบัน, องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ในอียูจะต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ พัฒนาแผนเพื่อเสริมความมั่นคงทางไซเบอร์ ตลอดจนมีการประเมินอย่างต่อเนื่องและเปิดเผยข้อมูลเมื่อเกิดเหตุโจมตี   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้ประกาศเตือนว่า รัสเซียและพันธมิตรอาจปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ส่งผลให้ธนาคารต่าง ๆ ยกระดับการตรวจสอบและการวางแผน รวมถึงจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมรับมือกรณีเกิดเหตุโจมตี     ———————————————————————————————————————————————————-…

Microsoft ยอมรับ แฮ็กเกอร์ Lapsus$ ขโมยซอร์สโค้ดบางส่วนจริง ยืนยันไม่ใช่ข้อมูลสำคัญ

Loading

  กลุ่มแฮ็กเกอร์ Lapsus$ ซึ่งระยะหลังเริ่มมีการลงมืออย่างต่อเนื่อง โดยได้เข้าไปโจมตี ซัมซุง, อินวิเดีย, ยูบิซอฟต์ ล่าสุดไมโครซอฟท์ ยอมรับว่าพวกเขาเป็นเหยื่อรายล่าสุดของแฮ็กเกอร์กลุ่มนี้จริง   Lapsus$ กลุ่มแฮ็กเกอร์หน้าใหม่ ซึ่งกำลังเร่งสร้างชื่อเสียงในขณะนี้ ได้ออกมาเปิดเผยเมื่อ 1-2 วันก่อนว่า พวกเขาได้เข้าถึงข้อมูลภายในของไมโครซอฟท์ โดยข้อมูลที่พวกเขาได้ไปนั้น เป็นซอร์สโค้ดของบิง (Bing) และคอร์ทานา (Cortana) มีขนาดไฟล์ทั้งสิ้น 37GB   วันอังคารตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ออกมายอมรับว่า แฮ็กเกอร์ได้ขโมยซอร์สโค้ดบางส่วนไปจริง ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ได้ติดตามกลุ่ม Lapsus$ มาสักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อดูวิธีการทำงาน ไปจนถึงการโจมตีของกลุ่มดังกล่าว   ไมโครซอฟท์ กล่าวด้วยว่า ข้อมูลที่รั่วไหลไปนั้นไม่ได้เป็นข้อมูลที่รุนแรง หรือน่าเป็นห่วงที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัท อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลสำคัญของลูกค้าใดๆ หลุดออกไป อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ทำการปิดช่องทางต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันเอาไว้เรียบร้อยแล้ว   ช่วงที่ผ่านมา ต้องบอกว่า Lapsus$ เริ่มถูกพูดถึงบนหน้าข่าวเทคโนโลยีมากขึ้น จากการที่พวกเขาทำผลงานด้วยการแฮ็กระบบของอินวิเดีย (Nvidia), ซัมซุง…