หน่วยงานความมั่นคงไซเบอร์เยอรมนี แนะองค์กรเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสจากรัสเซีย

Loading

  หน่วยงานด้านไซเบอร์ของเยอรมนี ออกโรงแนะนำให้ผู้ใช้งานเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่มาจากรัสเซีย เพราะอาจถูกนำไปใช้โจมตีทางไซเบอร์ ภายใต้การจัดการของรัฐบาลรัสเซีย   เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Bundesamt für Sicherheit in der Informationstechnik (BSI) หรือหน่วยงานด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศเยอรมนี ออกประกาศแจ้งเตือนผู้ใช้งานและองค์กรต่างๆ ที่ใช้งานซอฟต์แวร์แอนตีไวรัสของแคสเปอร์สกี (Kaspersky) ให้เปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่นๆ   ทั้งนี้ หน่วยงานความมั่นคงทางไซเบอร์ของเยอรมนี ระบุว่า บริษัทที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในรัสเซีย อาจถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลรัสเซีย บังคับให้กระทำการแฮกระบบ หรืออาจถูกนำไปใช้เป็นตัวแทนในการเข้าไปโจมตีทางไซเบอร์อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐาน   คำเตือนของหน่วยงานด้านไซเบอร์ของเยอรมนี เกิดขึ้นท่ามกลางการเข้าไปรุกรานยูเครนโดยรัสเซียที่รุนแรงมากขึ้น   ทางด้านแคสเปอร์สกี ออกมาปฏิเสธถึงการเชื่อมโยงดังกล่าว พร้อมกับระบุว่า แคสเปอร์สกีเป็นบริษัทเอกชน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับรัฐบาลรัสเซีย อีกทั้งพวกเขาบอกด้วยว่า คำเตือนของบีเอสไอ มีแรงจูงใจทางการเมืองมากกว่าด้านเทคโนโลยี   อย่างไรก็ดี แคสเปอร์สกี จะติดต่อไปยังบีเอสไอ เพื่อชี้แจงในเรื่องนี้เพิ่มเติม   นอกจากนี้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวด้วยว่า โครงสร้างพื้นฐานในการประมวลผลข้อมูลของบริษัทย้ายไปตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาตั้งแต่ปี 2018 แล้ว ขณะที่ ข้อมูลของผู้ใช้งานชาวเยอรมนี…

อิสราเอลประกาศสภาวะฉุกเฉิน หลังการโจมตีไซเบอร์ทำเว็บไซต์รัฐบาลล่ม

Loading

  เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา หน่วยงานปกป้องภัยด้านไซเบอร์ประกาศสภาวะฉุกเฉิน หลังจากที่เว็บไซต์ของรัฐบาลล่มจากการโจมตีทางไซเบอร์   แหล่งข่าวในกองทัพอิสราเอลระบุว่าการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นถือว่าใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นต่ออิสราเอล ซึ่งทำให้เว็บไซต์ของกระทรวงกิจการภายใน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสวัสดิการสังคม และสำนักนายกรัฐมนตรีล่มไปตาม ๆ กัน   อย่างไรก็ดี ทุกเว็บไซต์ที่กล่าวมาในข้างต้นสามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติแล้ว และการโจมตีดังกล่าวไม่กระทบต่อการทำงานของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างประปาหรือไฟฟ้าแต่อย่างใด   เจ้าหน้าที่เชื่อว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นอาจเป็นฝีมือของประเทศอื่น แต่ยังไม่ได้ระบุเป็นการชัดเจนว่าเป็นฝีมือของประเทศใด     ที่มา NYPost     ————————————————————————————————————————————- ที่มา :  Beartai             / วันที่เผยแพร่    15 มี.ค.65 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/983751

เทคนิคใหม่ DDoS ล่มเว็บเป้าหมาย อาศัยช่องโหว่ไฟร์วอลล์

Loading

  การโจมตี Distributed denial of service (DDoS) เป็นการโจมตีที่แฮกเกอร์จะส่งแพ็คเกจข้อมูลจำนวนปริมาณมาก ๆ ไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการโจมตีเพื่อทำให้เว็บนั้น ๆ ล่มเนื่องจากประมวลผลข้อมูลไม่ทัน   แต่ตอนนี้แฮกเกอร์พบเทคนิคใหม่ในการใช้ DDoS ที่เรียกว่า “TCP Middlebox Reflection” โดยใช้ช่องโหว่ในไฟร์วอลล์และอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบเนื้อหาเพื่อขยายแพ็คเกจการโจมตีให้ใหญ่ขึ้น เทคนิคดังกล่าวถูกเปิดเผยในรายงานการวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์และมหาวิทยาลัยโคโลราโดเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว แต่วันนี้ถูกแฮกเกอร์นำมาใช้โจมตีจริง ๆ   ตามข้อมูลของ Akamai ที่เป็นบริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เปิดเผยว่า การโจมตีแบบ Middlebox สามารถสร้างแพ็คเกจข้อมูลขยะได้มาก 1.5 ล้านแพ็คเกจต่อวินาที (Mpps) รูปแบบคือจะส่งแพ็คเกจเล็ก ๆ ไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่ จากนั้นก็ทำการขยายแพ็คเกจให้ใหญ่ขึ้นและส่งไปยังเป้าหมายที่ตั้งใจจะโจมตี   ด้วยการโจมตีในลักษณะ ทำให้เกิดการส่งแพ็คเกจข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่าหากใครโดนยิงด้วยเทคนิค เว็บจะล่มเพียงไม่กี่อึดใจ ซึ่งตอนนี้แฮกเกอร์ก็กำลังเล็งหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ โรงพยาบาล และกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ครับ   ที่มาข้อมูล https://www.zdnet.com/article/attackers-now-hit-firewalls-to-knock-out-websites/ https://www.wired.com/story/hackers-deliver-devastating-ddos-attacks/    …

FBI อ้างจีนอยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ในอเมริกามากกว่าประเทศอื่นทั่วโลกรวมกัน!

Loading

FBI Director Christopher Wray (Photo courtesy of Reagan Library)   FBI กล่าวโทษประเทศจีนว่า เป็นต้นเหตุการโจมตีทางไซเบอร์ในสหรัฐอเมริกามากกว่าประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกรวมกัน   คริสโตเฟอร์ เรย์ (Chrostopher Wray) ผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐ (FBI) กล่าวในการปราศรัยต่อต้านภัยคุกคามจากรัฐบาลจีนภายในสหรัฐว่า FBI ได้ดำเนินการสอบสวนการโจมตีทางไซเบอร์มากกว่า 2,000 เคสที่รัฐบาลจีนพยายามขโมยข้อมูลและเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา   “รัฐบาลจีนขโมยข้อมูลปริมาณมหาศาล ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ่งถึงขั้นทำลายอาชีพในหลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้เราจึงต้องรับมือการดำเนินการด้านข่าวกรองของพวกเขาประมาณทุก 12 ชั่วโมง” เรย์ กล่าว   เรย์อ้างอิงการขโมยข้อมูลครั้งใหญ่บนเซิฟเวอร์ Microsoft Exchange ว่าส่งผลกระทบต่อบริษัทอเมริกันกว่า 10,000 แห่ง ทั้งยังพูดถึงการโจมตีอีกครั้งจากบริษัทที่มีรัฐบาลจีนเป็นเจ้าของว่า เป็นผู้ขโมยข้อมูลโค้ดของบริษัทกังหันลมในรัฐแมสซาชูเซต ทำให้มีพนักงานตกงานกว่า 600 คน   ย้อนกลับไปในปี 2015 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา (Barack Obama) และประธานาบดีสี…

ญี่ปุ่นเล็งคุมบริษัทที่มีความสำคัญต่อความมั่นคง หวังสกัดการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  หน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะพิจารณาใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นในการควบคุมบริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อความมั่นคง   ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ริเริ่มขึ้น เพื่อปกป้องความมั่นคงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ให้ถูกรุกรานจากจีน เช่น การป้องกันการรั่วไหลของเทคโนโลยีที่อ่อนไหว และสร้างห่วงโซ่อุปทานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า หน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ยื่นรายงานเสนอต่อรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเรียกร้องให้มีการร่างกฎหมายซึ่งจะเปิดทางให้รัฐบาลสามารถสั่งการให้บริษัทต่าง ๆ ส่งมอบข้อมูลล่วงหน้าเมื่อมีการอัปเดตซอฟต์แวร์หรือจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ ๆ และออกคำสั่งห้ามซื้ออุปกรณ์ที่อาจทำให้ญี่ปุ่นมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์   รายงานดังกล่าวยังระบุด้วยว่า หน่วยงานกำกับดูแลทางไซเบอร์จะพุ่งเป้าควบคุมบริษัทในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น พลังงาน , น้ำประปา , เทคโนโลยีสารสนเทศ , การเงิน และการขนส่ง   “เนื่องจากโลกได้เข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็วในขณะนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบทุกภาคส่วนซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญนั้น อาจจะตกเป็นเป้าของการโจมตีทางไซเบอร์ อย่างไรก็ดี เราเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะสร้างความเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะไม่เข้มงวดมากจนเกินไป”   หน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์ของญี่ปุ่นระบุในรายงาน   หลายประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วซึ่งรวมถึงสหรัฐและญี่ปุ่น ต่างก็เผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งรวมถึงประเทศที่มีความสัมพันธ์กับรัสเซียและจีน     โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02 ก.พ. 65)    …

ระบบอีเมลภายในของอิเกียถูกโจมตีอย่างหนักหน่วง

Loading

  อิเกียเตือนพนักงานเกี่ยวกับกรณีการโจมตีทางไซเบอร์อีเมลฟิชชิ่ง (phishing) มุ่งเป้าไปยังระบบอีเมลภายในบริษัท อีเมลเหล่านี้ยังถูกส่งมาจากองค์กรและหุ้นส่วนทางธุรกิจของอิเกียที่ถูกแฮกด้วยเช่นกัน การทำอีเมลฟิชชิ่งคือการปลอมแปลงอีเมลให้เสมือนว่ามาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ อาทิ เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และองค์กรที่มีตัวตนอยู่จริง เพื่อหลอกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลหรือส่งมัลแวร์เข้าไปยังอุปกรณ์ของผู้รับอีเมล “…การโจมตีอาจกระทำผ่านอีเมลของบุคคลที่ทำงานร่วมกับคุณ หรือองค์กรภายนอก ซึ่งอาจมาในรูปแบบของอีเมลตอบกลับในการสนทนาทางอีเมล ดังนั้นจึงตรวจพบได้ยาก เราจึงอยากให้ขอให้คุณใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ” อิเกียระบุในคำเตือนถึงพนักงาน   ตัวอย่างอีเมลฟิชชิ่งในระบบอีเมลของอิเกีย (ที่มา: Bleeping Computer)   ฝ่ายไอทีของอิเกียยังเตือนให้พนักงานระวังอีเมลที่มาพร้อมกับลิงก์ที่มีตัวเลข 7 หลักต่อท้าย ไม่ว่าจะถูกส่งมาจากผู้ใดทั้งสิ้น หากพบให้แจ้งฝ่ายไอทีทันที และให้แจ้งต่อผู้ส่งผ่านแชต Microsoft Teams ด้วย ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา อาชญากรทางไซเบอร์ได้เริ่มโจมตีระบบเซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange ภายใน โดยใช้ช่องโหว่ ProxyShell และ ProxyLogin ในการทำฟิชชิ่ง เมื่อคนเหล่านี้สามารถเจาะเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้แล้วก็จะทำการโจมตีระบบการโต้ตอบอีเมล (reply-chain) ต่อพนักงานด้วยอีเมลองค์กรที่ขโมยมา นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าผู้รับอีเมลอาจจะปล่อยอีเมลฟิชชิ่งออกจากระบบกักกัน (quarantine) ด้วยความเข้าใจผิดว่าตนเองอาจถูกระบบกักกันตรวจจับโดยผิดพลาด ทำให้ฝ่ายไอทีของอีเกียระงับความสามารถในการส่งออกอีเมลของพนักงาน จนกว่าการโจมตีจะสิ้นสุด “ระบบกรองอีเมลของเราสามารถตรวจจับและกักกันอีเมลอันตรายได้ในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากอีเมลเหล่านี้อาจมาในรูปแบบของการตอบกลับในการตอบโต้ทางอีเมล ผู้รับอาจเข้าใจผิดว่าระบบกรองอีเมลทำงานผิดพลาดได้โดยง่าย”…