Cyber Attack – คลื่นใต้น้ำแห่งยุคดิจิทัลที่ต้องจับตามอง

Loading

  ในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา มีเหตุโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นกับธุรกิจขนาดใหญ่แทบทุกสัปดาห์ก็ว่าได้ โดยสองเหตุการณ์ที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการโจมตีระบบท่อส่งน้ำมันของบริษัทโคโลเนียล ไปป์ไลน์ในสหรัฐโดยกลุ่มแฮกเกอร์ที่ใช้ชื่อในวงการว่า ดาร์กไซด์ (DarkSide) และเหตุโจมตีเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท JBS SA ผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุดของโลกจากบราซิล ซึ่งการโจมตีทั้งสองครั้งแฮกเกอร์ได้ปล่อยแรนซัมแวร์หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่เข้าโจมตีระบบของบริษัทจนสร้างความปั่นป่วนไม่น้อย   In Focus สัปดาห์นี้ ขอพาผู้อ่านแกะรอยข่าวการเรียกค่าไถ่ด้วยแรนซัมแวร์ที่ครองพื้นที่สื่อทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ เกี่ยวกับภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์   ย้อนรอยเหตุจับข้อมูลเป็นตัวประกัน เรียกค่าไถ่โคโลเนียล ไปป์ไลน์-JBS SA   เมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา สื่อหลายสำนักรายงานว่า บริษัทโคโลเนียล ไปป์ไลน์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลท่อส่งน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐได้ถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ส่งผลให้ต้องปิดเครือข่ายการส่งน้ำมันไปยังหลายรัฐทางภาคตะวันออกของสหรัฐ ซึ่งการโจมตีดังกล่าวได้สร้างความวิตกทั้งในภาครัฐและเอกชน เนื่องจากปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่บริษัทโคโลเนียล ไปป์ไลน์ทำการขนส่งนั้นมีปริมาณ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 45% ของปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และเชื้อเพลิงอากาศยานในฝั่งตะวันออกของสหรัฐ โดยไม่กี่วันหลังเหตุโจมตีดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง และในวันที่ 11 พ.ค. โคโลเนียล ไปป์ไลน์เปิดเผยว่า ท่อส่งน้ำมันของบริษัทได้เริ่มกลับมาดำเนินการได้บางส่วนแล้ว   ด้านผู้เชี่ยวชาญซึ่งร่วมสอบสวนกรณีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นฝีมือของกลุ่มอาชญากรที่มีชื่อว่า ดาร์กไซด์…

ไมโครซอฟท์เผยแฮกเกอร์ ‘โซลาร์วินด์ส’ โจมตี 150 องค์กรด้วย ‘ฟิชชิง’ อีเมล์

Loading

  บริษัทไมโครซอฟท์เปิดเผยว่า กลุ่มแฮคเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย ที่อยู่เบื้องหลังการแฮก “โซลาร์วินด์ส” เพื่อล้วงข้อมูลหน่วยงานหลายแห่งของรัฐบาลเมื่อปีที่ผ่านมา ได้ทำการโจมตีทางไซเบอร์หน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐฯ และต่างประเทศ รวมทั้งสถาบันคลังสมอง หรือ think tanks ในสัปดาห์นี้ ด้วยการใช้เทคนิค สเปียร์ ฟิชชิง หรือการโจมตีโดยมีเป้าหมายแน่ชัด ผ่านการใช้อีเมล์ของหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ หรือยูเอสเอด (U.S. Agency for International Development) นาย ทอม เบิร์ท รองประธานของไมโครซอฟท์ กล่าวในบล็อกโพสท์ในตอนค่ำของวันพฤหัสบดีว่า การโจมตีดังกล่าว มุ่งเป้าไปที่อีเมล์จำนวน 3,000 อีเมล์ขององค์กรมากกว่า 150 แห่ง ซึ่งอย่างน้อยหนึ่งในสี่ขององค์กรเหล่านั้น ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระหว่างประเทศ การให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม และงานด้านสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟท์ไม่ได้ระบุในบล็อกโพสท์ว่าความพยายามของกลุ่มแฮ็คเกอร์ดังกล่าวสำเร็จมากน้อยเพียงใด ด้าน Volexity บริษัทรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์ ซึ่งทำการติดตามการแฮกดังกล่าว แต่ไม่มีความสามารถในการติดตามจากระบบอีเมล์มากเท่ากับไมโครซอฟท์ รายงานว่า อัตราการตรวจจับอีเมล์ฟิชชิงที่มีอยู่น้อย บ่งบอกว่า กลุ่มแฮกเกอร์ “น่าจะประสบความสำเร็จพอสมควรในการแทรกซึมเป้าหมาย” รองประธานไมโครซอฟท์ ยังกล่าวด้วยว่า การโจมตีในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มแฮกเกอร์รัสเซียมีความพยายามอย่างต่อเนื่องหลายครั้งในการ…

หน่วยความมั่นคงไซเบอร์เยอรมนีเตือนโรงพยาบาลอาจเป็นเหยื่อแฮกเกอร์รายต่อไป

Loading

    นายอาร์น เชินโบห์ม ผู้อำนวยการสำนักงานสหพันธรัฐเพื่อความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (BSI) ของเยอรมนีประกาศเตือนว่า โรงพยาบาลในเยอรมนีมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะตกเป็นเป้าหมายการโจมตีโดยกลุ่มแฮกเกอร์ หลังจากในเดือน พ.ค. มีการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่เกิดขึ้นมากมาย เช่น การโจมตีระบบสาธารณสุขของไอร์แลนด์และท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของสหรัฐ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คลินิกในเยอรมนีถูกโจมตีทางไซเบอร์อยู่บ่อยครั้ง นายเชินโบห์มเปิดเผยกับสำนักข่าวไซต์ ออนไลน์ของเยอรมนีว่า โรงพยาบาลอาจมีความเสี่ยงถูกโจมตีในระดับที่สูงกว่า นอกจากนี้ นายเชินโบห์มยังระบุว่า ธุรกิจต่างๆ ในเยอรมนีมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะถูกโจมตีโดยแฮกเกอร์ เนื่องจากมีการให้พนักงานทำงานจากบ้านในช่วงที่เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด และได้กล่าวเสริมว่า ก่อนหน้านี้บริษัทต่างๆ มีความจำเป็นที่จะต้องอนุญาตให้พนักงานทำงานจากบ้านได้โดยเร็ว จึงอาจทำให้ระบบไอทีของหลายบริษัทมีจุดอ่อนให้โจมตีได้   —————————————————————————————————————————————————————— ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์     / วันที่เผยแพร่   23  พ.ค.2564 Link : https://www.infoquest.co.th/2021/89865

“แอร์อินเดีย” ถูกแฮกเกอร์เจาะระบบขโมยข้อมูลลูกค้า 4.5 ล้านรายทั่วโลก

Loading

  แอร์อินเดียซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติของอินเดียเปิดเผยว่า กลุ่มแฮกเกอร์ได้ทำการขโมยข้อมูลลูกค้าของแอร์อินเดียราว 4.5 ล้านรายทั่วโลกในการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งล่าสุด แอร์อินเดียระบุในแถลงการณ์ที่เปิดเผยในวันศุกร์ (21 พ.ค.) ว่า ชื่อ, หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลเกี่ยวกับพาสปอร์ตของลูกค้าได้ถูกขโมยโดยกลุ่มแฮกเกอร์ แอร์อินเดียระบุว่า บริษัทกำลังดำเนินการเพิ่มความปลอดภัยให้กับเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกโจมตี และใช้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงกำลังประสานงานกับทางบริษัทบัตรเครดิต แอร์อินเดียประกาศในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมาว่า บริษัทได้รับแจ้งจากซิต้า (Sita) ซึ่งเป็นบริษัทประมวลผลข้อมูลของแอร์อินเดียในเดือนก.พ.ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเจาะนั้นเป็นข้อมูลที่มีการลงทะเบียนระหว่างเดือนส.ค. 2554 ถึงเดือนก.พ. 2564 “เราเสียใจเป็นอย่างยิ่งในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น และขอขอบคุณการสนับสนุนและความไว้วางใจที่มีมาอย่างต่อเนื่องจากผู้โดยสารของเรา” แอร์อินเดียระบุ ทั้งนี้ สายการบินจำนวนมากได้รับผลกระทบจากการแฮกข้อมูลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยสายการบินบริติชแอร์เวย์ของอังกฤษถูกปรับถึง 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว หลังจากที่ข้อมูลของลูกค้า 400,000 รายสูญหายไปจากการโจมตีทางไซเบอร์ในปี 2561 ส่วนคาเธ่ย์แปซิฟิคของฮ่องกงได้ถูกปรับเป็นเงิน 700,000 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากข้อมูลของลูกค้า 9 ล้านคนสูญหายไปในปี 2561 ขณะที่อีซี่เจ็ตซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำของอังกฤษเปิดเผยเมื่อปีที่แล้วว่า กลุ่มแฮกเกอร์ได้ขโมยข้อมูลเกี่ยวกับอีเมลและรายละเอียดการเดินทางของลูกค้าราว 9 ล้านราย   ———————————————————————————————————————————————————————- ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์       …

สหรัฐเป็นอัมพาต ท่อส่งน้ำมันใหญ่ที่สุดถูกแฮกเรียกค่าไถ่

Loading

  สถานการณ์ใหญ่จนต้องรายงานสรุปให้ไบเดน ผู้ต้องสงสัยอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทัพไซเบอร์ของบางประเทศที่สหรัฐหมายหัวว่าสร้างกองทัพทำสงครามไซเบอร์ The New York Times รายงานว่าท่อส่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของสหรัฐซึ่งขนถ่ายน้ำมันเบนซินและน้ำมันเครื่องบินจากเท็กซัสฝั่งตะวันออกไปยังนิวยอร์กต้องถูกปิดลงหลังจากถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ (Ransomware) หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ นับเป็นการโจมตีที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งและแสดงให้เห็นถึงช่องโหว่ของโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานต่อการโจมตีทางไซเบอร์ ผู้ดำเนินการระบบ Colonial Pipeline กล่าวในแถลงการณ์ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแต่ใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือโดยกล่าวว่าได้ปิดท่อส่งน้ำมันระยะทาง 5,500 ไมล์ซึ่งระบุว่าบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง 45% ของชายฝั่งตะวันออกเพื่อพยายามควบคุมการแทรกซึมเข้ามาในระบบบ ต่อมา สำนักงานสืบสวนกลาง หรือ FBI, กระทรวงพลังงาน และทำเนียบขาวได้เจาะลึกรายละเอียด จน Colonial Pipeline ต้องยอมรับว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัทถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ ซึ่งกลุ่มอาชญากรจับข้อมูลเป็นตัวประกันจนกว่าเหยื่อจะจ่ายค่าไถ่ บริษัทกล่าวว่าได้ปิดท่อไปเองซึ่งเป็นมาตรการป้องกันเนิ่นๆ คาดว่าเพราะบริษัทกลัวว่าแฮกเกอร์อาจได้รับข้อมูลที่จะทำให้สามารถโจมตีส่วนที่มีความเสี่ยงของท่อส่งน้ำมันได้   เจ้าหน้ารัฐบาลสหรัฐกล่าวว่าพวกเขาเชื่อว่าการโจมตีดังกล่าวเป็นการกระทำของกลุ่มอาชญากรมากกว่าที่จะเป็นกองทัพไซเบอร์ของประเทศที่ต้องการทำลายโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในสหรัฐ แต่ในบางครั้งกลุ่มดังกล่าวมีความผูกพันกับหน่วยข่าวกรองต่างประเทศอย่างหลวมๆ และดำเนินการในนามของประเทศนั้นๆ สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่าสิ่งที่ทำให้สถานการณ์นี้น่าตกใจก็คือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากที่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและมีขนาดใหญ่เช่นจะถูกทำให้ออฟไลน์โดยสิ้นเชิง เช่น Colonial Pipeline ที่ทอดยาวตลอดเส้นทางจากเท็กซัสไปยังนิวเจอร์ซีย์ การหยุดทำงานเป็นการหยุดชะงักครั้งใหญ่ที่สุดของแหล่งพลังงานทางกายภาพนับตั้งแต่การปฏิบัติการน้ำมันของซาอุดีอาระเบียถูกโจมตีโดยโดรนในปี 2561 ตามคำกล่าวของบ็อบ แมคแนลลี (Bob McNally) อดีตที่ปรึกษาด้านนโยบายอาวุโสของทำเนียบขาว “การรีสตาร์ทท่อส่งก๊าซเป็นเรื่องง่ายหากไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นจริง” บ็อบ แมคแนลลีกล่าวกับ Bloomberg “คำถามคือว่าการโจมตีถูกจำกัดและถูกควบคุมได้หรือไม่…

ญี่ปุ่นเผยถูกสายลับ “กองทัพจีน” เจาะระบบคอมพิวเตอร์

Loading

  ตำรวจญี่ปุ่นสืบสวนกรณีการโจมตีทางไซเบอร์ต่อหน่วยงานและบริษัทเกือบ 200 แห่งในญี่ปุ่น โดยสงสัยว่าเป็นฝีมือของแฮกเกอร์ที่เกี่ยวพันกับกองทัพจีน หน่วยงานสำคัญของญี่ปุ่นที่ถูกแฮกเกอร์ที่คาดว่าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเจาะข้อมูล เช่น สำนักงานสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่น หรือ จั๊กซ่า, บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ, มหาวิทยาลัยเคโอ รวมทั้งสถาบันวิจัยชั้นสูงหลายแห่งของแดนอาทิตย์อุทัย สำนักงานสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่นยอมรับว่า ระบบคอมพิวเตอร์ถูกลักลอบเจาะในปี 2559 แต่ไม่เปิดเผยว่ามีข้อมูลรั่วไหลหรือถูกดัดแปลงแก้ไข ปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์นี้ดำเนินการโดยกลุ่มแฮกเกอร์ที่ใช้ชื่อว่า Tick ซึ่งอยู่ใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของกองทัพจีน     ตำรวจญี่ปุ่นระบุตัว วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวจีนคนหนึ่งที่ใช้รหัสประจำตัวปลอม เพื่อเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรหลายแห่งในญี่ปุ่น ชายในวัย 30 ปีผู้นี้ต้องสงสัยว่าเคยลักลอบเข้าใช้เซิร์ฟเวอร์หลายแห่งโดยใช้ชื่อปลอมต่าง ๆ กัน และส่งข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นไปยังกลุ่มแฮกเกอร์ “Tick” นอกจากนี้ ยังพบว่ามีนักศึกษาชาวจีนอีกคนหนึ่งที่เช่าเซิร์ฟเวอร์หลายเซิร์ฟเวอร์ในญี่ปุ่น โดยใช้หนังสือเดินทางปลอมเพื่อแสดงตัวตน และจากการสืบสวนพบว่านักศึกษารายนี้เกี่ยวข้องกับกองทัพจีน ขณะนี้ วิศวกรชายและนักศึกษารายนี้ได้เดินทางออกจากญี่ปุ่นแล้ว     กองทัพจีนมีหน่วยที่ใช้รหัสว่า 61419 มีฐานที่เมืองชิงเต่า มณฑลซานตง คาดว่าเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการโจมตีทางไซเบอร์ต่อประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นายคัตสีโนบุ คาโต เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น พูดถึงเรื่องนี้โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นฝีมือของใครว่า “การโจมตีทางไซเบอร์ต่อหน่วยราชการและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ มีการจัดองค์กรและมีความล้ำหน้ามากขึ้น รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญเพื่อรับมือการโจมตีเหล่านี้”.…