อีคอมเมิร์ซแอป เป้าหมายใหม่ การโจมตีทางไซเบอร์ (1)

Loading

  ในปี 2566 แนวโน้มทิศทางการโจมตีทางไซเบอร์บนแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ตกเป็นเป้าหมายหลักเลยก็ว่าได้   เนื่องจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซกลายเป็น Omnichannel เพิ่มเรื่อย ๆ และมีการสร้างและปรับใช้อินเทอร์เฟซ API มากขึ้น โดยแฮ็กเกอร์จะใช้ประโยชน์จากการหาช่องโหว่ต่าง ๆ เพื่อเปิดการโจมตี   นี่คือเหตุผลว่าทำไมการทดสอบและการหมั่นตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่องจึงมีความสำคัญมากในการช่วยหาจุดอ่อนให้ได้อย่างรวดเร็วและเป็นการป้องกันเว็บแอปพลิเคชันอย่างมีประสิทธิภาพ   วันนี้ผมจึงอยากหยิบยกเรื่องการโจมตีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ Honda มาพูดถึงว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อธุรกิจและกลุ่มลูกค้า   การโจมตีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของฮอนด้าที่จัดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตัดหญ้า เครื่องยนต์ติดท้ายเรือ เป็นต้น ได้เกิดข้อผิดพลาดของ API ที่ทำให้ไม่ว่าจะใครก็สามารถขอรีเซ็ตรหัสผ่านของบัญชีผู้ใช้งานใดก็ได้   หากแฮ็กเกอร์ค้นพบสิ่งนี้ได้ แน่นอนว่าจะเป็นการละเมิดข้อมูลครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพราะการสูญเสียการควบคุมในการเข้าถึงทำให้บุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดบนแพลตฟอร์มได้ แม้ว่าจะเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีสำหรับใช้ทดสอบ (Test Account) ก็ตาม โดยผู้ทดสอบสามารถเข้าถึงข้อมูลต่อไปนี้ได้ทั้งหมด   คำสั่งซื้อของลูกค้าเกือบ 24,000 รายจากตัวแทนจำหน่ายฮอนด้าทุกแห่งตั้งแต่ ส.ค. 2559 ถึง มี.ค. 2566 รวมถึงชื่อที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้า เว็บไซต์ตัวแทนจำหน่ายที่ใช้งานอยู่ 1,091 แห่งซึ่งสามารถแก้ไขไซต์เหล่านี้ได้, ผู้ใช้งาน/บัญชีตัวแทนจำหน่าย…

เผยประชาชนกังวลหนัก ความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์ จี้ผู้มีอำนาจเร่งดูแลแก้ไข

Loading

  ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจเรื่อง ความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อความมั่นคงของชาติและประชาชน ระบุความมั่นคงของชาติและประชาชนกำลังเสี่ยงวิกฤตหนัก จี้ผู้มีอำนาจเร่งป้องกันและแก้ไข   เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อความมั่นคงของชาติและประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมเจ้าหน้าที่รัฐด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จำนวนทั้งสิ้น 223 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 – 26 สิงหาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา   พบประเด็นที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ เจ้าหน้าที่รัฐด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.2 เคยตกเป็นเหยื่อ ได้แก่ คลิกลิงก์ล่อเหยื่อ (Phishing) เข้าใช้งานบริการออนไลน์ไม่ได้ (DDos) ถูกหลอกดูดเงิน ถูกขโมยชื่อผู้ใช้งานและรหัส เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ไม่เคย   ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งเช่นกัน…

แกะรอย ‘แฮกเกอร์’ ตัวร้ายขโมยคริปโทฯ

Loading

  การโจมตีระบบคริปโทฯ มุ่งโจมตีไปใน 2 ทิศทางคือ ผู้ให้บริการ และผู้ใช้งาน   ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ถูกเปิดเผยในเว็บเวอร์ชันของวอลเล็ต Ever Surf ซึ่งหากแฮกเกอร์สามารถควบคุมมันได้สำเร็จ แน่นอนว่าแฮกเกอร์จะควบคุมวอลเล็ตของเหยื่อได้อย่างเต็มรูปแบบ   สำหรับการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ดังกล่าว เป็นไปได้ที่จะถอดรหัส private keys และ seed phrases ซึ่งเก็บไว้ในที่จัดเก็บเบราว์เซอร์   ผู้เชี่ยวชาญบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของอิสราเอลเปิดเผยในรายงาน The Hacker News ไว้ว่า กล่าวอีกนัยหนึ่ง “แฮกเกอร์สามารถควบคุมวอลเล็ตของเหยื่อได้ทั้งหมด”   Ever Surf คือ คริปโทเคอเรนซีวอลเล็ตของระบบ Everscale blockchain (เดิมคือ FreeTON) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารข้ามแพลตฟอร์มและอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแอพ โดยการส่งและรับคริปโตเคอเรนซี่แบบ non-fungible tokens (NFTs) กล่าวกันว่ามีบัญชีอยู่ราว 669,700 บัญชีทั่วโลก   ปัจจุบัน เหล่าบรรดาแฮกเกอร์มีวิธีการของการโจมตีที่หลากหลายและแตกต่างกันไป เช่น เบราว์เซอร์หรือลิงก์ฟิชชิ่ง ซึ่งข้อบกพร่องนี้เองที่ทำให้เราสามารถรับการเข้ารหัสคีย์ของวอลเล็ตและ seed…