เช็กด่วน! ดีอีเอสเตือน แอปอันตราย 200 แอป ห้ามโหลด อาจสูญเงิน-ข้อมูลส่วนตัว

Loading

  ชัยวุฒิ ร่วม สกมช. แจงกรณีแอปดูดเงินอันตราย หลังพบประชาชนได้รับผลกระทบจากการติดตั้งแอปพลิเคชันอันตรายลงในโทรศัพท์มือถือ แล้วทำให้กลุ่มมิจฉาชีพเข้ามาดูดเงินออกไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการแพร่ระบาดของมัลแวร์อันตราย ที่มาในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ซึ่งดีอีเอส และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้มีการตรวจสอบมาโดยตลอด   โดยพบปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะผู้ใช้งานโทรศัพท์ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ถูกระบุว่าสามารถขโมยข้อมูล หรือควบคุมเครื่องโทรศัพท์ได้ โดยในปี 2022 มีการเผยแพร่รายชื่อแอปพลิเคชันอันตรายเหล่านี้   ซึ่งมีมากกว่า 200 รายการ ทั้งในระบบ iOS และ Android ตามที่ปรากฎใน Facebook ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Facebook ของ สกมช. (NCSA THAILAND) จึงขอให้ผู้ใช้งานทำการตรวจสอบ หากพบแอปพลิเคชันดังกล่าวให้ถอนการติดตั้งโดยทันที และควรอัพเดทระบบของเครื่องโทรศัพท์ของตนเองให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ     ทั้งนี้ ดีอีเอส ขอแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวังในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ ลงบนโทรศัพท์มือถือ เพราะอาจจะไปเจอมัลแวร์อันตรายได้…

T-Mobile ถูกแฮ็กผ่าน API ข้อมูลผู้ใช้งานรั่วไหลกว่า 37 ล้านรายการ

Loading

    T-Mobile ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์รายใหญ่ในสหรัฐอเมริกาถูกแฮกผ่าน API ข้อมูลผู้ใช้งานรั่วไหลกว่า 37 ล้านรายการ   T-Mobile ออกรายงานการรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้งานครั้งล่าสุด พบว่ามีข้อมูลถูกขโมยออกไปกว่า 37 ล้านราย ประกอบด้วยข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานทั้งแบบ Postpaid และ Prepaid โดยแฮกเกอร์เริ่มทำการลงมือขโมยข้อมูลผ่านทาง API ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายนปีที่แล้ว จนถึงวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา   ทาง T-Mobile ได้ตรวจพบ และจำกัดการเข้าถึง API โดยข้อมูลที่หลุดออกไปประกอบไปด้วย ชื่อ, ที่อยู่, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, T-Mobile Account Number และข้อมูลเกี่ยวกับ Plan ที่ใช้งาน ล่าสุด T-Mobile ได้รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแจ้งเตือนผู้ใช้งานที่ได้รับผลกระทบแล้ว พร้อมทั้งจะดำเนินการสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดต่อไป   ที่ผ่านมา T-Mobile ได้เผชิญเหตุการณ์ลักษณะนี้มาแล้วกว่า 8 ครั้ง เช่น…

ผ่าแนวคิด “สกมช.” มือปราบภัยไซเบอร์ รับมือ ภัยคุกคามป่วนหนัก

Loading

  ภัยไซเบอร์ ที่คุกคามเข้ามาส่งผลกระทบให้กับคนไทยในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะมีรูปแบบเดิม ๆ คือ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ ฟิชชิ่ง แล้ว ทุกวันนี้ออนไลน์ต้องเผชิญหน้ากับภัยจากการหลอกลวงให้โอนเงิน กดลิงก์ปลอม หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน หรือ แม้แต่การเสียบสายชาร์จสมาร์ตโฟน ก็สามารถทำให้เงินหายเกลี้ยงบัญชีได้ รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) เพื่อรับผิดชอบในส่วนนี้โดยเฉพาะ   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสกมช. กล่าวว่า ภัยไซเบอร์ขององค์กรปีนี้ยังคงพบความเสี่ยงขององค์กรที่ไม่มีการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ จนกลายเป็นช่องโหว่ของ แก๊งแรนซัมแวร์ ในการขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ ประจาน และเปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั่วโลกมีบริษัทถูกแฮกข้อมูลกว่า 100 บริษัทต่อเดือน   ขณะที่ประเทศไทยถูกแฮก เฉลี่ยเดือนละ 5-6 บริษัท แต่ไม่มีใครเปิดเผย เพราะกลัวมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พีดีพีเอ   เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญมากมีบริการ เครดิต วอช ด้วยการซื้อประกันข้อมูลรั่ว หากข้อมูลรั่วบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าและรัฐบาล เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยต้องมีบริการรูปแบบนี้…

โฆษณา ‘Search Engine Ad’ เครื่องมือใหม่ อาชญากรไซเบอร์

Loading

  หลายปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นมากมายและหลากหลายรูปแบบ ล่าสุดเอฟบีไอออกประกาศแจ้งเตือนว่า ขณะนี้อาชญากรไซเบอร์ได้ใช้บริการโฆษณา “Search Engine Ad” โดยปลอมตัวเป็นแบรนด์เพื่อฉ้อโกงและหลอกล่อผู้ใช้งานให้เข้าระบบไปยังเว็บไซต์ปลอมที่อันตราย   เว็บไซต์เหล่านี้ดูภายนอกก็เหมือนกับหน้าเว็บอย่างเป็นทางการของธุรกิจต่างๆ ที่ถูกแอบอ้าง โดยเหล่าบรรดาแฮกเกอร์จะหลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลดมัลแวร์หรือให้ป้อนข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบรวมถึงข้อมูลทางการเงิน   ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผู้ใช้งานค้นหาโปรแกรมเพื่อดาวน์โหลด ที่หน้าเว็บไซต์ปลอมจะมีลิงก์สำหรับดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่เป็นมัลแวร์ซ่อนอยู่ ซึ่งเหล่าแฮกเกอร์เลือกซื้อโฆษณา Search Engine Ad เพื่อให้แน่ใจว่าโฆษณาของพวกเขาจะปรากฏที่ด้านบนสุดของผลการค้นหาและเพื่อโปรโมทเว็บไซต์และทำการขโมยข้อมูลหรือแรนซัมแวร์   โดย Search Engine Ad จะมีความแตกต่างอยู่ระหว่างโฆษณาและผลการค้นหาทางอินเทอร์เน็ตจริง อย่างไรก็ตาม การแจ้งเตือนดังกล่าวยังระบุอีกว่าอาชญากรไซเบอร์กำลังซื้อบริการเหล่านี้โดยใช้โดเมน (domain) ที่มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจหรือบริการจริงเพื่อจุดประสงค์ไม่ดีที่แอบแฝงอยู่   เอฟบีไอ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า โฆษณาเหล่านี้ยังถูกใช้เพื่อแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพลตฟอร์มการซื้อขายคริปโต (cryptocurrency) โดยเว็บไซต์ปลอมจะมีการขอให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลและจากนั้นจะทำการขโมยทั้งข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลบัญชีธนาคารของผู้ใช้งานออกไปทั้งหมด   หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฏหมายเน้นย้ำว่า แม้ว่าโฆษณา search engine บนเครื่องมือจะมีรูปแบบที่ไม่เป็นอันตราย แต่ผู้ใช้งานก็ควรเลือกใช้ด้วยความระมัดระวังเมื่อเข้าถึงหน้าเว็บผ่านลิงก์ที่โฆษณา และได้เสนอข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้งานเมื่อค้นหาธุรกิจหรือบริการออนไลน์ เหล่านี้คือ   ตรวจสอบ URL เพื่อหาข้อผิดพลาดก่อนที่จะคลิกโฆษณาเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์นั้นถูกต้องตามกฎหมาย   ควรพิมพ์ URL…

‘Twitter’ เผยระบบเจอมือดี ‘แฮ็ก’ ข้อมูลบัญชีสมาชิกรั่วครั้งใหญ่ พบบัญชีคนดังเป็นเหยื่อเพียบ

Loading

  Hudson Rock ซึ่งเป็นบริษัทข่าวกรองไซเบอร์ของอิสราเอล รายงานว่า Twitter สื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมอาจโดนมือดีลักลอบเจาะเข้าระบบทำให้บัญชีข้อมูลสมาชิกเกิดการรั่วครั้งใหญ่ โดยแฮ็กเกอร์รายหนึ่งอ้างว่าได้ขโมยข้อมูลของผู้ใช้ Twitter กว่า 40 ล้านคน และนำไปขายบนเว็บมืด แถมยังโพสต์ระบุว่าบัญชีที่นำไปขายดังกล่าวยังไม่ใช่บัญชีทั้งหมดที่แฮกมาได้   สำหรับบัญชี Twitter ที่ถูกขโมยข้อมูลไปครั้งนี้ มีคนดังอย่าง ซันดาร์ พิชัย ซีอีโอของ Google กระทรวงข้อมูลและการแพร่ภาพกระจายเสียงแห่งอินเดีย และนักแสดงบอลลีวูดอย่าง ซัลมาน ข่าน รวมอยู่ด้วย   นอกจากนั้น ยังมี SpaceX ของ อีลอน มัสก์ ฝ่ายสื่อสารสังคมออนไลน์ของ World Health Organisation (WHO), ศิลปินอย่าง Charlie Puth, Shawn Mendes, Alexandria Ocasio-Cortez สื่ออย่าง CBS Media หรือกระทั่งคนดังอย่าง อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump Jr.…

มือถือหรือคอมพิวเตอร์ถูกแฮ็กได้อย่างไร

Loading

  ช่วงนี้เราคงเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับมือถือ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นใดที่ทำงานคล้ายคอมพิวเตอร์ (ในที่นี้แทนทั้งหมดด้วย “คอมพิวเตอร์”) ถูกแฮ็ก ทำให้สูญเงินในบัญชีกันบ่อยขึ้น แทบจะเกิดขึ้นรายวัน   เพราะเราสามารถทำเกือบทุกอย่างได้ผ่านคอมพิวเตอร์ ดังนั้น คอมพิวเตอร์เหล่านี้จึงตกเป็นเป้าโจมตีมากยิ่งขึ้น   ปัจจัยและสาเหตุของการถูกแฮกและขโมยข้อมูล – มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบและสร้างเสียหายความรุนแรงต่อคอมพิวเตอร์และผู้ใช้งาน   เช่น การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์มีการอัปเดตระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์เป็นรุ่นล่าสุดหรือไม่ ประเภทภัยคุกคามที่มาโจมตี จำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีหรือบัตรเครดิต ความสำคัญของข้อมูลในระบบ เป็นต้น   สาเหตุที่คอมพิวเตอร์ถูกแฮกเกิดจาก 5 พฤติกรรม ดังนี้   1.การขาดความตระหนักรู้และขาดการไตร่ตรอง – เป็นสิ่งที่สุ่มเสี่ยงและมีผลกระทบมากที่สุด เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ในระหว่างทำธุรกรรมก็อาจเข้าใช้งานเว็บไซต์หรือดาวน์โหลดข้อมูลโดยไม่ได้ตรวจสอบเว็บไซต์   โปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาหรือสังเกตอีเมลลิงก์ต่าง ๆ รวมถึงคลิกลิงก์ที่แนบมาโดยไม่ได้ระวัง ทำให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาจส่งอีเมลหลอกลวงเพื่อขโมยข้อมูลหรือติดตั้งมัลแวร์ (โปรแกรมอันตราย) ได้   หรือเห็นได้จากหลาย ๆ ข่าวที่มิจฉาชีพปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น สรรพากร ตำรวจ เป็นต้น ทำการหลอกล่อเหยื่อโดยการส่งลิงก์มาให้โหลด และเหยื่อก็ติดตั้งซอฟต์แวร์จากลิงก์นั้น ทำให้สูญเงินไปหลายล้านบาท…