Hacker อ้างว่า ได้ขโมยข้อมูลพลเรือนจีนกว่า 1,000 ล้านรายการ

Loading

  คำอ้างจาก Hacker ถึงจำนวนข้อมูลกว่า 1,000 ล้านรายการ ถ้าเป็นความจริงจะเป็นการละเมิดข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ประเทศจีนมีประชากรมากที่สุดในโลกกว่า 1,400 ล้านคน ถ้าเทียบกับจำนวนข้อมูลที่ถูกขโมยไปตามคำอ้างของ Hacker นั่นหมายถึง 3 ใน 4 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ Hacker ได้โพสว่า ในปี 2022 ฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเซี่ยงไฮ้ (SHGA) รั่วไหล ฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลจำนวน TB และข้อมูลเกี่ยวกับพลเมืองจีนหลายพันล้านคน ประกอบไปด้วยฐานข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับพลเมืองชาวจีน 1,000 ล้านคนและบันทึกคดีหลาย 1,000 ล้านเรื่อง ซึ่งรวมถึง ชื่อ ที่อยู่ บ้านเกิด หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ รายละเอียดอาชญากรรม/คดีทั้งหมด โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิรนาม ซึ่งระบุว่าเป็น “ChinaDan” ยังได้โพสเสนอขายข้อมูลเหล่านี้บน Breach Forums ซึ่งมีขนาดข้อมูลมากกว่า 23 Terabytes ด้วยราคา 10 bitcoin หรือ 287,431 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ความคิดเห็นเกี่ยวกับคำอ้างนี้…

แฮ็กเกอร์อ้างลอบขโมยข้อมูลจาก AMD ออกมาได้ถึง 450 GB

Loading

Credit: ShutterStock.com   มีเหตุการณ์กลุ่มแฮ็กเกอร์นามว่า RansomHouse ได้ออกประกาศว่าตนมีข้อมูลจาก AMD ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ในมือกว่า 450 GB พร้อมประกาศขายต่อ   เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มคนร้าย RansomHouse ได้ประกาศขายข้อมูลบริษัทที่มีอักษรย่อ 3 ตัวขึ้นด้วยตัว ‘A’ ผ่านเทเลแกรม วานนี้กลุ่มดังกล่าวได้เผยชื่อเต็มๆว่าเป็น AMD โดยอ้างว่ามีข้อมูลขนาด 450 GB ซึ่งคนร้ายชี้ว่าพาร์ทเนอร์ของตนได้เข้าถึงระบบเครือข่ายของ AMD ได้เมื่อปีก่อนและข้อมูลถูกขโมยมาได้วันที่ 5 มกราคม 2022 และเป็นวันสุดท้ายที่เข้าถึง AMD ได้   RansomHouse ยังปฏิเสธว่าไม่ได้มีการใช้แรนซัมแวร์กับ AMD และไม่ประสงค์ที่จะติดต่อเรียกค่าไถ่ AMD เพราะคงช้าเอาไปขายต่อดีกว่า โดยคนร้ายอ้างว่าข้อมูลครอบคลุมถึงงานวิจัยและการเงิน แต่ก็ไม่ยอมแชร์หลักฐานใดๆเพิ่ม นอกจากไฟล์บางส่วนที่พิสูจน์ว่าเข้าถึง Windows Domain อย่างไฟล์ .CSV ที่รวบรวมอุปกรณ์กว่า 70,000 ตัวในเครือข่ายของ AMD ที่มีรายการ Credential ของ User…

‘สิงคโปร์แอร์ไลน์’ เตือนเพจปลอมแอบอ้างขโมยข้อมูล หลังสิงคโปร์ประกาศรับนักเดินทาง

Loading

  เพจปลอมแอบอ้างเป็น ‘สิงคโปร์แอร์ไลน์’ โผล่ ขโมยข้อมูลนักเดินทาง สายการบินเตือนใช้ดุลยพินิจเมื่อต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 65 สำนักข่าวแชนแนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ ประกาศเตือนให้นักเดินทางระวังบัญชีเฟซบุ๊กปลอมแอบอ้างชื่อสายการบินเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยทางสายการบินแถลงว่า พบผู้ใช้งานเฟซบุ๊กแอบอ้างว่าเป็นเพจทางการของสายการบิน และติดต่อไปยังลูกค้าเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการจองตั๋วเครื่องบิน เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว     ทางสายการบินได้แจ้งเรื่องดังกล่าวต่อเฟซบุ๊กเพื่อให้ดำเนินการปิดเพจปลอมแล้ว พร้อมทั้งเตือนให้ประชาชนใช้ดุลยพินิจเมื่อต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว และทำธุรกรรมผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และร้านค้าทางการของสายการบินเท่านั้น ส่วนผู้ที่รู้ตัวว่าได้ทำธุรกรรมการเงินกับเพจปลอมต้องเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในทันที การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ประเทศสิงคโปร์เปิดประเทศต้อนรับนักเดินทางที่ฉีดวัคซีนครบโดส ให้เดินทางเข้าประเทศสิงคโปร์ได้โดยไม่ต้องกักตัว ทำให้มีนักเดินทางจองตั๋วเดินทางไปยังสิงคโปร์จำนวนมาก ที่มา: CNA     ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์    /   วันที่เผยแพร่ 30 มี.ค.65 Link : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2355275

การใช้ ‘Wi-Fi ฟรี’ มีความเสี่ยงถูกขโมยข้อมูลได้อย่างไร !?

Loading

เวลาที่เราไปไหนต่อไหน มักจะได้พบเจอกับบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย หรือ Wi-Fi จากสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นสาธารณะให้เราได้ใช้งานกันฟรี ๆ เสมอ แต่ด้วย W-Fi ที่ฟรี นั่นหมายถึงการเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ที่ไหนก็ไม่รู้ เข้าถึง Wi-Fi ฟรีนั้นด้วย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า Wi-Fi ฟรีเหล่านั้นจะปลอดภัย เรามาดูกันว่าแฮกเกอร์เหล่านี้สามารถขโมยข้อมูลเราผ่าน Wi-Fi ฟรีได้อย่างไรบ้าง ! ต่อไปนี้จะเป็น 5 วิธีที่แฮกเกอร์ใช้ในการขโมยข้อมูลส่วนตัว หรือแม้กระทั่งตัวตนบนโลกออนไลน์ของเราไปได้อย่างง่ายดายผ่าน Wi-Fi ฟรีที่เราใช้งาน และวิธีที่เราจะสามารถป้องกันตัวจากการถูกแฮกข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้ไป 1. การโจมตีแบบ Man-In-The-Middle (MitM) การโจมตีแบบ Man-In-The-Middle (MitM) คือการโจมตีทางไซเบอร์ โดยที่บุคคลภายนอกเข้ามาแทรกกลางการสื่อสารระหว่างผู้เข้าร่วมสองคน แทนที่จะแชร์ข้อมูลโดยตรงระหว่างเซิร์ฟเวอร์ (Server) และไคลเอนต์ (Client) การเชื่อมต่อนั้นจะถูกเข้ามาแทรกด้วยคนกลางแทน แฮกเกอร์ที่เข้าถึงเครือข่ายแบบสาธารณะ ก็จะสามารถดักจับการรับส่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ รวมถึงดักฟัง หรือแม้แต่ขัดขวางการสื่อสารระหว่างสองเครื่อง และขโมยข้อมูลส่วนตัวไปได้ การโจมตีแบบ MitM เป็นปัญหาด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงอย่างมากเลย  …

นักวิจัยสหรัฐขโมยข้อมูล ‘การแพทย์’ ไปขายที่จีน

Loading

  สมคบคิดกันก่อเหตุขโมยความลับทางการค้าเพื่อผลประโยชน์ทางการเงิน การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้น ต้องป้องกันทั้งภัยคุกคามที่มาจากภายนอกและภัยคุกคามที่เกิดขึ้นภายใน ท่านคงเคยอ่านบทความของผมที่กล่าวถึง “ภัยคุกคามจากภายใน (Insider Threat)” ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่เกิดจากบุคคลในองค์กรเอง บางครั้งเกิดจากความไม่ตั้งใจ เช่น ความผิดพลาดของการใช้ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ฯลฯ แต่ในบางครั้งก็เกิดจากความประสงค์ร้ายจากบุคคลที่แฝงตัวมาในองค์กร บทความนี้ผมมีตัวอย่างของ Insider Threat ที่เกิดจากความตั้งใจมาเล่าให้ท่านฟังครับ เรื่องนี้เกิดขึ้นที่สหรัฐฯ ซึ่งผู้ก่อเหตุเป็นนักวิจัยในโรงพยาบาลเด็กที่สหรัฐฯ ได้รับสารภาพว่า สมคบคิดก่อเหตุขโมยความลับทางการค้าด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับถุงที่ส่งออกภายนอกเซลล์ (Exosomes) ของสถาบันวิจัยโรงพยาบาลเด็กทั่วประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางการเงินของเธอเอง โดยเธอถูกตัดสินจําคุก 30 เดือน โดยศาลแขวงสหรัฐฯ นักวิจัยคนนี้ทํางานในห้องปฏิบัติการวิจัยทางการแพทย์ที่สถาบันวิจัยตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2017 ส่วนสามีของเธอที่เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดนั้นทำงานที่สถาบันวิจัยตั้งแต่ปี 2008 จนถึง 2018 สองสามีภรรยาร่วมกันสมคบคิดในการขโมยและสร้างรายได้จากการวิจัย Exosomes ซึ่งเป็นการวิจัยที่มีบทบาทสําคัญในการระบุและรักษาอาการต่างๆ เช่น พังผืดในตับ มะเร็งตับ และลําไส้อักเสบ ซึ่งจะพบได้ในทารกที่คลอดก่อนกําหนด เอกสารจากศาลระบุว่า หลังจากขโมยความลับทางการค้านักวิจัยรายนี้สร้างรายได้ให้ตนเองผ่านการสร้างและขายชุดแยก Exosomes ผ่านบริษัทของเธอที่ประเทศจีน โดยเอฟบีไอกล่าวว่า การลงโทษนักวิจัยรายนี้จะช่วยให้สามารถยับยั้งผู้ประสงค์ร้ายที่ต้องการก่อเหตุในลักษณะเดียวกัน โดยเอฟบีไอจะทํางานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรเพื่อให้แน่ใจว่าสหรัฐฯ ยังคงเป็นผู้นําระดับโลกด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี Insider…

สหรัฐพบ “Emotet” มัลแวร์ขโมยข้อมูลระบาดทั่วโลกผ่านทางอีเมล

Loading

  พรูฟพอยต์ อิงค์ (Proofpoint Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยข้อมูลของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า พบผู้เสียหายจากมัลแวร์ Emotet (อีโมเท็ต) มากกว่า 2.7 ล้านรายทั่วโลกตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แม้ว่าเซิร์ฟเวอร์ของ Emotet ได้ถูกกำจัดไปแล้วก่อนหน้านี้ สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า Emotet ซึ่งถือว่าเป็นมัลแวร์อันตรายที่สุดในโลกนั้น ปรากฏขึ้นครั้งแรกในปี 2557 โดยมัลแวร์ดังกล่าวสามารถขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น รหัสผ่าน และติดตั้งโปรแกรมควบคุมระยะไกลโดยส่งมัลแวร์ผ่านทางอีเมลปลอมที่ส่งเป็นข้อความตอบกลับจากลูกค้าและเพื่อน พรูฟพอยต์รายงานว่า Emotet มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วสู่คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ผ่านไฟล์แนบในอีเมลในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยมีผู้เสียหายที่ได้รับการยืนยัน 90,000 รายในเดือน พ.ย. 2564 และมากกว่า 1.07 ล้านรายในเดือน ม.ค. 2565 จากนั้นในช่วงต้นเดือน ก.พ.ปีนี้ ก็ตรวจพบอีกมากกว่า 1.25 ล้านราย ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ตั้งข้อสงสัยว่า กลุ่มแฮกเกอร์ที่รอดจากการปราบปรามทั่วโลกเมื่อเดือน ม.ค. 2564 นั้น ได้เริ่มแพร่กระจาย Emotet เมื่อปลายปีที่แล้ว ก่อนหน้านี้ หน่วยงานใน…