ระวัง แฮกเกอร์ใช้เว็บเล่นวิดีโอเพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิตบนเว็บไซต์มากกว่า 100 เว็บ

Loading

  ระวัง แฮกเกอร์ใช้เว็บเล่นวิดีโอเพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิตบนเว็บไซต์มากกว่า 100 เว็บ การแฮกกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ข้อมูลจาก Techviral รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการหลอกลวง Whatsapp ที่มิจฉาชีพทางออนไลน์ส่งลิงก์ไปยังผู้ใช้ Whatsapp และขอให้พวกเขากรอกแบบสำรวจเพื่อรับรางวัล ตอนนี้แฮกเกอร์ใช้เว็บเล่นวิดีโอเพื่อขโมยบัตรเครดิตจากเว็บไซต์มากกว่า 100 แห่ง   ระวัง แฮกเกอร์ใช้เว็บเล่นวิดีโอเพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิตบนเว็บไซต์มากกว่า 100 เว็บ โดยแฮกเกอร์ใช้บริการโฮสติ้งวิดีโอบนคลาวด์ เพื่อโจมตีเว็บไซต์มากกว่าร้อยแห่งโดยการแอบใส่ Script ที่เป็นอันตราย Script เหล่านี้เรียกว่า skimmers หรือ formjackers สิ่งเหล่านี้ถูกใส่ข้าไปในเว็บไซต์เพื่อขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น รายละเอียดการชำระเงิน โดย Palo Alto Networks Unit42 ซึ่งเป็นบริษัทและเว็บไซต์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ได้ค้นพบการโจมตีแบบใหม่ โดยแฮกเกอร์ได้ใช้วิดีโอโฮสติ้งเมฆคุณสมบัติในการใส่โค้ดอันตรายในหน้าเล่นวิดีโอ เมื่อเว็บไซต์ตั้งค่าโปรแกรมเล่นวีดีโอนั้น จะแทรกสคริปต์ที่เป็นอันตราย และเว็บไซต์นี้ติดไวรัส ตามรายงานแคมเปญนี้โจมตีเว็บไซต์มากกว่า100 เว็บ มีการใช้แพลตฟอร์มวิดีโอบนคลาวด์เพื่อแพร่ระบาดในเว็บไซต์ เว็บวิดีโอบนคลาวด์ช่วยให้ผู้ใช้สร้างการเล่นวิดีโอที่มีสคริปต์ JavaScript ที่กำหนดเองและปรับแต่งเครื่องเล่นได้ เล่นวิดีโอที่กำหนดเองถูกฝังอยู่ในเว็บไซต์ที่ใช้ไฟล์…

ระบบอีเมลภายในของอิเกียถูกโจมตีอย่างหนักหน่วง

Loading

  อิเกียเตือนพนักงานเกี่ยวกับกรณีการโจมตีทางไซเบอร์อีเมลฟิชชิ่ง (phishing) มุ่งเป้าไปยังระบบอีเมลภายในบริษัท อีเมลเหล่านี้ยังถูกส่งมาจากองค์กรและหุ้นส่วนทางธุรกิจของอิเกียที่ถูกแฮกด้วยเช่นกัน การทำอีเมลฟิชชิ่งคือการปลอมแปลงอีเมลให้เสมือนว่ามาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ อาทิ เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และองค์กรที่มีตัวตนอยู่จริง เพื่อหลอกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลหรือส่งมัลแวร์เข้าไปยังอุปกรณ์ของผู้รับอีเมล “…การโจมตีอาจกระทำผ่านอีเมลของบุคคลที่ทำงานร่วมกับคุณ หรือองค์กรภายนอก ซึ่งอาจมาในรูปแบบของอีเมลตอบกลับในการสนทนาทางอีเมล ดังนั้นจึงตรวจพบได้ยาก เราจึงอยากให้ขอให้คุณใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ” อิเกียระบุในคำเตือนถึงพนักงาน   ตัวอย่างอีเมลฟิชชิ่งในระบบอีเมลของอิเกีย (ที่มา: Bleeping Computer)   ฝ่ายไอทีของอิเกียยังเตือนให้พนักงานระวังอีเมลที่มาพร้อมกับลิงก์ที่มีตัวเลข 7 หลักต่อท้าย ไม่ว่าจะถูกส่งมาจากผู้ใดทั้งสิ้น หากพบให้แจ้งฝ่ายไอทีทันที และให้แจ้งต่อผู้ส่งผ่านแชต Microsoft Teams ด้วย ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา อาชญากรทางไซเบอร์ได้เริ่มโจมตีระบบเซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange ภายใน โดยใช้ช่องโหว่ ProxyShell และ ProxyLogin ในการทำฟิชชิ่ง เมื่อคนเหล่านี้สามารถเจาะเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้แล้วก็จะทำการโจมตีระบบการโต้ตอบอีเมล (reply-chain) ต่อพนักงานด้วยอีเมลองค์กรที่ขโมยมา นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าผู้รับอีเมลอาจจะปล่อยอีเมลฟิชชิ่งออกจากระบบกักกัน (quarantine) ด้วยความเข้าใจผิดว่าตนเองอาจถูกระบบกักกันตรวจจับโดยผิดพลาด ทำให้ฝ่ายไอทีของอีเกียระงับความสามารถในการส่งออกอีเมลของพนักงาน จนกว่าการโจมตีจะสิ้นสุด “ระบบกรองอีเมลของเราสามารถตรวจจับและกักกันอีเมลอันตรายได้ในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากอีเมลเหล่านี้อาจมาในรูปแบบของการตอบกลับในการตอบโต้ทางอีเมล ผู้รับอาจเข้าใจผิดว่าระบบกรองอีเมลทำงานผิดพลาดได้โดยง่าย”…

FBI เตือนให้อัปเดตช่องโหว่เก่าของ Fortinet หลังพบหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นถูกโจมตี

Loading

  FBI ได้ประกาศเตือนอีกครั้งเกี่ยวกับช่องโหว่เก่าหลายรายการของผลิตภัณฑ์ Fortinet เพราะแม้จะมีแพตช์มานานนับปี แต่หลายองค์กรก็ยังบกพร่อง ซึ่งล่าสุดก็มีหน่วยงานรัฐบาลระดับท้องถิ่นของสหรัฐฯ ตกเป็นเหยื่อเพิ่มอีกรายจากสาเหตุดังกล่าว คำแถลงของ FBI กล่าวว่า “คนร้าย APT ได้เจาะระบบ Fortigate Appliance และเข้าถึงเครื่องโฮสต์ของเว็บเซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานรัฐบาลระดับท้องถิ่น โดยมีการสร้างแอคเค้าต์ที่ชื่อ ‘elie’ เพื่อใช้ปฏิบัติกิจกรรมอันตรายในเครือข่ายต่อไป” อย่างไรก็ดีแม้ FBI จะไม่ได้เจาะจงอย่างชัดเจนว่าหน่วยงานอะไรถูกเล่นงาน แต่ในคำเตือนได้กล่าวถึงช่องโหว่หลายรายการประกอบด้วย CVE-2018-13379 และ CVE-2020-12812 และ CVE-2019-5591 ทั้งนี้อาจนำไปสู่ถูกขโมยข้อมูล เข้ารหัสข้อมูล และอื่นๆ จะเห็นได้ว่าช่องโหว่ทั้งหมดนั้นถูกแพตช์มานานระยะหนึ่งแล้ว ประกอบกับการแจ้งเตือนอยู่จากผู้เชี่ยวชาญหลายครั้ง แต่ก็ยังมีหลายองค์กรที่ยังคงปล่อยทิ้งไว้ ซึ่ง FBI ก็ชี้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคนร้ายไม่ได้เจาะจงตัวเหยื่อแต่มุ่งไปที่การใช้งานช่องโหว่ของผลิตภัณฑ์เสียมากกว่า ดังนั้นอีกครั้งครับสำหรับใครที่ใช้งานก็ตรวจสอบตัวเองกันด้วย ที่มา : https://www.zdnet.com/article/fbi-issues-warning-about-fortinet-vulnerabilities-after-apt-group-hacks-local-govt-office/   ——————————————————————————————————————————————— ที่มา :  TechTalkThai        / วันที่เผยแพร่   31 พ.ค.2564 Link…

มัลแวร์ตัวใหม่ StrRAT ส่งผ่านไฟล์ PDF ควบคุมเครื่อง ดูดข้อมูล บันทึกแป้นพิมพ์

Loading

  ช่วงนี้ต้องยอมรับว่ามีมัลแวร์หลายตัวที่เกิดขึ้นใหม่ และแฮกเกอร์มักจะเลือกใช้ไฟล์ PDF เป็นอาวุธในการโจมตี (อาจจะเพราะอัตราคนคลิกเยอะ) ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แฮกเกอร์พวกนี้เลือกใช้ครับ และวันนี้ มีมัลแวร์ตัวใหม่เกิดขึ้น อยากขอเวลาสัก 1 นาที อัปเดตกันนิดนึงนะ (เพื่อความปลอดภัยในทรัพย์สินนะ ฮ่า ๆ ) โดยทีม Security ของ Microsoft เนี่ย ค้นพบมัลแวร์ชื่อ StrRAT ย่อมาจาก Serious threat : remote access trojan ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่ถูกส่งทาง PDF เป็นหลัก เป้าหมายของ StrRAT คือการเข้ามาขโมยรหัสผ่านของเหยื่อ ข้อมูลประจำตัวบนเบราว์เซอร์ บันทึกการกดแป้นพิมพ์ เพื่อที่แฮกเกอร์จะเอาไปทำอะไรบางอย่างได้ ยกตัวอย่างเช่น หากเรา Login เข้าอีเมล แฮกเกอร์จะรู้ทันทีว่า เราเข้าเว็บอะไร กดรหัสอะไร โดยดูจากข้อมูลแป้นพิมพ์ครับ ทั้งนี้ การโจมตีของแฮกเกอร์ พวกมันจะส่งไฟล์เป็น PDF มาให้ โดยอ้างสตอรี่ชวนให้ทำตาม เช่น…

“แอร์อินเดีย” ถูกแฮกเกอร์เจาะระบบขโมยข้อมูลลูกค้า 4.5 ล้านรายทั่วโลก

Loading

  แอร์อินเดียซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติของอินเดียเปิดเผยว่า กลุ่มแฮกเกอร์ได้ทำการขโมยข้อมูลลูกค้าของแอร์อินเดียราว 4.5 ล้านรายทั่วโลกในการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งล่าสุด แอร์อินเดียระบุในแถลงการณ์ที่เปิดเผยในวันศุกร์ (21 พ.ค.) ว่า ชื่อ, หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลเกี่ยวกับพาสปอร์ตของลูกค้าได้ถูกขโมยโดยกลุ่มแฮกเกอร์ แอร์อินเดียระบุว่า บริษัทกำลังดำเนินการเพิ่มความปลอดภัยให้กับเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกโจมตี และใช้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงกำลังประสานงานกับทางบริษัทบัตรเครดิต แอร์อินเดียประกาศในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมาว่า บริษัทได้รับแจ้งจากซิต้า (Sita) ซึ่งเป็นบริษัทประมวลผลข้อมูลของแอร์อินเดียในเดือนก.พ.ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเจาะนั้นเป็นข้อมูลที่มีการลงทะเบียนระหว่างเดือนส.ค. 2554 ถึงเดือนก.พ. 2564 “เราเสียใจเป็นอย่างยิ่งในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น และขอขอบคุณการสนับสนุนและความไว้วางใจที่มีมาอย่างต่อเนื่องจากผู้โดยสารของเรา” แอร์อินเดียระบุ ทั้งนี้ สายการบินจำนวนมากได้รับผลกระทบจากการแฮกข้อมูลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยสายการบินบริติชแอร์เวย์ของอังกฤษถูกปรับถึง 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว หลังจากที่ข้อมูลของลูกค้า 400,000 รายสูญหายไปจากการโจมตีทางไซเบอร์ในปี 2561 ส่วนคาเธ่ย์แปซิฟิคของฮ่องกงได้ถูกปรับเป็นเงิน 700,000 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากข้อมูลของลูกค้า 9 ล้านคนสูญหายไปในปี 2561 ขณะที่อีซี่เจ็ตซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำของอังกฤษเปิดเผยเมื่อปีที่แล้วว่า กลุ่มแฮกเกอร์ได้ขโมยข้อมูลเกี่ยวกับอีเมลและรายละเอียดการเดินทางของลูกค้าราว 9 ล้านราย   ———————————————————————————————————————————————————————- ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์       …

ระวัง SMS ปลอม อ้างเป็นธนาคาร มาใน message เดียวกับธนาคารจริง

Loading

    ระวัง SMS ปลอม อ้างเป็นธนาคาร มาใน message เดียวกันกับธนาคารของจริง โดยมาเป็นข้อความแปลกๆ ไม่น่ามาจากธนาคาร แต่มาอยู่ในกล่องของข้อความของธนาคารจริง จนมีการโพสต์ลงกระทู้ pantip อย่างไรก็ตาม ธนาคารที่ถูกแอบอ้างได้ตอบกลับแล้วว่าข้อความนี้ไม่ใช่ SMS ของทางธนาคาร แต่ hacker มีรูปแบบที่สามารถซ้อนในชื่อ SMS ของธนาคารจริงได้     ระวัง SMS ปลอม อ้างเป็นธนาคาร มาในกลุ่มข้อความเดียวกับธนาคารจริง ย้ำ ไม่มีนโยบายถามข้อมูลส่วนตัวและส่งลิงก์ ทั้งนี้ธนาคารทุกธนาคารในประเทศไทย ไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนตัว, บัตรประชาชน, ชื่อผู้ใช้งาน (user name), รหัสผ่าน (password), เลขที่บัญชี หรือแม้กระทั่ง รหัส OTP ผ่านทาง SMS ในลักษณะนี้ ดังนั้นหากพบข้อความและมาพร้อมลิงก์ทาง SMS ถือว่าของปลอมทั้งหมด ในกรณีเผลอคลิกลิงก์และกรอกข้อมูลลงไป เพื่อป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ท่านสามารถแจ้งรายละเอียด ชื่อ –…