ตำรวจ LA – FBI ผนึกกำลังหาตัว หัวขโมยปล้นเงินสดกว่าพันล้านบาท หนีลอยนวล

Loading

จ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (เอฟบีไอ) กำลังสอบสวนการปล้นเงินสดมูลค่าเกือบ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1,104 พันล้านบาท หลังคนร้ายได้งัดหลังคาคลังเก็บเงินในย่านซิลมาร์ ของนครลอสแอนเจลิส ก่อนที่จะพังตู้เซฟเพื่อนำเงินออกไปได้

ยูเครนทลายรังโจรไซเบอร์สร้างตลาดออนไลน์ปลอมหลอกเอาข้อมูลเหยื่อ

Loading

  ตำรวจยูเครนจับกุม 2 ผู้ต้องหา และคุมตัวผู้เกี่ยวข้องอีก 10 ราย สำหรับความเชื่อมโยงกับแก๊งอาชญากรรมไซเบอร์ที่ใช้วิธีฟิชชิ่งและเปิดตลาดออนไลน์ในการขโมยเงินกว่า 4.3 ล้านเหรียญ (ราว 146 ล้านบาท) จากเหยื่อ 1,000 รายทั่วยุโรป   แก๊งที่ว่านี้สร้างเว็บไซต์ดูดข้อมูลมากกว่า 100 แห่งเพื่อหลอกเอาข้อมูลบัตรธนาคารของเหยื่อ และล้วงข้อมูลบัญชี   เว็บไซต์เหล่านี้หลอกว่าขายผลิตภัณฑ์หลายตัวในราคาต่ำกว่าตลาด ซึ่งเมื่อเหยื่อเผลอกรอกข้อมูลทางการเงินเพื่อซื้อสินค้าเหล่านี้ ก็จะถูกขโมยข้อมูลทันที ก่อนจะสูญเงินไปทั้งหมด   นอกจากนี้ ยังมีการเปิดคอลเซ็นเตอร์ 2 แห่ง ตั้งอยู่ในเมืองวินนิตเซีย และลวิฟ ของยูเครน ซึ่งมีการจ้างพนักงานที่มีหน้าที่คอยดึงดูดให้เหยื่อเข้ามาซื้อสินค้า   เหยื่อมาจากหลายประเทศทั่วยุโรป ทั้ง เช็กเกีย โปแลนด์ ฝรั่งเศส สเปน และโปรตุเกส   2 ผู้ต้องหาสำคัญที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นหัวโจกถูกตั้งข้อหาฉ้อโกง และสร้างองค์กรอาชญากรรม มีโทษจำคุกสูงสุด 12 ปี ขณะที่เครือข่ายอีก 10 รายถูกเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรปคุมตัวไว้สอบสวนต่อไป   โดยตำรวจยูเครนได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของเช็กเกียจนนำมาสู่การทลายรังโจรในครั้งนี้…

หน่วยสืบราชการลับสหรัฐฯ เผยแฮ็กเกอร์จีนขโมยเงินมหาศาลไปจากกองทุนโควิด-19

Loading

  หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกา (Secret Service) เผยว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์แบบอำพรางขั้นสูง (APT) ที่มีรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนได้ขโมยเงินอย่างน้อย 20 ล้านเหรียญ (ราว 700 ล้านบาท) ไปจากกองทุนช่วยเหลือโควิด-19 ของสหรัฐฯ   แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า APT41 มีฐานปฏิบัติการอยู่ในมณฑลเฉิงตู ที่ผ่านมาเคยขโมยเงินจากกองทุนกู้ยืมธุรกิจขนาดเล็ก (SBA) และกองทุนประกันการว่างงานในมากกว่า 12 รัฐ   แต่หน่วยสืบราชการรัฐเชื่อว่าเหยื่อจริง ๆ อาจมีจำนวนมากกว่านั้นมาก โดยเผยว่ามีการสืบสวนมากกว่า 1,000 คดีที่กำลังดำเนินอยู่ คดีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการฉ้อโกงและการจารกรรมเงินจากกองทุนสาธารณะ   รอย ดอตสัน (Roy Dotson) ผู้ประสานงานด้านการกู้คืนจากการฉ้อโกงโรคระบาดแห่งชาติของหน่วยสืบราชการลับเชื่อว่าหาก APT41 จะโจมตีทั้ง 50 รัฐของสหรัฐฯ ก็ย่อมเป็นไปได้   สำนักข่าว NBC ชี้ว่าปฏิบัติการโจมตีของ APT41 เริ่มต้นในกลางปี 2020 จนส่งผลกระทบต่อ 2,000 บัญชีที่มีการทำธุรกรรมมากกว่า 40,000 รายการ ขณะที่…

OPERA1ER อาชญากรไซเบอร์ฝรั่งเศสขโมยเงินจากมากกว่า 15 ประเทศ

Loading

  ทีมข่าวกรองภัยคุกคามของ Group-IB เผยรายงานที่จัดทำร่วมกับทีมเผชิญเหตุทางไซเบอร์ของ Orange ที่ระบุว่ากลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหลักซึ่งมีรหัสเรียกขานว่า OPERA1ER ก่อเหตุโจรกรรมทางไซเบอร์ต่อธนาคารและองค์กรด้านโทรคมนาคมในแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา กว่า 15 ประเทศ ไปแล้วมากกว่า 30 ครั้ง   ปฏิบัติการของ OPERA1ER ขโมยเงินอยากเหยื่อรวมกันไปแล้วมากกว่า 30 ล้านเหรียญ (ราว 1,127 ล้านบาท) ในเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา   รูปแบบปฏิบัติการของทางกลุ่มเน้นการส่งอีเมลหลอกให้พนักงานของบริษัทต่าง ๆ ในการดาวน์โหลดมัลแวร์หลายประเภท อาทิ Backdoor (ช่องโหว่ทางลัดเข้าเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์ของเหยื่อ) Keylogger (ตัวติดตามการพิมพ์ของเหยื่อ) และ Password Stealer (ตัวขโมยรหัสผ่าน)   OPERA1ER ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ขโมยมาได้จากมัลแวร์เหล่านี้เข้าไปล็อกอินและควบคุมหลังบ้านขององค์กรต่าง ๆ เมื่อเจาะเข้าไปแล้ว อาชญากรกลุ่มก็จะใช้เครื่องมืออย่าง Cobalt Strike และ Metasploit ในการฝังตัวอยู่เป็นเวลาตั้งแต่ 3 – 12…

FBI เตือนภัยจาก BEC ขโมยเงินกว่า 43,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั่วโลก

Loading

Credit: ShutterStock.com ตัวเลข 43,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาจากรายงานอาชญากรรมต่อ FBI รวมไปถึงข้อมูลการบังคับใช้กฎหมายและการยื่นเอกสารต่อสถาบันการเงิน โดยมีธนาคารในเอเชียเป็นจุดหมายปลายทางหลักในการรับเงินที่ถูก BEC ขโมยไป มากสุดคือ ธนาคารไทย และฮ่องกง จีนมาเป็นอันดับสาม รองลงมาเป็นเม็กซิโกและสิงคโปร์ Business Email Compromise เป็นรูปแบบหนึ่งของการโจมตีแบบ Social Engineering โดย FBI ให้นิยามว่า เป็นการต้มตุ๋นทางอีเมลอันแยบยล ซึ่งมีเป้าหมายสำหรับธุรกิจที่มีการติดต่อกับพาร์ทเนอร์ต่างประเทศ และมีการโอนเงินหากันผ่านทาง Wire Transfer บ่อยครั้ง โดยปกติแล้ว BEC จะเริ่มต้นโดยการแฮ็คหรือปลอมแปลงอีเมลของผู้บริหารระดับสูง จากนั้นก็ใช้อีเมลดังกล่าวส่งไปยังพนักงานทั่วไปที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ แล้วหลอกให้ทำการโอนเงินไปยังบัญชีของแฮ็คเกอร์ที่อยู่ต่างประเทศ FBI เผยสถิติจากการรายงานข้อมูลการหลอกลวงทางการเงินในสหรัฐฯ จำนวน 50 รัฐ และอีก 177 ประเทศทั่วโลก โดยระหว่างเดือนกรกฎาคม 2562 ถึงเดือนธันวาคม 2564 มีอัตราเพิ่มขึ้น 65% สำหรับข้อมูลการสูญเสียที่เปิดเผยจากทั่วโลก นับว่าเป็นการสูญเสียจากการพยายามปล้นเงินทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในช่วงการระบาด COVID-19 มีจำนวน 140…

รู้จักการโจมตีบัตรเครดิตแบบ Enumeration Attacks เมื่อคนร้ายเดาเลขบัตรเครดิตโดยไม่ต้องรอข้อมูลรั่ว

Loading

ภาพโดย flyerwerk   วันนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาชี้แจงเหตุการณ์ผู้ใช้จำนวนมากถูกตัดเงินออกจากบัญชีหรือถูกสั่งจ่ายบัตรเครดิตเป็นการ “สุ่มข้อมูลบัตร” โดยไม่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าเป็นการสุ่มข้อมูลใดบ้าง (เฉพาะ CVV, ข้อมูลอื่นๆ, หรือเลขบัตร 16 หลักด้วย) อย่างไรก็ดีการโจมตีแบบสุ่มเลขบัตรนี้มีนานแล้ว และทาง Visa ก็ได้ออกรายงานแจ้งเตือนผู้เกี่ยวข้องเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา รายงานของ Visa ระบุถึงการโจมตีที่มาเป็นคู่กัน คือ enumeration attacks หรือการสุ่มเลข และ account testing ที่คนร้ายจะทดสอบตัดเงินยอดเล็กๆ เพื่อไม่ให้เป็นที่สงสัยก่อน หากเลขบัตรใดตัดเงินผ่านก็จะเก็บเอาไว้เพื่อนำข้อมูลไปขายหรือโจมตีรุนแรงภายหลัง กระบวนการสุ่มเลขนี้คนร้ายจะอาศัยการกรอกเลขเข้าไปยังร้านค้าอีคอมเมิร์ชยอดนิยม เนื่องจากร้านค้าเหล่านี้มีการส่งข้อความขอจ่ายเงินจำนวนสูงมาก จากนั้นคนร้ายจะยิงหมายเลขประจำธนาคาร (BIN), หมายเลขบัตร (PAN), วันหมดอายุ, หมายเลขยืนยัน (CVV), รวมถึงรหัสไปรษณีย์ของผู้ใช้ แล้วปล่อยให้ธนาคารผู้ออกบัตรปฎิเสธการจ่ายเงินไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีข้อมูลสักชุดที่จ่ายเงินสำเร็จ การโจมตีที่ต้องอาศัยการยิงข้อความขอจ่ายเงินจำนวนมากเช่นนี้ต้องอาศัยระบบระบบฝั่งผู้ค้าที่หละหลวม Visa พบว่า payment gateway หรือ shopping cart provider บางรายเข้าข่ายถูกโจมตีมากเป็นพิเศษ และผู้ให้บริการเหล่านี้มักได้รับความนิยมกับผู้ค้าบางกลุ่ม เช่นช่วงต้นปีที่ผ่านมา Visa พบอัตราการยิงทดสอบเลขบัตรเช่นนี้จากกลุ่มร้านขายยา, มหาวิทยาลัย,…