“ดีอีเอส” ปั้นเครือข่ายช่วยงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

Loading

  ดีอีเอสเปิดเวทีกิจกรรมสร้างการรับรู้ รับมือกับข่าวปลอม ภาคตะวันออก โฟกัสการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม สร้างเครือข่ายคนทำงานช่วยขับเคลื่อนภารกิจศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม   นายทศพล เพ็งส้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ดีอีเอส ได้จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ภาคตะวันออก ซึ่งกิจกรรมนี้ ได้มีการจัดต่อเนื่องทุกปี ครอบคลุม 4 ภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งภาคประชาสังคม และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหา และข่าวสารบิดเบือนที่เผยแพร่อยู่บนอินเทอร์เน็ต   “จากบริบทในปัจจุบัน ที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและโซเชียลอย่างกว้างขวาง ทำให้บางกลุ่มนำไปเป็นช่องทางบิดเบือนและเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นข่าวปลอม หรือทำกิจกรรมที่ส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน การทำงานร่วมกับเครือข่ายจึงมีความสำคัญ เพราะจะช่วยเป็นหูเป็นตา และหากหากพบว่ามีเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เช่น พนันออนไลน์ ลามกอนาจาร หมิ่นสถาบัน ละเมิดลิขสิทธิ์ และเข้าข่ายผิดกฎหมายอาหารและยา กระทรวงดีอีเอสจะดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายเป็นผู้ยื่นเรื่องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ปิดกั้นหรือลบข้อมูล”   สำหรับประชาชน หากพบเบาะแสหรือปัญหาเกี่ยวกับการหลอกลวงออนไลน์ และภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สามารถแจ้งมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 หรือสายด่วน 1441 ของตำรวจไซเบอร์ และสามารถแจ้งความออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ในคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี www.thaipoliceonline.com   สำหรับกิจกรรมสร้างการรับรู้ฯ ในปีนี้…

หลอกกู้เงิน-ปล่อยสินเชื่อ ยังเป็นข่าวปลอมอันดับหนึ่ง

Loading

  สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 13–19 พ.ค. 65 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบจำนวนข้อความที่เข้ามา 11,681,642 ข้อความ และอันดับต้นๆ ของข่าวกรองจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหลอกปล่อยสินเชื่อ กู้เงินออนไลน์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดจำนวนข้อความที่เข้ามา 11,681,642 ข้อความ หลังการคัดกรองแล้วมีข้อความที่ต้องดำเนินการ Verify จำนวน 221 ข้อความ รวมจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 122 เรื่อง     โดยนางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ข่าวปลอมที่คนสนใจสูงสุด 10 อันดับ คือ อันดับ 1 กรุงไทยเปิดสินเชื่อส่วนบุคคลแบบหมุนเวียน ยืมได้ 100,000 บาท ผ่อนเดือนละ 300 บาท กู้ได้ทุกอาชีพ อันดับ 2 แอปเป๋าตัง ให้กู้เงิน 1 หมื่นบาท ลงทะเบียนได้ทุกอาชีพ…

Meta ชี้ว่าแฮกเกอร์เบลารุสพยายามหลอกให้กองทัพยูเครนยอมแพ้

Loading

  Meta ระบุในรายงานความมั่นคงปลอดภัยประจำไตรมาสว่า UNC1151 กลุ่มแฮกเกอร์จากเบลารุสพยายามแฮกเข้าไปยังบัญชี Facebook ของบุคลากรทางการทหารของยูเครนจำนวนมากเพื่อโพสต์วีดิโอเรียกร้องให้กองทัพยูเครนยอมแพ้   การแฮกในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งปฏิบัติการแฮกที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า ‘Ghostwriter’ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลเบลารุส พันธมิตรสำคัญของรัสเซีย   อย่างไรก็ดี ปฏิบัติการแฮกดังกล่าวสามารถเข้าควบคุมได้เพียงไม่กี่บัญชีเท่านั้น และในกรณีที่สามารถควบคุมบัญชีได้และพยายามโพสต์วีดิโอปลอม ทาง Meta ก็สามารถยับยั้งไม่ให้วีดิโอเหล่านี้ถูกนำไปเผยแพร่ต่อได้   นอกจากความพยายามในการแฮกบุคลากรทางการทหารของยูเครนแล้ว รายงานของ Meta ยังได้เผยให้เห็นถึงความพยายามในการโจมตีผู้สนับสนุนยูเครนด้วยวิธีการในทางลับรูปแบบอื่น อย่างหน่วย KGB ของเบลารุสที่พยายามยุยงให้มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลโปแลนด์ (ซึ่งต่อต้านรัสเซียและสนับสนุนยูเครน) ในกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์ แต่โชคดีที่ Meta สามารถปิดบัญชีเจ้าปัญหาได้ทัน   ที่มา The Verge     ————————————————————————————————————————————————– ที่มา : Beartai                 / วันที่เผยแพร่ 10 เม.ย.65 Link…

ดีอีเอส สรุป 10 อันดับ “ข่าวปลอม” ประเด็นปากท้อง-สุขภาพคนสนใจมากสุด

Loading

    ดีอีเอส สรุป 10 อันดับ “ข่าวปลอม” สัปดาห์นี้ พบคนสนใจประเด็นเศรษฐกิจปากท้องและสุขภาพมากสุด เจอบ่อย “ออมสิน” ปล่อยกู้ดอกเบี้ยถูก – งดใช้ตู้ ATM กรุงไทย   วันที่ 19 มีนาคม 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ “ดีอีเอส” สรุปผลการมอนิเตอร์สถานการณ์รอบสัปดาห์ของศูนย์ต่อต้าน “ข่าวปลอม” พบ 10 อันดับ ข่าวที่ได้รับความสนใจมากสุด เกาะกลุ่มประเด็นเศรษฐกิจปากท้องและสุขภาพ   นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้ง “ข่าวปลอม” ประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 11-17 มี.ค. 2565 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม คัดกรองแล้วพบว่า มีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 230 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 113 เรื่อง  …

รัสเซีย ผ่านกฎหมายต้าน ข่าวปลอม ด้อยค่า กองทัพ โทษจำคุกสูงสุด 15 ปี

Loading

  รัสเซีย ผ่านกฎหมายต้าน ข่าวปลอม ด้อยค่า กองทัพ โทษจำคุกสูงสุด 15 ปี สั่งระงับสื่อแล้วหลายสำนัก อ้างเผยแพร่ข้อมูลเท็จปม ยูเครน   วันที่ 4 มี.ค.65 สภาผู้แทนราษฎรของรัสเซีย หรือ สภาดูมา ผ่านร่างกฎหมายต่อต้านการแพร่ข่าวปลอมหรือข้อมูลที่เป็นเท็จเกี่ยวกับกองทัพ หากฝ่าฝืนจะมีทั้งโทษปรับและโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี โดยหลายฝ่ายมองว่าเป็นการตอบโต้ของรัสซีย ในสงครามข้อมูลข่าวสาร จากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน   “กฎหมายจะมีผลบังคับตั้งวันพรุ่งนี้ โดนจะมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวดต่อผู้ที่โกหกและเผยแพร่ข้อมูลด้อยค่ากองทัพรัสเซีย” นายยาเชสลาฟ โวโลดิน ประธานสภาดูมา กล่าว   ทางการรัสเซียระบุว่า ปัจจุบันมีการเผยแพร่ข่าวปลอมจากศัตรูของรัสเซียอย่างสหรัฐฯ และประเทศยุโรปตะวันตก ที่พยายามสร้างความแตกแยกในหมู่ชาวรัสเซีย   ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กล่าวว่า ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนนั้น มีเพื่อรับประกันความปลอดภัยของรัสเซีย หลังสหรัฐฯ พยายามขยายอิทธิพลขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต (NATO) เข้ามาประชิดชายแดนรัสเซีย   โดยที่ผ่านมา ทางการรัสเซีย ไม่ใช้คำว่า “การรุกราน”…

ดีอีเอสพบมือปั่นข่าวปลอม มั่วข่าวสารราชการเชื่อมโยงประเด็นโควิด

Loading

  โฆษกดีอีเอส เตือนประชาชนรู้เท่าทันข่าวปลอม พบกลุ่มดิสเครดิตรัฐบาลปั้นข่าวปลอมข่าวสารราชการอิงประเด็นโควิด เรียกกระแสความสนใจ และสร้างความตื่นตระหนกให้คนที่หลงเชื่อ   น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 11-17 ก.พ.65 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข้อความที่เข้ามา จำนวน 11,465,622 ข้อความ โดยจากการคัดกรองมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 215 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 107 เรื่อง โดยเป็นเรื่องโควิด 34 เรื่อง   ขณะเดียวกัน พบแนวโน้มการสร้างข่าวปลอม และบิดเบือนข้อมูลในกลุ่มนโยบายรัฐบาล/ข่าวสารทางราชการ ที่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวัง เนื่องจากหลายข่าวจะมีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในกระแสความสนใจของประชาชนติดตามข่าวสาร เพื่อล่อลวงให้คนเข้ามาคลิกอ่าน ตื่นตระหนก หลงเชื่อ และแชร์ข่าวปลอมโดยรู้ไม่เท่าทันผู้ไม่ประสงค์ดี   โดยจากจำนวนเรื่องที่ประสานงานและได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 60 เรื่องในรอบสัปดาห์ล่าสุด พบข่าวปลอมในกลุ่มนี้ ได้แก่ ข่าวคลิปเสียงการประชุมที่กระทรวงสาธารณสุข เรื่องรัฐบาลไม่เปิดเผยข้อมูลวัคซีนโควิด-19 กับประชาชน และข่าวเอกสารเกี่ยวกับการพิจารณาวัคซีนของทางสำนักงานอาหารและยา อีกทั้งมีการเผยแพร่ข่าวปลอมหวังสร้างความตื่นตระหนกให้ประชาชน โดยเชื่อมโยงกับความกลัวที่เกี่ยวเนื่องกับโรคโควิด…