Meta ชี้ว่าแฮกเกอร์เบลารุสพยายามหลอกให้กองทัพยูเครนยอมแพ้

Loading

  Meta ระบุในรายงานความมั่นคงปลอดภัยประจำไตรมาสว่า UNC1151 กลุ่มแฮกเกอร์จากเบลารุสพยายามแฮกเข้าไปยังบัญชี Facebook ของบุคลากรทางการทหารของยูเครนจำนวนมากเพื่อโพสต์วีดิโอเรียกร้องให้กองทัพยูเครนยอมแพ้   การแฮกในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งปฏิบัติการแฮกที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า ‘Ghostwriter’ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลเบลารุส พันธมิตรสำคัญของรัสเซีย   อย่างไรก็ดี ปฏิบัติการแฮกดังกล่าวสามารถเข้าควบคุมได้เพียงไม่กี่บัญชีเท่านั้น และในกรณีที่สามารถควบคุมบัญชีได้และพยายามโพสต์วีดิโอปลอม ทาง Meta ก็สามารถยับยั้งไม่ให้วีดิโอเหล่านี้ถูกนำไปเผยแพร่ต่อได้   นอกจากความพยายามในการแฮกบุคลากรทางการทหารของยูเครนแล้ว รายงานของ Meta ยังได้เผยให้เห็นถึงความพยายามในการโจมตีผู้สนับสนุนยูเครนด้วยวิธีการในทางลับรูปแบบอื่น อย่างหน่วย KGB ของเบลารุสที่พยายามยุยงให้มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลโปแลนด์ (ซึ่งต่อต้านรัสเซียและสนับสนุนยูเครน) ในกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์ แต่โชคดีที่ Meta สามารถปิดบัญชีเจ้าปัญหาได้ทัน   ที่มา The Verge     ————————————————————————————————————————————————– ที่มา : Beartai                 / วันที่เผยแพร่ 10 เม.ย.65 Link…

ดีอีเอส สรุป 10 อันดับ “ข่าวปลอม” ประเด็นปากท้อง-สุขภาพคนสนใจมากสุด

Loading

    ดีอีเอส สรุป 10 อันดับ “ข่าวปลอม” สัปดาห์นี้ พบคนสนใจประเด็นเศรษฐกิจปากท้องและสุขภาพมากสุด เจอบ่อย “ออมสิน” ปล่อยกู้ดอกเบี้ยถูก – งดใช้ตู้ ATM กรุงไทย   วันที่ 19 มีนาคม 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ “ดีอีเอส” สรุปผลการมอนิเตอร์สถานการณ์รอบสัปดาห์ของศูนย์ต่อต้าน “ข่าวปลอม” พบ 10 อันดับ ข่าวที่ได้รับความสนใจมากสุด เกาะกลุ่มประเด็นเศรษฐกิจปากท้องและสุขภาพ   นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้ง “ข่าวปลอม” ประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 11-17 มี.ค. 2565 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม คัดกรองแล้วพบว่า มีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 230 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 113 เรื่อง  …

รัสเซีย ผ่านกฎหมายต้าน ข่าวปลอม ด้อยค่า กองทัพ โทษจำคุกสูงสุด 15 ปี

Loading

  รัสเซีย ผ่านกฎหมายต้าน ข่าวปลอม ด้อยค่า กองทัพ โทษจำคุกสูงสุด 15 ปี สั่งระงับสื่อแล้วหลายสำนัก อ้างเผยแพร่ข้อมูลเท็จปม ยูเครน   วันที่ 4 มี.ค.65 สภาผู้แทนราษฎรของรัสเซีย หรือ สภาดูมา ผ่านร่างกฎหมายต่อต้านการแพร่ข่าวปลอมหรือข้อมูลที่เป็นเท็จเกี่ยวกับกองทัพ หากฝ่าฝืนจะมีทั้งโทษปรับและโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี โดยหลายฝ่ายมองว่าเป็นการตอบโต้ของรัสซีย ในสงครามข้อมูลข่าวสาร จากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน   “กฎหมายจะมีผลบังคับตั้งวันพรุ่งนี้ โดนจะมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวดต่อผู้ที่โกหกและเผยแพร่ข้อมูลด้อยค่ากองทัพรัสเซีย” นายยาเชสลาฟ โวโลดิน ประธานสภาดูมา กล่าว   ทางการรัสเซียระบุว่า ปัจจุบันมีการเผยแพร่ข่าวปลอมจากศัตรูของรัสเซียอย่างสหรัฐฯ และประเทศยุโรปตะวันตก ที่พยายามสร้างความแตกแยกในหมู่ชาวรัสเซีย   ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กล่าวว่า ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนนั้น มีเพื่อรับประกันความปลอดภัยของรัสเซีย หลังสหรัฐฯ พยายามขยายอิทธิพลขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต (NATO) เข้ามาประชิดชายแดนรัสเซีย   โดยที่ผ่านมา ทางการรัสเซีย ไม่ใช้คำว่า “การรุกราน”…

ดีอีเอสพบมือปั่นข่าวปลอม มั่วข่าวสารราชการเชื่อมโยงประเด็นโควิด

Loading

  โฆษกดีอีเอส เตือนประชาชนรู้เท่าทันข่าวปลอม พบกลุ่มดิสเครดิตรัฐบาลปั้นข่าวปลอมข่าวสารราชการอิงประเด็นโควิด เรียกกระแสความสนใจ และสร้างความตื่นตระหนกให้คนที่หลงเชื่อ   น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 11-17 ก.พ.65 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบข้อความที่เข้ามา จำนวน 11,465,622 ข้อความ โดยจากการคัดกรองมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 215 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 107 เรื่อง โดยเป็นเรื่องโควิด 34 เรื่อง   ขณะเดียวกัน พบแนวโน้มการสร้างข่าวปลอม และบิดเบือนข้อมูลในกลุ่มนโยบายรัฐบาล/ข่าวสารทางราชการ ที่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวัง เนื่องจากหลายข่าวจะมีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในกระแสความสนใจของประชาชนติดตามข่าวสาร เพื่อล่อลวงให้คนเข้ามาคลิกอ่าน ตื่นตระหนก หลงเชื่อ และแชร์ข่าวปลอมโดยรู้ไม่เท่าทันผู้ไม่ประสงค์ดี   โดยจากจำนวนเรื่องที่ประสานงานและได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 60 เรื่องในรอบสัปดาห์ล่าสุด พบข่าวปลอมในกลุ่มนี้ ได้แก่ ข่าวคลิปเสียงการประชุมที่กระทรวงสาธารณสุข เรื่องรัฐบาลไม่เปิดเผยข้อมูลวัคซีนโควิด-19 กับประชาชน และข่าวเอกสารเกี่ยวกับการพิจารณาวัคซีนของทางสำนักงานอาหารและยา อีกทั้งมีการเผยแพร่ข่าวปลอมหวังสร้างความตื่นตระหนกให้ประชาชน โดยเชื่อมโยงกับความกลัวที่เกี่ยวเนื่องกับโรคโควิด…

รัฐสภายุโรปผ่านกฎหมายบริการดิจิทัล มีหน้าที่ต้องลบเนื้อหาผิดกฎหมาย-ข่าวปลอม

Loading

  สัปดาห์ที่แล้ว รัฐสภายุโรปผ่านกฎหมายดิจิทัลสำคัญฉบับหนึ่งคือ Digital Services Act (ต่อไปจะย่อ DSA) ด้วยคะแนน 530 ต่อ 78 เสียง (งดออกเสียง 80) กฎหมายฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อกำกับดูแลแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียและอีคอมเมิร์ซ ที่มีภาระความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ในการนำเนื้อหาหรือสินค้าผิดกฎหมายออกจากแพลตฟอร์มภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเนื้อหาผิดกฎหมาย ข่าวปลอม สินค้าผิดกฎหมาย ในกรณีที่เป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ (very large online platforms หรือ VLOP) ยังมีหน้าที่ต้องนำเนื้อหาที่อันตราย (harmful ซึ่งอาจไม่ผิดกฎหมาย) และข่าวปลอมออกจากแพลตฟอร์ม รวมถึงต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระ และเปิดเผยอัลกอริทึมที่ใช้คัดเลือกเนื้อหามาแสดงด้วย กฎหมาย DSA ยังมีประเด็นเรื่องการโฆษณาแบบเจาะจงบุคคล (targeted advertising) ที่ต้องโปร่งใสและเปิดให้ผู้ใช้เลือกได้โดยง่าย , การชดเชยความเสียหายเป็นตัวเงินหากแพลตฟอร์มไม่ยอมปฏิบัติตาม เป็นต้น รัฐสภายุโรปยังมีกฎหมายคู่กันอีกฉบับคือ Digital Markets Act (DMA) ที่ควบคุมพฤติกรรมของแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ให้ผูกขาดหรือใช้อิทธิพลไปกลั่นแกล้งคู่แข่ง ตอนนี้ยังอยู่ในชั้นพิจารณาของสภา ที่มา – European…

คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทักษะที่จำเป็น บนโลกออนไลน์

Loading

  การรับมือข้อมูลหลอกลวงและข่าวปลอม ที่แชร์อยู่ในโลกออนไลน์นั้น เราต้องวิเคราะห์และตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนทุกครั้งที่จะแชร์ข่าวเท็จ หรือนำเสนอต่อบุคคลอื่น ในปัจจุบัน ในแต่ละนาทีมีข่าวสารที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งต่างกับอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนอย่างสิ้นเชิง เราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทางและรวดเร็วมากกว่าในอดีต เช่น จากสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นมาจากหลายแหล่งที่มา ทั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้และไม่น่าเชื่อถือ ผู้รับข่าวสารจำนวนมากอาจไม่สามารถวิเคราะห์และการกลั่นกรองข่าวสารที่ได้รับว่าจริงหรือปลอม จึงหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมทั้งอาจมีส่วนร่วมในการสร้างความเสียหายให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยแชร์ข่าวเท็จหรือแบ่งปันข้อมูลเท็จที่ได้รับ การแชร์ข้อมูลเท็จที่ได้รับมานั้น สร้างความเสียหายและผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมเกิดขึ้นต่อตัวบุคคลผู้แชร์ข้อมูล หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง ทำให้ความน่าเชื่อถือของตนเองลดลง รวมทั้งเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย ส่งผลให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีและเสียค่าปรับต่างๆ หรือกระจายข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้ผู้อื่นหลงกรอกข้อมูลหรือเป็นเหยื่อจากลิงก์หรือข่าวที่เราแชร์   ดังนั้น เราต้องมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลว่า ข่าวปลอมนั้นมีลักษณะและมีช่องทางที่มาอย่างไร โดยทั่วไป ลักษณะและการหลอกลวงที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ มีดังนี้ 1.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเพิ่มองค์ประกอบเพื่อสร้างความน่าเชื่อ ประเด็นความน่าสนใจโดยส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเชิงลบ เพื่อสร้างกระแสและเป็นประเด็นในวงกว้าง และสร้างความอยากรู้อยากเห็นของคนทั่วไป เช่น “คิดอย่างไรกับสถานการณ์นี้” หรือ “พบสมุนไพรไทยช่วยต้านโควิด-19” 2.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นจะชักนำไปในเรื่องของความเชื่อเพื่อเล่นกับความรู้สึกของบุคคล เพราะโดยทั่วไปพฤติกรรมของคนมักแบ่งการรับรู้ออกเป็นสองด้าน เช่น ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 3.เป็นข่าวที่มีผลกระทบกับความเชื่อมั่น แบ่งแยกมุมมองและสื่อสารไปกับเฉพาะกลุ่ม โดยเป็นข่าวสารหรือข้อมูลตามสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลเก่าที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วนำมาสร้างกระแสใหม่ เพื่อสร้างผลกระทบต่อคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ อีกครั้ง…