ระวัง!! หมอพร้อม ไม่มีเวอร์ชั่นเว็บไซต์ มีแต่แอปบนมือถือเท่านั้น หากกรอกข้อมูลบนเว็บคือเว็บปลอม!!

Loading

  ระวัง!! หมอพร้อม ไม่มีเวอร์ชั่นเว็บไซต์ สาธารณสุข เตือนประชาชน เว็บไซต์หมอพร้อม (หรือที่ขึ้นต้นด้วย w.w.w.หมอพร้อม) ไม่ใช่ของรัฐ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสาธารณสุข ใดๆทั้งสิ้น.. หมอพร้อมของแท้ จากทางกระทรวงสาธารณสุข จะใช้แอพ หมอพร้อม และทางไลน์ เท่านั้น ดังนั้น อย่าไปหลงเชื่อ,ไปให้ข้อมูลส่วนตัว หรือกดเข้าไปดูเด็ดขาด เพราะอาจจะสูญเสียข้อมูลสำคัญและทำให้มิจฉาชีพนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดได้   ระวัง!! หมอพร้อม ไม่มีเวอร์ชั่นเว็บไซต์ มีแต่แอปหรือบน LINE ผ่านมือถือเท่านั้น     จากกรณีการเผยแพร่ลิงก์เว็บไซต์ หมอพร้อม.com ทางกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเว็บไซต์ดังกล่าวและชี้แจงว่า เว็บไซต์ชื่อ หมอพร้อม.com เป็นเว็บปลอม ไม่ใช่เว็บไซต์ที่กระทรวงสาธารณสุขพัฒนาขึ้นแต่อย่างใด และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บดังกล่าว โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลการได้รับวัคซีนของประชาชน ภายใต้ชื่อ หมอพร้อม ซึ่งรองรับการใช้งานผ่าน Application หมอพร้อม และ Line หมอพร้อม เท่านั้น LINE OA…

ข่าวปลอม! ถ่ายภาพในสถานีรถไฟหัวลำโพง ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น

Loading

  จากกรณีที่มีการให้ข้อมูลว่า สถานีรถไฟหัวลำโพงได้ประกาศห้ามถ่ายภาพในสถานี ซึ่งหากจะถ่ายต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ได้ทำการห้ามถ่ายรูป ในบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แต่อย่างใด ยืนยันไม่มีการปิดประกาศห้าม ผู้ที่โดยสารรถไฟหรือบุคคลทั่วไปสามารถถ่ายได้ตามปกติ วันนี้ (13 ก.ย.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่าตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ถ่ายภาพในสถานีรถไฟหัวลำโพง ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการให้ข้อมูลว่า สถานีรถไฟหัวลำโพงได้ประกาศห้ามถ่ายภาพในสถานี ซึ่งหากจะถ่ายต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคมได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ได้ทำการห้ามถ่ายรูป ในบริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แต่อย่างใด ยืนยันไม่มีการปิดประกาศห้าม ผู้ที่โดยสารรถไฟหรือบุคคลทั่วไปสามารถถ่ายได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้ขอความร่วมมือประชาชนให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย เนื่องจากที่ผ่านมามีหลายกรณีที่ถ่ายรูปไม่เหมาะสม อนาจาร และหลายกรณีถ่ายในบริเวณพื้นที่อันตราย ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรืออันตรายได้ เช่น บริเวณรางรถไฟ หรือขบวนรถไฟเปล่า ที่อาจมีการพลาดพลั้ง หรือเกิดอุบัติเหตุได้ อีกกรณีที่พบมากคือการถ่ายแบบแฟชั่นของร้านเสื้อผ้าที่ยกอุปกรณ์การถ่ายทำเข้ามาใช้ถ่ายทำโดยไม่ได้ขออนุญาต ซึ่งพบว่าบางกรณีสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ที่มาใช้บริการของสถานีรถไฟหัวลำโพง และในบางกรณีทำการถ่ายทำกันในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย จึงอยากขอความร่วมมือหากจะเข้ามาถ่ายทำการถ่ายแฟชั่นในรูปแบบดังกล่าวกรุณาทำหนังสือเพื่อขออนุญาต และเพื่อความปลอดภัยของทีมงานรวมถึงความปลอดภัยของพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเองด้วย ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง…

สังคมโลก : ยุคเฟคนิวส์

Loading

  พรรคประชาธิปไตยเกาหลีหรือ ดีพีเค (DemocraticParty of Korea : DPK) พรรครัฐบาลเกาหลีใต้ ใกล้บรรลุเป้าหมายผลักดันกฎหมายสื่อสารมวลชนฉบับแก้ไขใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายต่อสู้กับข่าวปลอมหรือข่าวบิดเบือน ที่กำลังสร้างความปั่นป่วน ในทุกภาคส่วนสังคมของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ร่างกฎหมาย Acton Press Arbitration and Remedies ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ของรัฐสภาเกาหลีใต้ เมื่อปลายเดือนก.ค. และผ่านขั้นกรรมาธิการ เมื่อวันที่ 25ส.ค. ที่ผ่านมา และคาดว่าจะผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมรัฐสภา ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้โดยสมบูรณ์ในอีกไม่นาน กฎหมายสื่อฉบับใหม่กำหนดบทลงโทษปรับหนักขึ้น 5 เท่า สำหรับความผิดฐานตีพิมพ์เผยแพร่รายงาน ที่เป็นเท็จหรือบิดเบือน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของผู้เสียหาย หรือทำให้เกิดภาวะบีบคั้นทางจิตใจ ไม่ว่าการเผยแพร่จะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ยังกำหนดให้สำนักข่าวหรือองค์กรสื่อ รวมถึงเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ต้องแก้ไขความผิดพลาด หรือชี้แจงข้อเท็จจริงโดยระบุว่า เป็นการเผยแพร่โดยตั้งใจหรือ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ระบุชัดคำนิยามของ “ข้อมูลเท็จหรือบิดเบือน” นอกจากนั้น การกำหนดค่าเสียหายกฎหมายกำหนดให้ศาลพิจารณาจาก “อิทธิพลทางสังคม และยอดจำหน่าย” ขององค์กรสื่อ ซึ่งหมายความว่าหากเป็นหนังสือพิมพ์ สำนักข่าว สถานีโทรทัศน์…

เรียนรู้ที่จะอยู่กับเฟคนิวส์

Loading

  เฟคนิวส์ กับ สื่อดิจิตัล หรือสื่อโซเชียล สื่อออนไลน์ แล้วแต่จะเรียก ดูจะเป็นของคู่กัน ไม่ใช่ว่าสื่อยุคก่อนไม่มีเฟคนิวส์ จริงๆแล้วมีเช่นเดียวกัน แต่สื่อขณะนั้นเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ ที่ไม่รวดเร็ว กว้างไกล แบบสื่อดิจิตัล และสื่อพวกนี้มีจรรยาบรรณที่ยึดถือ “ เสรีภาพพร้อมความรับผิดชอบ” แต่โลกสมัยใหม่ที่คนสื่อสารผ่านสื่อดิจิตัล คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว กว้างขวาง และง่ายขึ้น ทุกคนมีสิทธิเข้าถึงสื่อดิจิตัล พร้อมเสรีภาพในการแสดงออก แต่ไม่เคยพูดถึงความรับผิดชอบ ปัจจุบัน ทั้งผู้ใหญ่และเด็กต่างก็มีโทรศัพท์มือถือที่ใช้ติดต่อถึงกันและรับข้อมูลข่าวสาร เฟคนิวส์จึงถูกใช้ผ่านสื่อนี้มากขึ้น   คำว่า “เฟค นิวส์” เราใช้เป็นคำรวมเรียกข่าวที่ไม่จริง ไม่ว่าจะเป็นข่าวปลอม ข่าวปล่อย ข่าวลวง ข่าวหลอก ข่าวลือ ฯลฯ สรุปแล้วคือข่าวที่ไม่จริงนั่นเอง หรือข่าวบิดเบือน หรือจริงบางส่วน เท็จบางส่วน คงไม่มีใครปล่อยข่าวเท็จทั้งหมดจนคนรู้ทัน คนที่ปล่อยเฟคนิวส์มีความมุ่งหมายที่จะทำให้คนเข้าใจผิดและกระทำการในสิ่งที่ตนต้องการ เช่น สร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง ก่อการจลาจล ต่อต้านรัฐบาล หลงด่ารัฐบาล หรือทำลายสถาบันหลักของชาติ ฯลฯ   สภาพสังคมไทยปัจจุบัน…

อินฟลูเอนเซอร์ฝรั่งเศสเผยถูกชักชวนแชร์ข่าวปลอมเรื่องวัคซีนไฟเซอร์ แลกเงินก้อนโต

Loading

  สำนักข่าวเอพี รายงานว่า เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ หรือ คนดังที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในฝรั่งเศส เปิดเผยว่า บริษัทโฆษณาลึกลับได้เสนอเงินก้อนหนึ่งแลกกับการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกัคนดังที่มีอิทธิพลPfizerบข้อเสียของวัคซีนโควิด-19 จากบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ลีโอ กราสเซ็ต ยูทูบเบอร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน เปิดเผยในวันอังคารว่า ตนได้รับข้อเสนอเป็นเงินก้อนใหญ่เพื่อให้เผยแพร่ข้อมูลว่า วัคซีนของไฟเซอร์สร้างความเสี่ยงถึงชีวิตแต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลและสื่อกระแสหลักต่างพยายามปิดข่าวนี้ แต่ตนได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว ขณะที่อินฟลูเอนเซอร์ชาวฝรั่งเศสอีกหลายคนที่มีผู้ติดตามจำนวนมากในทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ต่างเผยว่าได้รับข้อเสนอในลักษณะเดียวกัน กราสเซ็ต กล่าวว่า ผู้ที่ติดต่อตนมานั้นใช้ชื่อว่า แอนตัน (Anton) ซึ่งขอให้ตนจัดทำวิดีโอความยาว 45 – 60 วินาทีเพื่อโพสต์ทางอินสตาแกรม ยูทูบ และติกต็อก โดยให้บอกว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ฉีดวัคซีนจากบริษัทไฟเซอร์ สูงกว่าวัคซีนของบริษัทแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ถึงสามเท่า พร้อมให้กล่าวหาว่าเป็นความผิดของสหภาพยุโรปที่สั่งซื้อวัคซีนของไฟเซอร์จำนวนมาก ทั้งที่เป็นวัคซีนที่ผูกขาดและเป็นอันตราย แอนตันยังบอกด้วยว่าตนทำงานให้กับบริษัทโฆษณาชื่อ Fazze ซึ่งมีงบประมาณจำนวนมากสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 รวมทั้งวัคซีนของบริษัทต่าง ๆ ที่ผ่านการรับรองให้ใช้ในยุโรป แต่กราสเซ็ต บอกว่าตนได้ตอบปฏิเสธไปทางอีเมล์พร้อมทั้งได้แสดงหลักฐานเป็นอีเมล์ตอบโต้กับแอนตันให้ทางสำนักข่าวเอพีดูด้วย อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวเอพีระบุว่า เว็บไซต์ของบริษัท Fazze…

สกัดข่าวปลอม Google สร้างเครื่องมือใหม่ ให้ผู้ใช้ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง

Loading

  Google สร้างเครื่องมือใหม่ ให้ผู้ใช้ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง   ผลกระทบจากข่าวปลอมบนเว็บไซต์และโซเชียล ทำให้ Google ในฐานะผู้นำ Search engine ออกมาพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยผู้ใช้ตรวจสอบ Fake news หรือข่าวลวงบนออนไลน์ที่เปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วมแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากเรื่องที่แต่งขึ้นได้ ล่าสุด Google ได้แบ่งปันเคล็ดลับในการตรวจสอบข้อมูลที่เป็นเท็จ ที่เปิดให้ทุกคนเข้าถึงได้ ผ่านโครงการ GNI University Verification Challenge ร่วมกับนักศึกษาวารสารศาสตร์ทั่วเอเชีย รวมถึงสำนักข่าวต่างๆ พร้อมเผยเคล็ดลับสังเกตข้อมูลปลอม ข่าวลวงบนโซเชียล แบบง่ายๆ ที่ทำได้เอง ผ่าน 5 เครื่องมือนี้   1. ตรวจสอบข้อเท็จด้วย Fact Check Explorer หากไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่ถูกส่งต่อกันมาบนโซเชียลเป็นเรื่องจริงหรือจ้อจี้ ให้ลองค้นหาด้วย Fact Check Explorer เครื่องมือตรวจสอบข้อเท็จจริง มากกว่า 100,000 รายการ จากผู้เผยแพร่ที่เชื่อถือได้ทั่วโลก แค่เข้าไปเช็คที่ Fact Check Explorer https://toolbox.google.com/factcheck/explorer  …