ล้วงลึกปั่นข่าวลวง ‘สงครามกลางเมือง’ ในเท็กซัส เป็นกระแสโซเชียลจีน

Loading

  ท่ามกลางความเห็นขัดแย้งระหว่างเท็กซัส กับทำเนียบขาวรุนแรงขึ้น ต่อปัญหาผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย ดูเรื่องราวจะไปกันใหญ่ เมื่อมือดีปล่อยข่าวลวงในจีนว่า เมืองโลนสตาร์ประกาศสงครามเป็นทางการ หวังแยกตัวจากสหรัฐ แล้วเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับจีน   Key Points : •  มีผู้อพยพข้ามแดนผิดกฎหมายเข้ามายังสหรัฐ มากกว่า 6.3 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงเป็นประวัติการณ์ และได้สร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรง ระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเกร็ก แอบบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส •  กระแสในโซเชียลมีเดียจีน ระบุ แอบบอตต์กำลังตั้งตัวเป็นปรปักษ์ และวางแผนทำสงครามกับรัฐบาลกลางสหรัฐ •  สื่อจีนมักจะนำเสนอประเด็นความแตกแยกทางการเมืองของสหรัฐอยู่เป็นประจำ ประกอบกับโลกแบ่งขั้วกันมากขึ้น ยิ่งตอกย้ำความเชื่อว่า สหรัฐจวนเจียนเกิดความแตกแยกภายในประเทศ   ตอนนี้เหตุการณ์ในเท็กซัส กำลังนำไปสู่ความแตกแยกที่ฝั่งรากลึก จนจะไปถึงจุดสร้างความไม่สงบในสังคมสหรัฐ   นับตั้งแต่ต้นปี 2564 มีผู้อพยพข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายเข้ามายังสหรัฐ มากกว่า 6.3 ล้านคน ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ และได้สร้างความขัดแย้งที่รุนแรง ระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเกร็ก แอบบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส   ปฏิบัติการโลนสตาร์…

ว้าวุ่น! ก.ล.ต.สหรัฐ โดนแฮ็ก – ลงข่าวเท็จ ทำนักลงทุนสับสนการอนุมัติ Bitcoin ETF

Loading

  ว้าวุ่น! ก.ล.ต.สหรัฐ โดนแฮ็กเอกซ์ และโพสต์ข่าวเท็จ เรื่อง Bitcoin ETF ทำนักลงทุนสับสนถึงบทสรุปขอการพิจารณา ทำให้ แกรี เจนส์เลอร์ ประธาน ก.ล.ต.สหรัฐ ต้องรีบออกมาแก้ข่าว แต่ก็ถูกชาวเน็ตรุมประณาม ถึงการเป็นตัวการสร้างความเสียหายต่อนักลงทุน   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (ก.ล.ต.สหรัฐ) “ปฏิเสธ” ว่าพนักงานของตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ในการโพสต์ข้อความที่กล่าวถึงการ “ไม่ได้รับอนุญาต” ล่าสุดที่อ้างว่า Spot Bitcoin ETF ได้รับการอนุมัติแล้ว ซึ่งคนในชุมชนคริปโทเคอร์เรนซีคิดเป็นอย่างอื่นก็ตาม   เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 สำนักข่าวหลายแห่งได้เผยแพร่ข่าวที่ไม่ถูกต้อง หลังจากที่บัญชี X อย่างเป็นทางการ (เดิมชื่อTwitter) ของ ก.ล.ต.สหรัฐ โพสต์ทวีตโดยอ้างว่าหน่วยงานกำกับดูแลได้อนุมัติ Spot Bitcoin ETF แล้ว     ประมาณ 30 นาทีต่อมา ประธานคณะกรรมการ ก.ล.ต.สหรัฐ…

คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทักษะที่จำเป็น บนโลกออนไลน์

Loading

  การรับมือข้อมูลหลอกลวงและข่าวปลอม ที่แชร์อยู่ในโลกออนไลน์นั้น เราต้องวิเคราะห์และตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนทุกครั้งที่จะแชร์ข่าวเท็จ หรือนำเสนอต่อบุคคลอื่น ในปัจจุบัน ในแต่ละนาทีมีข่าวสารที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งต่างกับอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนอย่างสิ้นเชิง เราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทางและรวดเร็วมากกว่าในอดีต เช่น จากสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นมาจากหลายแหล่งที่มา ทั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้และไม่น่าเชื่อถือ ผู้รับข่าวสารจำนวนมากอาจไม่สามารถวิเคราะห์และการกลั่นกรองข่าวสารที่ได้รับว่าจริงหรือปลอม จึงหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมทั้งอาจมีส่วนร่วมในการสร้างความเสียหายให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยแชร์ข่าวเท็จหรือแบ่งปันข้อมูลเท็จที่ได้รับ การแชร์ข้อมูลเท็จที่ได้รับมานั้น สร้างความเสียหายและผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมเกิดขึ้นต่อตัวบุคคลผู้แชร์ข้อมูล หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง ทำให้ความน่าเชื่อถือของตนเองลดลง รวมทั้งเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย ส่งผลให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีและเสียค่าปรับต่างๆ หรือกระจายข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้ผู้อื่นหลงกรอกข้อมูลหรือเป็นเหยื่อจากลิงก์หรือข่าวที่เราแชร์   ดังนั้น เราต้องมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลว่า ข่าวปลอมนั้นมีลักษณะและมีช่องทางที่มาอย่างไร โดยทั่วไป ลักษณะและการหลอกลวงที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ มีดังนี้ 1.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเพิ่มองค์ประกอบเพื่อสร้างความน่าเชื่อ ประเด็นความน่าสนใจโดยส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเชิงลบ เพื่อสร้างกระแสและเป็นประเด็นในวงกว้าง และสร้างความอยากรู้อยากเห็นของคนทั่วไป เช่น “คิดอย่างไรกับสถานการณ์นี้” หรือ “พบสมุนไพรไทยช่วยต้านโควิด-19” 2.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นจะชักนำไปในเรื่องของความเชื่อเพื่อเล่นกับความรู้สึกของบุคคล เพราะโดยทั่วไปพฤติกรรมของคนมักแบ่งการรับรู้ออกเป็นสองด้าน เช่น ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 3.เป็นข่าวที่มีผลกระทบกับความเชื่อมั่น แบ่งแยกมุมมองและสื่อสารไปกับเฉพาะกลุ่ม โดยเป็นข่าวสารหรือข้อมูลตามสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลเก่าที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วนำมาสร้างกระแสใหม่ เพื่อสร้างผลกระทบต่อคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ อีกครั้ง…