จีนออกมาตรการคุมเทคโนโลยี “ดีพเฟค” เริ่มบังคับใช้ ม.ค. นี้

Loading

  สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (ซีเอซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ของจีน ระบุว่า กฎใหม่ของจีน สำหรับผู้ให้บริการเนื้อหาที่มีการแก้ไขข้อมูลใบหน้าและเสียง จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2566 โดยหน่วยงานมุ่งหวังที่จะตรวจสอบเทคโนโลยีและบริการที่เรียกว่า “ดีพเฟค” อย่างเข้มงวดมากขึ้น   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ว่า กฎระเบียบใหม่จากซีเอซี ซึ่งออกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กำหนดให้บุคคลได้รับการคุ้มครองจากการถูกแอบอ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม อันมาจากเทคโนโลยี “ดีพเฟค” ภาพเสมือนที่มีความคล้ายคลึงกับภาพต้นฉบับจนแยกไม่ออก และถูกนำไปใช้เพื่อการบิดเบือน หรือการให้ข้อมูลเท็จได้โดยง่าย   China's rules for "deepfakes" to take effect from Jan. 10 https://t.co/faLf9KG1gj pic.twitter.com/52XnzO89iw — Reuters (@Reuters) December 12, 2022   ซีเอซี กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวข้างต้นมีเป้าหมายเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้บริการโดยแพลตฟอร์มดังกล่าว…

ว่าด้วย Fake News

Loading

  Fake News เป็นศัพท์นิยมขณะนี้เกี่ยวกับพฤติกรรมใส่ร้ายหรือหลอกลวงด้วยข่าวสาร การรายงานหรือนำเสนอด้วยข้อมูลเท็จ หรือการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารสำหรับใช้โจมตีหรือทำลายฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะกระทำเป็นการเฉพาะเจาะจงที่ตัวบุคคล กลุ่มบุคคล หรือมุ่งให้เกิดความล่มสลายต่อเนื่องแบบโดมิโนในระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือการทหารก็ได้ ในอดีตการสร้างเรื่องราวใส่ร้ายหรือการหลอกลวงด้วยข้อมูลข่าวสารเสมือนจริงเช่นเดียวกับ Fake News คือ การบ่อนทำลาย ซึ่งนับเป็นวิธีที่ยากลำบากต่อการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยหรือคุ้มครองป้องกัน แต่มีจุดอ่อนที่ต้องดำเนินการด้วยระยะเวลายาวนาน ที่อาจเป็นเหตุให้บรรดาเป้าหมายตรวจสอบพบก่อนที่การบ่อนทำลายจะบรรลุผล     ปัจจุบันการคุ้มครอง ป้องกัน และเผชิญกับ Fake News นับเป็นความยากลำบากที่ยิ่งทวีมากขึ้น เนื่องมาจากการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารผ่านระบบเทคโนโลยีการสื่อสารในขณะนี้เป็นไปอย่างไร้ขอบเขตและรวดเร็ว ถึงแม้นานาประเทศพยายามที่จะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อให้แยกแยะและต่อต้าน Fake News ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเท็จ ข่าวสารลวง และข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือนเหล่านั้น อย่างเช่น องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จัดทำ “Journalism, ‘Fake News’ and Disinformation” และเผยแพร่รายละเอียดผ่านทาง https://en.unesco.org คู่มือของ UNESCO ดังกล่าวนำเสนอข้อมูลและแนวการอบรมสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเข้ามาศึกษา ฝึกอบรม ประกอบการเรียนการสอน…