ข้อมูลรั่วจาก LINE สู่รอยร้าวทางการเมืองยุคใหม่ของเกาหลีใต้-ญี่ปุ่น

Loading

ปี 2023 ข้อมูลผู้ใช้งาน LINE กว่า 500,000 รายรั่วไหล ในจำนวนนี้ 129,894 ราย เป็นชาวญี่ปุ่น ญี่ปุ่นออกคำสั่งที่ไม่ชัดเจนนัก แต่ก็ตีความได้ว่าต้องการให้ Naver ขายหุ้นในส่วนของตัวเอง

Dell ออกมาเตือนว่าแฮ็กเกอร์ได้ข้อมูลลูกค้า 49 ล้านรายการไปขาย

Loading

Dell ออกมาเตือนลูกค้าเกี่ยวกับเหตุข้อมูลรั่ว หลังจากแฮ็กเกอร์รายหนึ่งประกาศขายข้อมูลลูกค้า Dell มากกว่า 49 ล้านรายการ บน Breach Forums

ช่องทางทำกิน!! ชี้คนไทยฟ้องแพ่งรัฐได้หากพบทำข้อมูลรั่วสูงสุด 5 ล้านบาท

Loading

    ขู่องค์กรเตือนหน่วยงานเก็บข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้มาตรฐานทำรั่วไหลโดนปรับทางปกครอง- ปชช.ฟ้องแพ่งได้ ย้ำตามกฎหมายต้องรีพอร์ตสำนักงานสคส. ภายใน 72 ชั่วโมง และต้องแจ้งทางเจ้าของข้อมูล ให้รับทราบด้วย   นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลที่เกิดขึ้น มีสาเหตุจากระบบการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรต่างๆ ที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูล ยังไม่ได้มาตรฐาน และบุคคลในองค์กรเป็นผู้ทำรั่วไหลเอง รวมถึงการถูกแฮ็กเกอร์ทำการแฮ็กข้อมูลในระบบ ฯลฯ ซึ่งตาม พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ พีดีพีเอ ผู้ควบคุมข้อมูลจำเป็นต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ให้มีความปลอดภัย ไม่ให้รั่วไหล   หากเกิดกรณีทำข้อมูล ของประชาชนรั่วไหลแล้ว ต้องแจ้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ภายใน 72 ชั่วโมง และต้องแจ้งทางเจ้าของข้อมูลให้รับทราบด้วย ซึ่งหากการสอบสวนผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) พิจารณา ออกมาว่าองค์กรนั้นๆ มีความบกพร่อง ไม่ได้มาตรฐานขั้นต่ำ มีความผิดจริง ก็จะมีโทษปรับทางปกครองตั้งแต่ 1 ล้านบาท สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท…

บริษัทญี่ปุ่นกังวลพนักงานใช้ ChatGPT ห่วงข้อมูลรั่ว เตรียมออกกฎป้องกัน

Loading

    บริษัทญี่ปุ่นนำโดย SoftBank Hitachi ได้เริ่มตั้งกฎจำกัดการใช้งานเทคโนโลยี AI ที่สามารถโต้ตอบได้อย่างเช่น ChatGPT ในการดำเนินธุรกิจ ห่วงข้อมูลรั่วไหล สั่งห้ามพนักงานป้อนข้อมูลสำคัญ   ความนิยมของ ChatGPT ความน่าทึ่งในศักยภาพของมัน และมูลค่าทางธุรกิจในอนาคต ทำให้หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกโดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีเริ่มนำ AI เข้ามาใช้ช่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นการตอบข้อความ ร่างอีเมล สรุปประชุม และถามตอบข้อสงสัย อย่างไรก็ตามการใช้งานเทคโนโลยีนี้ยังคงทิ้งข้อกังวลไว้ให้ธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องข้อมูล ซึ่งล่าสุดบริษัทในญี่ปุ่นเริ่มขยับตัวออกมาตรการควบคุมป้องกัน   บริษัทญี่ปุ่นจำกัดการใช้งาน ChatGPT ห่วงข้อมูลรั่ว   เมื่อเดือนที่แล้ว SoftBank ได้เตือนพนักงานเกี่ยวกับการใช้งาน ChatGPT และแอปพลิเคชันทางธุรกิจอื่น ๆ โดยห้ามพนักงานป้อนข้อมูลที่เป็นความลับหรือข้อมูลใด ๆ ที่จะระบุถึงบริษัท และหลังจากนี้บริษัทจะสร้างกฎระเบียบขึ้นมาระบุว่าภาคส่วนใดบ้างในองค์กรที่จะสามารถใช้เทคโนโลยีได้ รวมถึงระบุประเภทแอปพลิเคชันที่อนุญาตให้ใช้   ด้าน Hitachi พิจารณากำหนดกฎจริยธรรมใหม่สำหรับการใช้งาน AI แบบโต้ตอบ เช่นเดียวกับกลุ่มเทคโนโลยีของ Fujitsu ก็ได้เตือนพนักงานเกี่ยวกับการใช้งาน ChatGPT และบริการ AI…

T-Mobile ยอมจ่ายชดเชย 12,800 ลบ. ให้ลูกค้าโทรคมนาคม หลังถูกแฮ็กพาข้อมูลรั่ว

Loading

T-Mobile ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในสหรัฐฯ ยอมจ่ายชดเชย 12,800 ลบ. ให้ลูกค้า หลังถูกแฮ็กพาข้อมูลของกว่า 76 ล้านคน รั่ว T-Mobile ยอมจ่ายเงิน 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 12,800 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินชดเชยในการยุติคดีจากลูกค้าที่ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการที่บริษัทปล่อยให้ข้อมูลของตนเองรั่วไหลออกมา ราว 76.6 ล้านคน พร้อมกับลงทุนเพิ่มอีก 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 5,400 ล้านบาท ในระบบความปลอดภัยไซเบอร์ โดยในการฟ้องร้อง T-Mobile ให้การปฎิเสธว่า ตนเองละเลยการปกป้องข้อมูลของลูกค้าและปฎิเสธข้อกล่าวหาที่ว่าบริษัทมีระบบความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอ จากรายงานของ T-Mobile ระบุว่า มีการเจาะเข้าระบบฐานข้อมูลของบริษัท เมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ซึ่ง ณ ขณะนั้นระบุว่ามีข้อมูลลูกค้ารั่วไหลไปประมาณ 47 ล้านราย แต่ยอดข้อมูลของลูกค้าที่รั่วไหลออกไปกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 50 ล้านคน และในเดือนพฤศจิกายน บริษัทก็รายงานตัวเลขอีก 26 ล้านคน ที่ถูกโจรกรรมข้อมูลไป T-Mobile ได้กล่าวว่าข้อมูลดังกล่าวรวมถึงชื่อ ที่อยู่ วันเกิด…

ห้ามใช้ อินเดียแบน VPN หวั่นคลาวด์ทำข้อมูลรั่ว

Loading

  เกิดอะไรขึ้น รัฐบาลอินเดียออกประกาศบังคับไม่ให้พนักงานของรัฐใช้งาน VPN และคลาวด์ จากผู้ให้บริการรายอื่นที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ ข้อบังคับนี้ส่งผลกระทบต่อให้ผู้ให้บริการ VPN รายย่อยที่ให้บริการอยู่ในอินเดียปัจจุบันเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Nord VPN , Surfshark , ExpressVPN หรือ TOR ออกมาหยุดให้บริการทันทีหลังมีประกาศออกมาเพียงไม่กี่วัน Economic Times ยังได้ให้ข้อมูลว่า กฎข้อปฏิบัติใหม่ของอินเดีย ได้เพิ่มข้อจำกัดในการจัดเก็บเอกสารและข้อมูลสำคัญไว้บนคลาวด์ ไม่เว้นแม้แต่บริการที่ได้รับความนิยม อย่าง Google Drive และ Dropbox รวมไปถึงห้ามเจลเบรกสมาร์ทโฟนเพื่อลงแอปที่มีความเสี่ยงอีกด้วย รวมถึงห้ามใช้งานแอปพลิเคชั่นสัญชาติจีนที่เป็นอันตราย เช่น CamScanner ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายแอปที่อินเดียแบน เพื่อสแกนเอกสารภายในของรัฐบาล โดยข้อบังคับนี้จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน เป็นต้นไป ทั้งนี้ สาเหตุที่รัฐบาลอินเดียต้องตัดสินใจแบนบริการดังกล่าว ก็เพื่อสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ ที่เป็นต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลหลาย ๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสำคัญอย่าง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร ไม่เพียงเท่านั้น อินเดียยังเริ่มส่งสัญญาณต่อต้านการใช้เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น บริการส่งข้อความที่เข้ารหัสแบบ end-to-end…