สภาอินโดนีเซียผ่านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  สภาของอินโดนีเซียเห็นชอบกฎหมาย ว่าด้วยการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยผู้ประกอบการจะต้องเป็นฝ่ายรับโทษหนักตามกฎหมาย หากข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ารั่วไหล   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ว่า สภาผู้แทนราษฎรของอินโดนีเซียมีมติเสียงข้างมากท่วมท้น ในการประชุมเมื่อวันอังคาร ผ่านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับใหม่   ทั้งนี้ บริษัทแห่งใดก็ตามที่เผยแพร่ข้อมูล หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ประกอบการอาจต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลานานถึง 6 ปี และปรับเป็นเงินสูงสุดคิดเป็นอัตรา 2% ของรายได้ตลอดทั้งปีของบริษัทแห่งนั้น และอาจมีการอายัดทรัพย์สินบางส่วนเพื่อนำมาขายทอดตลาดด้วย   Indonesia's parliament passed into law on Tuesday a personal data protection bill that includes corporate fines and up to six years imprisonment for those found to have mishandled…

แฮ็กเกอร์แสบ! โพสต์ขายข้อมูลของลูกค้าร้านกาแฟชื่อดัง สตาร์บัคส์ (สิงคโปร์) กว่า 219,000 รายชื่อ

Loading

  ร้านกาแฟชื่อดัง “สตาร์บัคส์” ที่ประเทศสิงคโปร์ ยอมรับว่าพวกเขากับประสบปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลรั่วไหล ซึ่งกระทบกับผู้ใช้ราว 219,000 ราย   สาเหตุที่เป็นประเด็นนั้นเกิดราว ๆ ประมาณเมื่อวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา เมื่อมีผู้ไม่ประสงค์ดีได้ออกมาประกาศขายข้อมูล ซึ่งในนั้นระบุว่าเป็นข้อมูลสำคัญของลูกค้า สตาร์บัคส์ จำนวนประมาณ 219,675 ราย ผ่านทางเว็บฟอรั่มที่เกี่ยวกับการแฮ็กชื่อดังแห่งหนึ่ง   และล่าสุดทางสตาร์บัคส์ ก็ได้ออกจดหมายเพื่อแจ้งลูกค้าต่าง ๆ ถึงข้อมูลที่รั่วไหล โดยระบุว่าแฮกเกอร์นั้นขโมยข้อมูลต่าง ๆ ไปประกอบด้วย ชื่อ, เพศ, วันเกิด, เบอร์มือถือ, อีเมล์ และที่อยู่   ช่องโหว่ดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นรายชื่อของลูกค้าที่ใช้งานโมบายแอปของ สตาร์บัคส์ ในการสั่งหรือใช้ในร้านค้าออนไลน์ของทางร้านในการซื้อสินค้าต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นร้านและสาขาต่างๆ กว่า 125 แห่งทั่วประเทศสิงคโปร์   อย่างไรก็ตามบริษัทแจ้งว่าข้อมูลที่รั่วนั้นไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับด้านการเงินเช่นบัตรเครดิต โดยข้อมูลนั้นมีการั่วไหลจริง ๆ ไม่ใช่ว่าสตาร์บัคส์นำข้อมูลนั่นไปขาย!     อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Bleepingcomputer  …

อดีต จนท.ความปลอดภัยไซเบอร์แฉทวิตเตอร์ปล่อยสายลับจีน-อินเดียแฝงตัวทำงานในบริษัท

Loading

  อดีตหัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยของทวิตเตอร์ ปีเตอร์ “มัดจ์” แซตโก ให้ปากคำต่อรัฐสภาอเมริกันว่า มีสายลับจีนอย่างน้อย 1 คนทำงานอยู่ในบริษัท นอกจากนั้น ทวิตเตอร์ยังปล่อยให้อินเดียส่งสายลับอีกจำนวนหนึ่งเข้าไปทำงานเช่นกัน และทำให้ 2 ประเทศดังกล่าวมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลอ่อนไหวของผู้ใช้   ถ้อยแถลงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการให้การของ แซตโก ซึ่งเป็นทั้งแฮ็กเกอร์ชื่อดังและผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งยังเป็นผู้เปิดโปงความไม่ชอบมาพากลของทวิตเตอร์ ต่อคณะกรรมาธิการการยุติธรรมของวุฒิสภาสหรัฐฯ เมื่อวันอังคาร (13)   แซตโก แฉว่า ทวิตเตอร์มีปัญหาระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์หละหลวมทำให้เสี่ยงถูกแสวงหาผลประโยชน์จากวัยรุ่น อาชญากร และสายลับ รวมทั้งทำให้ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ตกอยู่ในความเสี่ยง   เขาเสริมว่า พนักงานทวิตเตอร์บางคนกังวลว่า รัฐบาลจีนอาจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ของบริษัท   ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องการรักษาความปลอดภัยหละหลวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2020 ที่แฮกเกอร์วัยรุ่นเข้าควบคุมบัญชีของผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงหลายสิบบัญชี ซึ่งรวมถึงบัญชีของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ   ในการให้ปากคำเมื่อวันอังคาร แซตโกเปิดเผยปัญหาการรักษาความปลอดภัยของทวิตเตอร์ที่ร้ายแรงกว่านั้นเสียอีก ด้วยการกล่าวหาเป็นครั้งแรกว่า ก่อนเขาถูกไล่ออกราว 1 สัปดาห์ เขาได้รับรู้ว่า บริษัทแห่งนี้ได้รับแจ้งจากสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) สหรัฐฯ ว่า มีสายลับจากหน่วยข่าวกรองของกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของจีนแฝงตัวทำงานอยู่ในบริษัท…

Cisco โดนด้วย แรนซัมแวร์ ขโมยข้อมูล เจาะ VPN ผ่านบัญชีพนักงาน

Loading

  เมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา มีมือดีนำข้อมูลที่ได้ขโมยจากบริษัท Cisco ไปเผยแพร่บน Dark Web จากนั้น Cisco จึงได้ออกมายืนยันว่าข้อมูลที่เผยแพร่นั้นเป็นข้อมูลจาก Cisco จริง ซึ่งเป็นเนื้อหาเดียวกันกับเนื้อหาที่ Cisco เคยออกมาเตือนผู้ใช้ก่อนหน้านี้แล้ว   ย้อนกลับไปในรายงานเมื่อเดือนสิงหาคม Cisco ประกาศว่าเครือข่ายของตนถูกโจมตีโดนแรนซัมแวร์ Yanluowang หลังจากที่แฮกเกอร์เจาะบัญชี “VPN” ของพนักงาน จากนั้นแฮ็กเกอร์ได้ขโมยไฟล์หลายพันไฟล์จำนวนกว่า 55GB โดยมีทั้งเอกสารที่ความลับ แผนผังด้านเทคนิคของระบบ และซอร์สโค้ดต่าง ๆ ครับ   Cisco ยังยืนว่า ข้อมูลที่รั่วไหลมานี้ ไม่ได้กระทบต่อธุรกิจ ซึ่งรวมถึงบริการของ Cisco ข้อมูลลูกค้าที่ละเอียดอ่อน ทรัพย์สินทางปัญญา หรือการดำเนินงานด้านซัพพลายเชนครับ เพราะเนื่องจากโจมตีนั้นถูกตรวจพบและบล็อคก่อนที่ Yanluowang ransomware จะสามารถเริ่มเข้ารหัสระบบได้   ทั้งนี้ แฮ็กเกอร์ของ Yanluowang ได้ให้ข้อมูลกับเว็บไซต์ BleepingComputer ว่า เขาได้กระทำการคนเดียวซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (แต่ชื่อคุณนี่ไปทางจีนชัด…

ข้อมูลลูกค้า The North Face เกือบ 200,000 รายถูกเจาะ

Loading

  The North Face แบรนด์เครื่องแต่งกายสายลุยถูกแฮ็กเกอร์เจาะข้อมูลบัญชีลูกค้าไปถึง 194,905 บัญชีบนเว็บไซต์ thenorthface.com   แฮ็กเกอร์ปริศนารายนี้สามารถเจาะเข้าไปยังข้อมูลลูกค้าบนเว็บไซต์ของ The North Face ด้วยการใช้ข้อมูลชื่อผู้ใช้ อีเมล และรหัสผ่านที่ได้มาจากข้อมูลที่เคยรั่วไหลมาจากเว็บไซต์อื่น   การเจาะเข้าไปยังเว็บไซต์ของ The North Face เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม แต่ผู้ดูแลเว็บไซต์ตรวจพบความผิดปกติในวันที่ 11 สิงหาคม และสามารถหยุดยั้งความพยายามเจาะข้อมูลได้ในวันที่ 16 สิงหาคม   The North Face ระบุว่าข้อมูลของลูกค้าที่เสี่ยงถูกขโมยไป ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล ประวัติการซื้อ ที่อยู่เรียกเก็บเงิน ที่อยู่ส่งสินค้า เบอร์โทรศัพท์ วันที่สร้างบัญชี เพศ และข้อมูลการใช้แต้ม XPLR Pass (แต้มซื้อสินค้าสำหรับลูกค้าในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา)   ทั้งนี้ ข้อมูลการชำระเงินอย่างบัตรเครดิต ไม่ได้เก็บไว้บนเว็บไซต์ ดังนั้นจึงปลอดภัยจากการโจมตี   หลังการที่ทราบข่าวการโจมตี ทาง…

เมื่อผู้รับจ้างทำข้อมูลรั่วไหล

Loading

    การบริหารความเสี่ยงขององค์กรจากการใช้ผู้รับจ้างภายนอกในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยภัยคุกคามและความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้น   พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 กำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบหลักขององค์กรที่เป็น “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ในการที่จะประเมินและบริหารความเสี่ยงโดยการจัดให้มีมาตรการเชิงเทคนิคและมาตรการเชิงองค์กรที่เหมาะสม   โดยเฉพาะการที่ต้องจัดให้มีมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม และหน้าที่ในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หน้าที่ดังกล่าว รวมไปถึงเมื่อมีการจ้างบุคคลที่สามมาทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วยที่องค์กรในฐานะผู้ว่าจ้างต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากบุคคลที่สามอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ     ทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมีหน้าที่และความรับผิดร่วมกันในส่วนของการจัดให้มี “มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย” แต่หน้าที่ในส่วนของการแจ้งตามกฎหมายเมื่อเกิดเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Breach notification) เป็นหน้าที่และความรับผิดของผู้ว่าจ้างในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น ผู้ว่าจ้างจึงมีหน้าที่ในการบริหารจัดการความเสี่ยงในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม   การเริ่มนับระยะเวลา 72 ชั่วโมงในกรณีที่เหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเกิดจากการดำเนินการของผู้รับจ้างจึงเป็นส่วนหนึ่งของการบริการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ โดยตามแนวทางของ WP29 Guidelines on Personal data breach notification under Regulation 2016/679 (GDPR) ให้ข้อสังเกตว่าการเริ่มนับระยะเวลา “นับแต่ทราบเหตุ” ให้พิจารณาหลักเกณฑ์ ดังนี้   มีการยืนยันว่ามีเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (confirmed breach) : ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีความมั่นใจในระดับที่เหมาะสมว่าเกิดเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย (security…