การตลาดแบบตรง…การแอบเก็บข้อมูลสุขภาพ

Loading

  วันที่ 5 ต.ค. 2565 ICO ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของอังกฤษได้มีคำสั่งปรับบริษัทแห่งหนึ่งเป็นเงิน 1,350,000 ปอนด์ในส่วนที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลสุขภาพของลูกค้าจำนวน 145,400 คน   โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของอังกฤษในช่วงระหว่างวันที่ 1 ส.ค. 2562 ถึง 19 ส.ค. 2563 (GDPR ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะกระทำความผิด)   ตามข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าว Easylife ซึ่งเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าโดยระบบอัตโนมัติและจัดทำโพรไฟล์ของลูกค้า โดยในการทำการตลาดแบบตรงผ่านช่องทางโทรศัพท์ของบริษัทนั้นมีสินค้าจำนวน 122 รายการที่อยู่ในกลุ่มสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพ   โดยมีจำนวน 80 รายการจากจำนวน 122 รายการดังกล่าวที่หากมีการสั่งซื้อจะช่วยให้บริษัทสามารถประเมินเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สั่งซื้อได้ว่าน่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับอาการข้อต่ออักเสบ และบริษัทก็จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพประเภทกลูโคซามีน (ช่วยในการแก้อาการสึกกร่อนของกระดูก ไขข้อเสื่อม) ให้แก่ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวจากการประเมินข้อมูลการสั่งซื้อ     จากการสอบสวนของ ICO พบว่าบทสนทนาที่บริษัทจัดเตรียมเพื่อการติดต่อลูกค้ายืนยันว่าบริษัทมีการใช้ข้อมูลการสั่งซื้อเพื่อประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ดังนี้   “สวัสดีครับ/ค่ะ, ผม/ดิฉันขออนุญาตเรียนสายคุณ…. ผม/ดิฉันมาจากบริษัท ABC เราเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพครับ/ค่ะ ตามที่ท่านได้สั่งซื้อสินค้า A จากบริษัท…

กระอัก ออสเตรเลีย ถูกเจาะระบบซ้ำ ข้อมูลสุขภาพรั่วไหล 4 ล้านคน

Loading

  วันที่ 26 ต.ค. เอเอฟพี รายงานว่า นักเจาะระบบคอมพิวเตอร์หรือแฮ็กเกอร์ลักลอบเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวทางด้านสุขภาพนับล้านรายการภายในบริษัทเมดิแบงก์ หนึ่งในเอกชนทำธุรกิจด้านการประกันสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ออสเตรเลีย คาดว่าข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลไปถึง 3.9 ล้านคน ส่งผลให้รัฐบาลออกมายอมรับว่าบรรดาเอกชนยังมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอ   การเจาะระบบล่าสุดเกิดหลังการโจมตีไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่แฮกเกอร์ลักลอบเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งานของบริษัทออพตัส ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารรายใหญ่ในออสเตรเลีย ส่งผลให้ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ากว่า 9 ล้านคนรั่วไหล นับเป็นหนึ่งในการเจาะระบบครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย   นายมาร์ก เดรย์ฟัส อัยการสูงสุดออสเตรเลีย กล่าวว่า บรรดาเอกชนเหล่านี้กำลังเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ามากเกินความจำเป็นและล้มเหลวในการปกป้องข้อมูลเหล่านี้ พร้อมขู่จะลงโทษบรรดาเอกชนขั้นสูงสุดด้วยค่าปรับกว่า 1.2 พันล้านบาท ขณะที่นางแคลร์ โอนีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายใน (เทียบเท่ามหาดไทย) ยอมรับว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกินเยียวยา     ———————————————————————————————————————————————— ที่มา :                          ข่าวสดออนไลน์       …

รัฐบาลเม็กซิโกโดนแฮ็กครั้งใหญ่ ข้อมูลสุขภาพประธานาธิบดีหลุด

Loading

  รัฐบาลเม็กซิโก ถูกโจมตีไซเบอร์ครั้งใหญ่ ข้อมูลกองทัพหลุดรวมถึงรายละเอียดโรคหัวใจของประธานาธิบดีแอนเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเมื่อเดือน ม.ค.   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน ประธานาธิบดีเม็กซิโก แถลงข่าวประจำวันเมื่อวันศุกร์ (30 ก.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น กล่าวว่า ข้อมูลที่สื่อท้องถิ่นรายงานเมื่อคืนที่ผ่านมาเรื่องการแฮกข้อมูลกระทรวงกลาโหมเป็นข่าวจริง พร้อมยืนยันข้อมูลสุขภาพของตนที่ถูกเปิดเผยเป็นของจริง แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงระบบไอทีของกองทัพ   ทั้งนี้ ตามรายงานข่าว การโจมตีข้อมูลครั้งนี้เข้าถึงข้อมูล 6 เทราไบต์จากกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยข้อมูลอาชญากร สำเนาการสื่อสาร และการจับตานายเคน เซลาซาร์ ทูตสหรัฐประจำเม็กซิโก ด้านสถานทูตสหรัฐยังไม่ให้ความเห็นกับรอยเตอร์   การโจมตีข้อมูลครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาลเมื่อวันพฤหัสบดี (29 ก.ย.) ว่า เฮลิคอปเตอร์ทหารลำหนึ่งตกในเดือน ก.ค. มีผู้เสียชีวิต 14 คน สาเหตุมาจากน้ำมันหมด   นายฮาเวียร์ โอลิวา นักรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสระแห่งชาติเม็กซิโก กล่าวว่า ข้อมูลหลุดชี้ให้เห็นความเสี่ยงอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะในช่วงที่บทบาทของกองทัพกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างร้อนแรง       ——————————————————————————————————————————- ที่มา…