แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์ ‘PayPal’ ส่งใบแจ้งหนี้ที่เป็นอันตราย

Loading

  ปัจจุบันภัยไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกท่านจะเห็นข่าวภัยไซเบอร์ได้จากทั่วทุกมุมโลก หรือแม้กระทั่งในประเทศไทยของเราเองก็มีการนำเสนอจากสื่ออยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแฮ็กเพื่อโจรกรรมเอาข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ให้ความสนใจในการปฏิบัติโจมตีเพราะผลตอบแทนสูงและสามารถเข้าถึงในคนหมู่มากเลยก็ว่าได้   ในวันนี้ผมอยากพูดถึงกรณีของ PayPal ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่รู้จักกันดีและมีผู้ใช้บริการจำนวนมากทั่วโลกได้ถูกแฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์โดยการแฝงตัวส่งใบแจ้งหนี้ปลอมไปยังผู้ใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มโดยตรง   ทาง PayPal ได้ออกประกาศแจ้งลูกค้าหลายพันรายในสหรัฐว่า การเข้าสู่ระบบถูกบุกรุกเมื่อช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เปิดเผยว่า การโจมตีครั้งนี้มีความแตกต่างจากการโจมตีครั้งก่อน ๆ   การที่ทีมนักวิจัยค้นพบเพราะครั้งนี้คือการปลอมแปลงและส่งใบแจ้งหนี้ที่เป็นอันตรายซึ่งมาจาก PayPal ผ่านอีเมลฟิชชิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีครั้งนี้โดยเนื้อหาระบุว่า ผู้ใช้บริการมีบัญชีที่มีการฉ้อโกงและขู่ปรับสูงถึง 699.99 ดอลลาร์ หากเหยื่อไม่ดำเนินการ   อย่างไรก็ตาม หากมีการสังเกตเนื้อหาของอีเมลจะพบว่า เราสามารถเตือนผู้ใช้งานบางคนที่มีความระมัดระวังได้ว่า อีเมลนั้นไม่ใช่อีเมลของจริงจาก PayPal เพราะรูปแบบประโยคไม่ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์และมีการสะกดคำผิดอยู่หลายจุดในเนื้อความของอีเมล อีกทั้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ระบุไว้ในอีเมลไม่มีความเกี่ยวข้องกับ PayPal เลย   ในขณะเดียวกันผู้ใช้งานบางคนอาจยังคงตัดสินใจโทรไปที่หมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอีเมลที่ได้รับ เพราะเจตนาของการทิ้งเบอร์โทรให้เหยื่อติดต่อกลับเพื่อที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์จะได้ทราบหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเหยื่อและนำหมายเลขโทรศัพท์นี้ไปใช้ในการโจมตีอื่น ๆ เพิ่มเติมซึ่งเป็นการเปิดโอกาสใหม่ในการหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์   หากเรามองในแง่ว่าทำไมเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ถึงเลือกใช้ PayPal ในการโจมตี เราจะพบว่าประโยชน์ของการใช้ PayPal ที่เด่นชัดมากคือความสามารถในการส่งใบแจ้งหนี้จำนวนมากในแต่ละครั้งและทำให้ดูเป็นมืออาชีพอย่างมาก   อีกทั้งอีเมลที่มาจาก PayPal โดยตรง ตัวอีเมลเองไม่ได้เป็นอันตรายและยังมีใบแจ้งหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมายจำนวนนับไม่ถ้วนที่ส่งผ่าน…

ตร.ไซเบอร์ เตือนภัย ขรก.เกษียณ ยื่นรับบำเหน็จระวัง เว็บไซต์-แอปฯ ปลอม

Loading

    ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยข้าราชการเกษียณยื่นรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเอง ระวังเว็บไซต์และแอปพลิเคชันปลอม ที่ทำให้หลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล จนตกเป็นเหยื่อ จึงแนะวิธีหลีกเลี่ยง 9 ข้อ   เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 1 ก.พ. พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเตือนภัยข้าราชการเกษียณยื่นรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองให้ถูกช่องทาง ระมัดระวังเว็บไชต์ปลอม แอปพลิเคชันปลอมของมิจฉาชีพที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงิน ในกรณีที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้อำนวยความสะดวกให้กับข้าราชการ และลูกจ้างประจำที่พ้นราชการ เนื่องจากเกษียณอายุในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 โดยสามารถยื่นคำขอรับบำเหน็จบำนาญล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ก่อนวันครบเกษียณอายุได้ 8 เดือน เริ่มตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป โดยสามารถยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด   โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Pension’ Electronic Filing) หรือ ระบบ e-Filing ผ่านเว็บไชต์กรมบัญชีกลาง www.ced.go.th หรือผ่านแอปพลิเคชัน…

เชื่อไหม ? อนาคต มือถือราคาถูกลง เพราะข้อมูลส่วนตัวเรามีค่ามากกว่า

Loading

  เปิดอนาคตที่ต้องหันมาฉุกคิด เมื่อมือถือจะราคาถูกลง แต่แลกมาด้วยข้อมูลและความอิสระในการลบแอปฯบางประเภทต้องหายไป เพราะแบรนด์โทรศัพท์ก็หากินด้วยวิธีอื่น   Deloitte Insights คาดการณ์อนาคตตลาดสมาร์ทโฟน ว่า รุ่นที่รองรับ 5G จะมีราคาถูกลง ต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3,500 บาท มากขึ้น เพราะแบรนด์มือถือสามารถสร้างรายได้จากส่วนอื่น ได้มากกว่าแค่การขายโทรศัพท์   ซึ่งการที่ส่วนต่างของราคาขายไม่ได้เป็นรายได้หลักอีกต่อไป ทำให้เห็นว่า ผู้ใช้สมาร์ทโฟน อาจเป็นหนึ่งในสินค้าที่แบรนด์โทรศัพท์มือถือนำไปขายลูกค้าต่ออีกทอดหนึ่ง   ขายมือถือถูกจะรวยได้อย่างไร ?   จากข้อมูลของ ดีลอยด์ สรุปได้ว่า วิธีการสร้างรายได้ของแบรนด์มือถือนอกจากกินส่วนต่างในราคาขายแล้ว แบรนด์ต่าง ๆ ได้คิดค้นวิธีการสร้างรายได้แบบใหม่ คือ แอปฯที่ลงมาล่วงหน้า โฆษณา เนื้อหาในแอปฯ และ ตัวโหลดแอปฯของแบรนด์มือถือตัวเอง เพื่อนำข้อมูลและพฤติกรรมการใช้งานไปหากินอีกทางหนึ่ง   แอปฯที่ลงมาล่วงหน้า : หากเราสังเกตมือถือสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์หลาย ๆ ยี่ห้อจะมีแอปฯที่ติดตั้งมาล่วงหน้าให้ ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในช่องทางที่แบรนด์มือถือเก็บเงินแอปฯเหล่านั้น โดยแอปฯที่จ่ายเงินก็มีจุดประสงค์คือหว่านแหเพิ่มผู้ใช้นั่นเอง ซึ่งแบรนด์มือถือก็เก็บเงิน เพราะมองว่า…

PayPal ออกเตือนผู้ใช้ ข้อมูลส่วนตัวรั่ว มีคนโดนแฮ็กกว่า 35,000 ราย

Loading

  PayPal อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และนักธุรกิจใช้แลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศกันเป็นจำนวนมาก ได้ออกเตือนว่ามีข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลไปกว่า 35,000 ราย พร้อมแนะวิธีป้องกันเบื้องต้น   PayPal (เพย์พาล) มีผู้ใช้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยก็มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก เพราะทำได้ทั้งโอนเงินต่างประเทศ รับเงินได้จากทั่วโลก และข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ นั้นก็จะอยู่ในแพลตฟอร์มนี้ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ นามสกุล บัตรเครดิต บัญชีธนาคาร ที่อยู่ต่าง ๆ   ขณะนี้ PayPal ได้ออกเตือนผู้ใช้ทั่วโลกว่ามีการแฮกบัญชีเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม โดยแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงบัญชี ข้อมูลส่วนตัว เช่น วันเกิด,ที่อยู่ หมายเลขบัตรประชาชน และประวัติการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลมากหากข้อมูลเหล่านี้รั่วไหลออกไป   ทางบริษัทเมื่อพบการแฮกเกิดขึ้นก็ได้ทำการรีเซ็ตรหัสผ่านผู้ใช้ทั้งหมดที่ถูกแฮก และยังไม่เกิดการทำธุรกรรมใด ๆ   แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าความปลอดภัยของบัญชีเพย์พาลอาจไม่มากพอ และควรจะต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน เพราะข้อมูลเหล่านั้นถ้าหากแฮกเกอร์ได้เก็บข้อมูลไปแล้ว ก็อาจนำไปใช้ได้ต่อในอนาคต เพราะข้อมูลส่วนตัวไม่สามารถเปลี่ยนได้   บริษัทแนะนำอย่างยิ่งให้ผู้ใช้ PayPal เปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับบัญชีออนไลน์อื่น ๆ โดยใช้รหัสผ่านจะมีความยาวอย่างน้อย 12 อักขระและประกอบด้วยอักขระและตัวเลขและตัวอักษรและสัญลักษณ์   ยิ่งไปกว่านั้น PayPal…

ตำรวจเตือนพ่อแม่ยุคใหม่ “Sharenting” โพสต์ข้อมูลส่วนตัวลูก เสี่ยงตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์

Loading

  MGROnline – ตำรวจไซเบอร์ ฝากเตือนภัยพฤติกรรม “Sharenting” ของผู้ปกครองโพสต์ข้อมูลส่วนตัวบุตรหลานในความปกครองเสี่ยงเปิดโอกาสผู้ไม่หวังดี   วันนี้ (7 ม.ค.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยพฤติกรรม Sharenting พ่อแม่โพสต์ข้อมูลส่วนตัวเด็กเสี่ยงเปิดโอกาสผู้ไม่หวังดี ดังนี้   Sharenting เกิดจากการผสมคำว่า share + parenting ใช้เรียกพฤติกรรมของพ่อแม่ที่แชร์ภาพ วิดีโอ รวมถึงข้อมูลส่วนตัวของลูกมากเกินไป   จริงอยู่ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองไม่ได้มีเจตนาร้าย ส่วนใหญ่เป็นการโพสต์รูปลูกด้วยความรักใคร่ เอ็นดู และอยากจะส่งต่อความน่ารักนี้ให้คนอื่นได้เห็น แต่ในอีกด้านหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตัวบุตรหลานในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน   เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพ หรือผู้ไม่หวังดีเข้าถึงตัวบุตรหลานได้ง่าย จากกิจกรรมที่ผู้ปกครองโพสต์ไว้ในสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น การขโมยตัวตน (Identity Theft) สวมรอยเหยื่อนำข้อมูลส่วนตัวไปกระทำผิดกฎหมาย หรือนำภาพเด็กไปสร้างเรื่องราวขอรับเงินบริจาคต่าง ๆ ปัญหาเรื่องล่วงละเมิดทางเพศเด็ก การนำภาพเด็กไปขายในเว็บมืด (Dark web) หรือนำไปเพื่อใช้ตอบสนองทางเพศของกลุ่มคนที่มีอาการใคร่เด็ก (Pedophile)…

ข่าวปลอม! กรมการจัดหางาน รับสมัครงานผ่านเพจ GRS Global Services

Loading

  ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ตรวจสอบกรณีที่มีการระบุว่า กรมการจัดหางานสนับสนุนคนว่างงานให้มีงานทำ รับสมัครงานผ่านเพจ GRS Global Services เป็นข้อมูลเท็จ   เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย Anti-Fake News Center Thailand ระบุว่า ตามที่มีข้อมูลปรากฏเกี่ยวกับประเด็นเรื่องกรมการจัดหางานสนับสนุนคนว่างงานให้มีงานทำ รับสมัครงานผ่านเพจ GRS Global Services ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ   จากกรณีที่มีผู้โพสต์ข้อมูลโดยระบุว่า กรมการจัดหางานสนับสนุนคนว่างงานให้มีงานทำ รับสมัครงานผ่านเพจ GRS Global Services ทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าภาพและข้อความที่มีการเผยแพร่ทางเพจ Facebook ดังกล่าว เป็นการใช้ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงแรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อความดังกล่าวไม่ได้มาจากส่วนราชการของกระทรวงแรงงาน หากพบเห็นข้อความดังกล่าวโปรดอย่าหลงเชื่อ เพราะมิจฉาชีพอาจมีการขอข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในทางมิชอบ   ทั้งนี้ สามารถติดตามข่าวสารของกรมการจัดหางานได้ที่เว็บไซต์กรมการจัด doe.go.th และผู้ที่ต้องการมีงานทำ สามารถใช้บริการผ่านเว็บไชต์ ไทยมีงานทำ.doe.go.th หรือทาง…