ห้องเรียนออนไลน์ไม่ปลอดภัย EdTech ขายข้อมูลเด็ก

Loading

  ห้องเรียนออนไลน์ไม่ปลอดภัย เมื่อกลุ่มเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EdTech) แอบติดตามข้อมูลเด็กโดยมิชอบ และขายให้กับอุตสาหกรรมโฆษณา   กลายเป็นประเด็นขึ้นมา เมื่อฮิวแมนไรท์วอท์ช (Human Rights Watch) องค์กรรณรงค์ระหว่างประเทศได้เผยแพร่ผลการสอบสวนบริการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EdTech) ที่มีนักเรียนหลายล้านคนเข้าร่วมการเรียนรู้เสมือนจริงเพราะไม่สามารถไปโรงเรียนได้ในช่วงของการระบาดใหญ่โควิด-19 ซึ่งดำเนินการสอบสวนในช่วง มี.ค. – ส.ค. 2021 พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมออนไลน์ของนักเรียนถูกติดตามผ่านแอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์เพื่อการศึกษาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากพวกเขา และในหลายกรณีมีการแชร์ข้อมูลให้กับบริษัทเทคโนโลยีเพื่อการโฆษณาด้วย   พบว่า EdTech กว่า 146 ผลิตภัณฑ์ จาก 164 บริการ หรือกว่า 89% ใน 49 ประเทศที่ถูกตรวจสอบ มีส่วนร่วมในแนวทางปฏิบัติด้านข้อมูลที่ “ละเมิดสิทธิเด็ก” หรือ “มีความเสี่ยง” ต่อการเฝ้าติดตามและรวบรวมการใช้ข้อมูลของเด็กโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าตัว หรือผู้ปกครอง เช่น ตัวตน ตำแหน่ง กิจกรรม และพฤติกรรมออนไลน์ของพวกเขา รวมถึงข้อมูลเด็ก ครอบครัว และเพื่อน   ฮึน จังฮัน (Hye…

ทวิตเตอร์เสียค่าปรับ 5 พันล้านบาท หลังเปิดเผยข้อมูลผู้ใช้โดยมิชอบ

Loading

  หน่วยงานสหรัฐฯ ประกาศให้ทวิตเตอร์จ่ายค่าปรับ 5 พันล้านบาท หลังเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน   เมื่อวานนี้ (25 พ.ค.) กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหรัฐฯ ประกาศว่า ทวิตเตอร์จะต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.1 พันล้านบาท) และกำหนดมาตรการป้องกันใหม่ เพื่อยุติข้อกล่าวหาที่ว่า ทวิตเตอร์ปล่อยให้ผู้โฆษณาเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้แพลตฟอร์มโดยมิชอบ   ทั้งสองหน่วยงานเปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2013 ถึง ก.ย. 2019 ทวิตเตอร์ได้แจ้งแก่ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มว่า จะขอข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์และอีเมลของผู้ใช้ไปด้วยเหตุผลเพื่อความปลอดภัยของบัญชี     แต่กลายเป็นเรื่อง เมื่อทวิตเตอร์กลับไม่แจ้งผู้ใช้ว่า จะให้ข้อมูลเหล่านั้นแก่บริษัทต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ “ยิงแอด” ส่งโฆษณาออนไลน์ไปยังผู้ใช้ได้   กระทรวงฯ และคณะกรรมาธิการฯ ยังบอกว่า ทวิตเตอร์ได้อ้างว่า ปฏิบัติตามข้อตกลงความเป็นส่วนตัวของสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปและสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งห้ามไม่ให้บริษัทนำข้อมูลผู้ใช้งานไปใช้ในลักษณะที่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ที่แจ้งหรือได้รับอนุญาตจากผู้ใช้   โดยโทษปรับ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และข้อกำหนดใหม่ภายใต้ข้อตกลง ต้องได้รับการอนุมัติจากศาลรัฐบาลกลางในแคลิฟอร์เนียด้วย…

Right to be forgotten คำขอร้องเพื่อถูกลืม/Cool Tech จิตต์สุภา ฉิน

Loading

Delete Remove Trash Can Application Graphic Right to be forgotten คำขอร้องเพื่อถูกลืม   เมื่อชีวิตของเราผูกพันกับอินเตอร์เน็ตไปในทุกแง่มุม ทั้งเรื่องงานไปจนถึงเรื่องส่วนตัวจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยหากข้อมูลส่วนตัวบางอย่างของเราอาจจะถูกเผยแพร่ออกไปบนโลกอินเตอร์เน็ตโดยที่เราไม่รู้ตัว   ซ้ำร้ายไปกว่านั้นหากข้อมูลส่วนตัวที่ว่าไปปรากฏอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาของ Google ด้วย ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสที่ข้อมูลของเราจะถูกหยิบฉวยไปใช้ให้กลับมาเป็นโทษต่อตัวเราเองได้   Right to be forgotten หรือสิทธิที่จะถูกลืมเป็นแนวคิดที่มีการพูดถึงและใช้จริงมานานหลายปีแล้ว   สิทธินี้หมายถึงการที่เจ้าของข้อมูลสามารถดำเนินเรื่องร้องขอให้มีการปลดข้อมูลส่วนตัวของตัวเองลงจากผลลัพธ์การค้นหาบนอินเตอร์เน็ตได้   ลองนึกดูว่าหากช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเราเคยตัดสินใจผิดพลาด อาจจะด้วยความเยาว์ในช่วงเวลานั้นหรือการถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายให้เสียหายและมีหลักฐานปรากฏหราอยู่บนอินเตอร์เน็ต ทุกครั้งที่มีคนเสิร์ชชื่อเราซึ่งอาจจะเป็นนายจ้างขององค์กรที่เราไปยื่นใบสมัครงานไว้ หรือแม้กระทั่งคนที่เรากำลังจะไปออกเดตด้วย ผลลัพธ์การค้นหาที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวชีวิตที่น่าอายของเราก็จะปรากฏขึ้นมาให้คนเหล่านั้นได้เห็นก่อนที่พวกเขาจะได้สัมผัสถึงตัวตนที่แท้จริงของเราเสียด้วยซ้ำ   สิทธิที่จะถูกลืมคือการหยิบยื่นโอกาสในการลบอดีตอันน่าอายและไม่เป็นธรรมของเราทิ้งไปและทำให้เราใช้ชีวิตต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยหวาดระแวงอยู่เสมอ   การปลดข้อมูลที่เราต้องการลืมทิ้งไปไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถยื่นเรื่องเพื่อบังคับให้เว็บไซต์ต้นตอลบข้อมูลของเราทิ้งได้ แต่เป็นการขอให้เสิร์ชเอนจิ้นซึ่งรายใหญ่ที่สุดก็คือ Google ช่วยปลดลิงค์เหล่านั้นออกไม่ให้ปรากฏอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาอีกต่อไป   ดังนั้น แม้เว็บไซต์ต้นทางจะยังอยู่ แต่เวลาใครค้นหาชื่อเรา ลิงค์นั้นก็จะไม่ปรากฏขึ้นมาให้คลิกเข้าไปดูได้อีกต่อไป   กรณีที่มีการหยิบยกสิทธิในการถูกลืมมาพูดถึงบ่อยๆ ก็อย่างเช่น สิ่งที่เรียกว่า revenge porn หรือการที่แฟนเก่านำภาพลับในตอนที่ยังคบกันออกมาเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยไม่ได้รับการยินยอม สร้างความอับอายและเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับคนๆ นั้น สิทธิที่จะถูกลืมจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเหยื่อกลุ่มนี้ได้…

‘กูเกิล’ เพิ่มวิธีเก็บข้อมูลส่วนตัว ไม่ให้โผล่ในการค้นหาออนไลน์

Loading

  Google Search Update   กูเกิล (Google) ได้เพิ่มทางเลือกให้ผู้ใช้เพื่อเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวให้ปลอดภัยจากการค้นหาข้อมูลทางออนไลน์ โดยจะให้ผู้ใช้สามารถร้องเรียนให้นำข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์ และที่อยู่ ออกไปจากผลการค้นหาทางออนไลน์ได้   นโยบายใหม่นี้ยังอนุญาตให้นำเอาข้อมูลอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นอันตราย หรือเสี่ยงต่อการถูกนำไปใช้ในการขโมยเอกลักษณ์บุคคล (identify theft) เช่น ข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลลับที่ใช้ในการล็อกอิน   กูเกิล กล่าวในแถลงการณ์ว่า การเปิดกว้างในการเข้าถึงข้อมูลนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เช่นเดียวกับการให้อำนาจผู้คนในการปกป้องตัวเอง และรักษาข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อนของพวกเขาให้เป็นความลับ   บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ยังกล่าวด้วยว่า “ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยทางออนไลน์ต้องไปด้วยกัน และเมื่อเราใช้อินเตอร์เน็ต เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องสามารถควบคุมการค้นหา หรือการพบเจอข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของแต่ละคน”   ก่อนหน้านี้ กูเกิล เสิร์ช (Google Search) ได้อนุญาตให้ผู้ใช้ร้องเรียนให้มีการถอดถอนข้อมูลส่วนตัวที่จะเป็นภัยโดยตรงต่อพวกเขาออกไป ซึ่งรวมไปถึงการถอดถอนข้อมูลที่ผู้ประสงค์ร้ายนำออกไปเผยแพร่ และข้อมูลส่วนเช่น หมายเลขธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต ที่สามารถนำไปใช้ในการต้มตุ๋น หรือในการหลอกลวงทำธุรกรรมต่าง ๆ   อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ได้ปรากฎในพื้นที่ออนไลน์ที่ไม่มีใครนึกถึงมาก่อนมากขึ้นเรื่อย ๆ และถูกนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่…

ถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลบัตรประชาชนไปใช้ ต้องทำอย่างไรเช็กเลยที่นี่

Loading

  สตช.เผยวิธีการหากถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลบัตรประชาชนไปใช้ ต้องทำอย่างไร พร้อมเตือนคนโกงหากปลอมแปลงเอกสารมีโทษหนักคุก 3 ปี ปรับ 6 หมื่น   เมื่อ 26 มี.ค. 65 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กล่าวว่า ขอเตือนภัยกรณีมีสื่อสังคมออนไลน์นำเสนอเกี่ยวกับการนำข้อมูลบัตรประชาชนหรือข้อมูลส่วนตัวไปซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีความห่วงใยต่อภัยทางสื่อสังคมออนไลน์ที่หลอกลวงสร้างความเสียหายให้กับประชาชน โดยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย   ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จึงได้กำชับและสั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัดที่เกี่ยวข้องทำการสืบสวนสอบสวน จับกุม ปราบปรามภัยทางสื่อสังคมออนไลน์ทุกรูปแบบตามกฎหมายอย่างจริงจัง มีผลการปฎิบัติเป็นรูปธรรม รวมถึงสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงภัยดังกล่าวและแนวทางในการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย   ดังเช่น กรณีที่สื่อสังคมออนไลน์มีการนำเสนอเกี่ยวกับการนำข้อมูลบัตรประชาชน หรือข้อมูลส่วนตัวไปใช้ สำหรับซื้อขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งอาจจะถูกมิจฉาชีพปลอมลายมือชื่อลงในสำเนาบัตรประชาชนแล้วนำไปใช้ในการกระทำความผิด หรือหลอกลวงผู้อื่น หากมีการแก้ไขข้อความในช่องชื่อ นามสกุล วันออกบัตร หรือวันหมดอายุ ลงในสำเนาบัตรประชาชน ไม่ว่าจะนำไปถ่ายสำเนาใหม่อีกครั้ง…

องค์กรตรวจสอบหวั่น ‘แอปโอลิมปิกจีน’ ลอบเก็บข้อมูลส่วนตัวนักกีฬา

Loading

A woman wearing a face mask to protect against COVID-19 stands next to figures of the Winter Paralympic mascot Shuey Rhon Rhon left, and Winter Olympic mascot Bing Dwen Dwen on a street in Beijing, Jan. 15, 2022.   รายงานการศึกษาขององค์กรตรวจสอบด้านอินเทอร์เน็ตชี้ว่า แอปพลิเคชั่นสำหรับสมาร์ทโฟนที่คาดกันว่าจะถูกใช้อย่างแพร่หลายในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่งในเดือนหน้า มีปัญหาด้านความปลอดภัยที่อาจนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้สมาร์ทโฟนได้ สำนักข่าวเอพีรายงานว่า บริษัท ซิติเซ่น แล็บ (Citizen Lab) ได้ระบุในรายงานว่า แอป MY2022 มีจุดบกพร่องอย่างมากในด้านการเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนตัวสำคัญของผู้ใช้ ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลที่สื่อสารผ่านแอปดังกล่าวสามารถถูกแฮกได้โดยง่าย รวมทั้งอาจถูกเปิดอ่านโดยบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของจีนผ่านระบบ Wi-Fi…