ญี่ปุ่นพบข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลสูงเป็นประวัติการณ์ในปีงบฯ 66

Loading

ญี่ปุ่นพบข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 13,279 กรณีในปีงบประมาณ 2566 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา โดยพุ่งขึ้นถึง 70% จากปีก่อนหน้า ซึ่งตอกย้ำถึงการจัดการข้อมูลที่ย่ำแย่ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

รมว.ดีอี เผย รัฐมุ่งหน้าพัฒนา Cloud First Policy ป้องกันข้อมูลรั่ว คาด ปี 68 จะสมบูรณ์

Loading

รัฐบาล เดินหน้า พัฒนาระบบ Cloud First Policy เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล คาด ปี 68 จะเสร็จสมบูรณ์ มั่นใจ เก็บข้อมูลปลอดภัยมากขึ้น

สกมช. ผนึก โกโกลุค หนุนใช้ ฮูส์คอลล์ สกัดโจรไซเบอร์ งดรับสายมิจฉาชีพ

Loading

เมื่อวันที่ 18 มกราคม พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการ สกมช. ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่าง สกมช. กับ บริษัท โกโกลุค จำกัด โดยนายเจฟฟ์ กัว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโกโกลุค

ช่องทางทำกิน!! ชี้คนไทยฟ้องแพ่งรัฐได้หากพบทำข้อมูลรั่วสูงสุด 5 ล้านบาท

Loading

    ขู่องค์กรเตือนหน่วยงานเก็บข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้มาตรฐานทำรั่วไหลโดนปรับทางปกครอง- ปชช.ฟ้องแพ่งได้ ย้ำตามกฎหมายต้องรีพอร์ตสำนักงานสคส. ภายใน 72 ชั่วโมง และต้องแจ้งทางเจ้าของข้อมูล ให้รับทราบด้วย   นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลที่เกิดขึ้น มีสาเหตุจากระบบการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรต่างๆ ที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูล ยังไม่ได้มาตรฐาน และบุคคลในองค์กรเป็นผู้ทำรั่วไหลเอง รวมถึงการถูกแฮ็กเกอร์ทำการแฮ็กข้อมูลในระบบ ฯลฯ ซึ่งตาม พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ พีดีพีเอ ผู้ควบคุมข้อมูลจำเป็นต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ให้มีความปลอดภัย ไม่ให้รั่วไหล   หากเกิดกรณีทำข้อมูล ของประชาชนรั่วไหลแล้ว ต้องแจ้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ภายใน 72 ชั่วโมง และต้องแจ้งทางเจ้าของข้อมูลให้รับทราบด้วย ซึ่งหากการสอบสวนผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) พิจารณา ออกมาว่าองค์กรนั้นๆ มีความบกพร่อง ไม่ได้มาตรฐานขั้นต่ำ มีความผิดจริง ก็จะมีโทษปรับทางปกครองตั้งแต่ 1 ล้านบาท สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท…

จ่อลงดาบหน่วยงานรัฐปมข้อมูลรั่วไหล

Loading

    คกก.ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายคุ้มครองฯ จ่อลงดาบหน่วยงานรัฐปมข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หากผิดจริงมีโทษปรับไม่เกิน 3 ล้าน   เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 66 ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พล.อ.ดร.ภุชพงศ์ พงษ์ศิริ ประธานคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ คณะที่ 2 (ที่พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนทางเทคโนโลยีและอื่น ๆ) กล่าวถึง กรณีข้อมูลหน่วยงานรัฐรั่วไหลในขณะนี้ ว่าได้เรียกประชุมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญข้อมูลส่วนบุคคลด่วน เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลในหน่วยงานภาครัฐตามที่เป็นข่าว คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ คณะที่ 2 มีมติร่วมกันว่า   1. ให้ดำเนินการสอบสวนหน่วยงานรัฐที่ทำให้ข้อมูลรั่วไหลเพื่อตรวจหาสาเหตุและดำเนินการแก้ไขโดยทันที   2. ให้มีคำสั่งเรียกหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับการสื่อสาร และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ มาชี้แจงประเด็นเรื่องข้อมูลรั่วไหลจากหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงจะขอความร่วมมือให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจัดทำระบบกรองข้อมูล (Filtering system) เพื่อป้องกับปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบผ่านระบบ SMS   3. ให้ สคส. เร่งทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน และขอความร่วมมือสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล โดยให้ดำเนินการปิดบังหมายเลขโทรศัพท์ และข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกนำมาเผยแพร่ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำที่ผิดตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   4.…

แนวทางประเมินความเสี่ยงและแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

    พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ มาตรา 37 (4) กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ “แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล” แก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง   นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล   อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย   ตามมาตรา 37 (4) แสดงให้เห็นว่า “การประเมินความเสี่ยงต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล” เป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทราบว่าตนเองนั้นมีหน้าที่ต้องแจ้งหรือไม่ต้องแจ้งเหตุ แก่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ทราบถึงเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้น   ดังนั้น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจึงจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล เมื่อเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้น     คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้กำหนดปัจจัยต่าง ๆ ที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอาจใช้ในการประเมินความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ในประกาศฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลฯ ข้อ 12   โดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล อาจพิจารณาจากปัจจัย ดังต่อไปนี้   (1) ลักษณะและประเภทของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล   (2) ลักษณะหรือประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด   (3) ปริมาณของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด ซึ่งอาจพิจารณาจากจำนวนเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือจำนวนรายการ (records)…