เมื่อเราอยู่ในยุคข้อมูลท่วมโลก

Loading

  สัปดาห์ก่อนผมไปเสวนาในรายการ Balance between Privacy and Security โดยสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย หรือ DUGA คำถามหลักของวงเสวนา คือ ระหว่างข้อมูลส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล อะไรสำคัญกว่ากันหรือต้องสมดุลขนาดไหน?        ผมเริ่มอธิบายว่า ในทศวรรษที่ 21 จะเป็นยุคที่ข้อมูลมีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สินใด ๆ โดยเฉพาะ “ข้อมูลส่วนบุคคล”(Data Privacy) ที่ถูกสกัดออกมาเก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่วันแรกที่เราลืมตาดูโลกไปจนถึงวันสุดท้ายที่เราจากโลกนี้ไป หลังจากเราตายแล้วข้อมูลของเราก็จะยังอยู่ในโลกต่อไปตราบนานเท่านาน ไล่ตั้งแต่วันเดือนปีเกิด น้ำหนักแรกเกิด เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน การได้รับวัคซีนในวัยเด็ก เบี้ยเด็กแรกเกิด โรงเรียนในแต่ละระดับ มหาวิทยาลัย วิชาที่ลงทะเบียน เกรดเฉลี่ย พอเข้าสู่วัยทำงาน ข้อมูลเราจะถูกสกัดออกมาเยอะมากเป็นพิเศษ       เช่น ที่อยู่ปัจจุบัน ภรรยา บุตร สถานที่ทำงาน อาชีพ รายได้…

8 ผู้ให้บริการคลาวด์เรียกร้องภาครัฐกำหนดพื้นฐานปกป้องสิทธิลูกค้าในการเข้าถึงข้อมูล

Loading

  กลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ในไทยตั้งกลุ่ม Trusted Cloud Principles เรียกร้องภาครัฐกำหนดหลักการพื้นฐานปกป้องสิทธิของลูกค้า กรณีหน่วยงานรัฐต้องการเข้าถึงข้อมูลในระบบคลาวด์ เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่ชัดเจน และโปร่งใส ลดปัญหาความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   สำหรับ Trusted Cloud Principles (หลักการพื้นฐานของระบบคลาวด์ที่เชื่อถือได้) จัดทำขึ้นโดยผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud service providers) และบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก 8 แห่ง ได้แก่ Amazon, Google, Microsoft, IBM, Salesforce/Slack, Atlassian, SAP และ Cisco เพื่อกำหนดหลักการพื้นฐานเพื่อช่วยปกป้องสิทธิของลูกค้าในกรณีที่หน่วยงานภาครัฐประสงค์ที่จะเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าในระบบคลาวด์   เบื้องต้น Trusted Cloud Principles จะกลายเป็นข้อตกลงและข้อควรปฏิบัติในการให้บริการระบบคลาวด์ต่างๆ ซึ่งคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก โดยเป้าหมายของการรวมตัวของผู้ให้บริการคลาวด์และบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกเหล่านี้คือการปกป้องสิทธิของผู้ใช้บริการจากแรงกดดันจากหน่วยงานภาครัฐทั่วโลกที่ขอเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าเอกชนจากผู้ให้บริการคลาวด์มากขึ้นเรื่อยๆ   ทำให้ผู้ให้บริการคลาวด์ได้รวมตัวกันเพื่อกำหนดหลักการและมาตรฐานของระบบคลาวด์ที่เชื่อถือได้ เพื่อสนับสนุนแนวทางในการดำเนินการที่ชัดเจนและโปร่งใสของหน่วยงานรัฐบาลจากหลายๆ ประเทศ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยและรักษาสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการคลาวด์   ทั้งนี้ หลักการที่รวบรวมกันมาประกอบด้วย 1.รัฐบาลควรประสานงานกับลูกค้าเอกชนเป็นอันดับแรก โดยมีข้อยกเว้นเพียงเล็กน้อย รัฐบาลควรขอข้อมูลโดยตรงจากลูกค้าเอกชน แทนการมาขอจากผู้ให้บริการคลาวด์…

เพจดังเตือนภัย! สำเนาบัตร ปชช.ลูกค้าแบงก์ กลายเป็นถุงห่อขนม ติงต้องทำลายทิ้ง

Loading

  เพจดังเตือนภัย! สำเนาบัตร ปชช.ลูกค้าแบงก์ กลายเป็นถุงห่อขนม ติงต้องทำลายทิ้ง เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กแฟนเพจ Drama-addict โพสต์ภาพถุงกระดาษใส่ขนมโตเกียวจากร้านค้าแห่งหนึ่ง ซึ่งกระดาษจากสำเนาเอกสารสำคัญที่ใช้ในการเปิดบัญชีธนาคาร อาทิ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร มีชื่อ เลขที่บัตร เลขที่บัญชี รวมถึงมีการเซ็นสำเนาถูกต้องชัดเจน ทั้งนี้ ไม่สามารถระบุได้ว่า กระดาษใบดังกล่าวหลุดมาจากแหล่งใด แต่ถือว่าอันตรายอย่างมาก เพราะเป็นเอกสารสำคัญที่อาจทำให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพได้อย่างง่ายๆ โดยมีเนื้อหาโพสต์ว่า พอดีว่ามีเรื่องจะมาเตือนภัยค่ะ เมื่อวานไปซื้อโตเกียวหน้าเซเว่นค่ะ แล้วถุงที่ใส่มาเป็นเอกสารสำคัญ แต่ดันเอาทาทำเป็นถุงกระดาษ มีทั้งเลขบัตรประชาชน หน้าบุ๊คแบงค์ พร้อมลายเซ็นเลยค่ะ อันนี้ทางเราเบลอไว้นะคะ คืออยากให้หน่วยงานที่มีเอกสารสำคัญแบบนี้ คุณควรทำลายเอกสารทิ้งค่ะ ไม่ใช่ขายชั่งโลให้คนมาพับถุงขาย แบบนี้ถ้าเจอมิจฉาชีพ เค้าสามารถนำเลขบัตรประชาชนเราไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้เลยนะคะ อยากจะให้ช่วยเป็นสื่อกลางเตือนให้ทีค่ะ     ขอบคุณ : เฟซบุ๊กแฟนเพจ Drama-addict   ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา : มติชนออนไลน์       …

Facebook ทำเงินจากคุณได้อย่างไร และล้วงข้อมูลอะไรไปบ้าง !?

Loading

  Facebook ทำเงินจากคุณได้อย่างไร และล้วงข้อมูลอะไรไปบ้าง !? ในทุก ๆ วัน มีคนเกือบ 2,000 ล้านคนทั่วโลกที่กำลังไถฟีด Facebook (เฟซบุ๊ก) และในทุก ๆ วันมีกว่า 300 ล้านภาพ ที่ถูกอัปโหลดเก็บไว้บนเฟซบุ๊ก เอาหน่วยย่อยลงมาหน่อย ในทุก 1 นาที มี 590,000 คอมเมนต์ และ 290,000 สเตตัสเกิดขึ้นบนเฟซบุ๊ก เราอาจคิดว่าเราทุกคนกำลังใช้เฟซบุ๊ก แต่แท้จริงแล้วเฟซบุ๊กกำลังใช้เรา 2,895 ล้านคนคือจำนวนของบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กล่าสุด ณ ปัจจุบัน ถ้าถามถึงสัดส่วนประชากรโลกก็เพียง 36 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง อ้าว! ยังไม่ถึงครึ่งอีกหรอเนี่ย แต่นั่นก็ทำให้เฟซบุ๊กกลายเป็นโซเซียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก และคงไม่เกินเลยที่จะกล่าวว่า เฟซบุ๊กเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังที่สุด และมีอิทธิพลต่อผู้คนทั่วโลกมากที่สุด รวมทั้งเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจ สังคม จนไปถึงการเมืองได้เลย   รายได้ล่าสุด เมื่อครองโลกได้ขนาดนี้จึงไม่แปลกใจนัก ที่บริษัทเฟซบุ๊กจะทำเงินมหาศาล โดยตัวเลขล่าสุดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2021…

เซ็นทรัล เรสตอรองส์ (CRG) ถูกแฮกข้อมูลลูกค้า ระบุปิดช่องโหว่แล้ว ล่าสุดแฮกเกอร์เจาะเครือเซนทาราด้วย

Loading

    เซ็นทรัล เรสตอรองส์ -โรงแรมเซ็นทารา เผยถูกแฮกข้อมูลลูกค้า แต่ได้อุดช่องโหว่แล้ว เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด ได้ออกหนังสือชี้แจงกรณีข้อมูลสารสนเทศของบริษัท ถูกโจมตีทางไซเบอร์ โดยระบุว่า ตามที่บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรรองส์ กรุ๊ป จำกัด ได้รับทราบถึงการโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบข้อมูลสารสนเทศขององค์กร ซึ่งส่งผลให้มีการเข้าถึงระบบสารสนเทศของบริษัทฯ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและโดยไม้ได้รับอนุญาต ซึ่งเมื่อทราบเรื่อง บริษัทฯ ได้มีการดำนเนินการปิดการเข้าถึงข้อมูลที่ผิดปกติในทุกช่องทางและทำการตรวจสอบทันที โดยภายหลังจากการตรวจสอบโดยละเอียดร่วมกับผู้เชี่ยวชาญถึงรายละเอียดของการโจมตี รวมถึงข้อมุลต่างๆที่มีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีแล้ว บริษัทฯ พบว่ามีการเข้าถึงชุดข้อมูลส่วนุบคคลอันได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เพศ หมายเลขโทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด และที่อยู่อีเมล ของลูกค้าบางส่วน รวมถึงข้อมูลอื่นๆของบริษัทน ในบางส่วน อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ขอยืนยันว่า ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อสินค้า ข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลธุรกรรมทางการเงินใดๆ ของลูกค้า ถูกเข้าถึงในเหตุการณ์นี้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง บริษัทน ขอให้ลูกค้าของบริษัทฯ ระวังการติดต่อทางโทรศัพท์ หรืออีเมลที่มีลักษณะน่าสงสัย…

กูรูเปิด ‘3 เทรนด์’ ซิเคียวริตี้ สะเทือนความมั่นคงไซเบอร์

Loading

  ทุกวันนี้ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งผู้คน องค์กร และหน่วยงานรัฐบาล ล้วนตกอยู่บนความเสี่ยง แม้จะระมัดระวังอย่างมากแล้วก็มีโอกาสตกเป็นเหยื่อ กูรูด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ปี 2022-2024 ว่า 3 เทรนด์ที่น่าจับตามอง ประกอบด้วย   1.ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและความจำเป็นเร่งด่วนในการฉีดวัคซีนไซเบอร์ให้กับประชาชน โดย การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งปฏิกิริยาดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นขององค์กรการทำงานแบบเวิร์คฟรอมโฮมทำให้เปิดช่องโหว่ในการโจมตีของแฮ็คเกอร์มากขึ้นและที่สำคัญเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เพราะปัญหาทางไซเบอร์ไม่อาจแก้ได้โดยทางเทคนิคอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยกระบวนการที่ดีและการให้ความรู้ประชาชนด้วย   2.การโจมตีทางไซเบอร์ในระบบห่วงโซ่อุปทานและการรับรองมาตรฐานระดับวุฒิภาวะทางไซเบอร์ งานวิจัยทั่วโลกพบว่าการโจมตีทางไซเบอร์มีสาเหตุมาจากการที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมีการต่อเชื่อมกับหน่วยงานที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) โดยที่หน่วยงานเหล่านั้นมีช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทำให้องค์กรที่ต่อเชื่อมเกิดปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานหรือการรับรองความมั่นคงปลอดภัย ในระบบห่วงโซ่อุปทาน   3.ความท้าทายจากพฤติกรรมการทำงานที่เปลี่ยนไปและสถาปัตยกรรมความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมกับโลกยุค Post-COVID ด้วยการทำงานแบบเวิร์คฟรอมโฮมจะอยู่ไปอีกนาน ผู้คนเริ่มมีความคุ้นชินกับการประชุมออนไลน์ ซึ่งทำให้ระบบความมั่นคงปลอดภัยขององค์กรจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคทันสมัยและรองรับการโจมตีทางไซเบอร์เนื่องจากลักษณะการทำงานดังกล่าว   ดังนั้นฝ่ายรักษาความมั่นคงปลอดภัยมีความจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างเรื่องการป้องกันความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร และเรื่องการดำเนินธุรกิจ พร้อมๆ ไปกับการสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ โดยระบบมีความจำเป็นในการตรวจจับพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงและผิดปกติอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะยกระดับความเชื่อใจหากถูกคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที ปริญญา วิเคราะห์เหตุการณ์ดูดเงินซึ่งมีผู้เสียหายกว่า 4 หมื่นราย ความเสียหายกว่า…