เผยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 40% ใน เอเชีย-แปซิฟิก มี Cyber risk สูง

Loading

ความจริงที่น่าตกตะลึง!! ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใน เอเชีย-แปซิฟิก มีพฤติกรรมทางไซเบอร์เสี่ยงสูง (Cyber risk) ผลสำรวจพบว่า 40% เต็มใจเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว… ผลสำรวจชี้ชัด Cyber risk ใน APAC สูง  เมื่อไม่นานมานี้ได้มีเปิดเผยผลสำรวจ Global Privacy Report 2018 ที่ทาง แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้สำรวจผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific หรือ APAC) พบว่า 39.2% เต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้ได้ความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบ หรือสอดส่องความปลอดภัยออนไลน์ แต่ยังมีกว่า 40% ที่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว โดยกว่า 22% สารภาพว่าแชร์ข้อมูลโซเชียลมีเดียเพื่อเล่นควิซต่างๆ ขณะที่ 18.9% ยอมรับว่ายอมสละความเป็นส่วนตัวเพื่อรับสินค้า และบริการฟรี เช่น ซอฟต์แวร์หรือของขวัญอื่น ๆ นอกจากนี้ในรายงานฉบับดังกล่าวยังเปิดเผยอีกว่า 55.5% ของผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในช่วงอายุ 16-24 ปี และ 25-34 ปี และมีความคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความเป็นส่วนตัวครบถ้วนสมบูรณ์ในโลกดิจิทัลสมัยใหม่ และเชื่อว่าข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ วันเกิด…

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : คุ้มครองหรือไม่คุ้มครอง

Loading

วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) หรือ PDPA) มีผลบังคับใช้หลังการประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเนื้อหาสาระของกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้คุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างแท้จริง ซึ่งแตกต่างจากชื่อของกฎหมายอย่างสิ้นเชิง อะไรคือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และทำไมต้องมีกฎหมายฉบับนี้! ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ที่เริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทำงานในรูปแบบของ Information Technology คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงานของผู้คนในสังคม และมีบทบาทในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น ทำให้มีการพูดถึงการคุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อคุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกรรมต่าง ๆ ที่เจ้าของข้อมูลไม่ต้องการให้ผู้อื่นนำไปใช้ จากวันนั้นถึงวันนี้ผ่านมา 23 ปี กฎหมายฉบับนี้คลอดออกมา และจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2563 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การให้ความคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน และข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียง เลขบัตรประชาชน หรือเลขหมายเอกสารส่วนตัวอื่น ๆ โดยห้ามไม่ให้ผู้อื่นนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพื่อประโยชน์ในด้านใดด้านหนึ่งที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้นำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากปัจจุบันเราต้องติดต่อกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ…

เมแกนไม่ทน ฟ้องสื่ออังกฤษ ฐานแพร่จดหมายส่วนตัว-บิดเบือนเนื้อหา

Loading

ดัชเชสเมแกนฟ้องร้องแท็บลอยด์ของอังกฤษ ฐานเผยแพร่จดหมายส่วนพระองค์อย่างผิดกฎหมาย และบิดเบือนเนื้อหาในจดหมายด้วย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อ 1 ต.ค. 2562 เมแกน ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ กำลังดำเนินการฟ้องร้อง หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ ‘เมล ออน ซันเดย์’ (Mail on Sunday) ของสหราชอาณาจักร โดยกล่าวหาว่า สื่อเจ้านี้เผยแพร่จดหมายส่วนพระองค์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อย่างผิดกฎหมาย ในแถลงการณ์ประกาศเรื่องการฟ้องร้อง เจ้าชายแฮร์รี ดยุคแห่งซัสเซกซ์ กล่าวหา เมล ออน ซันเดย์ ว่า เจาะจงแก้ไขเนื้อหาในจดหมายเพื่อซ่อนคำโกหกของตัวเอง ในเรื่องที่รายงานเกี่ยวกับดัชเชสเมแกน “น่าเสียดายที่ภรรยาของข้าเจ้าตกเป็นเหยื่อรายล่าสุดของสื่อแท็บลอยด์อังกฤษ ที่รายงานข่าวเล่นงานบุคคลโดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา เป็นการโฆษณาเผยแพร่ที่รุนแรงขึ้นตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ตลอดช่วงการตั้งครรภ์ของภรรยาข้าพเจ้า และขณะที่เรากำลังเลี้ยงดูบุตรชายที่เพิ่งลืมตาดูโลกของเรา” เจ้าชายแฮร์รีระบุในแถลงการณ์ ดยุคแห่งซัสเซกซ์ระบอีกว่า “มาตรการทางกฎหมายครั้งนี้เกิดขึ้นจากเหตุการณ์หนึ่ง จากพฤติกรรมก่อกวนของแท็บลอยด์อังกฤษเจ้านี้ที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน เนื้อหาของจดหมายส่วนตัวถูกเผยแพร่อย่างผิดกฎหมาย ในลักษณะตั้งใจสร้างความเสียหาย เพื่อควบคุมผู้อ่าน และขยายความพยายามในการสร้างความแตกแยกของสื่อเจ้านี้” ขณะที่สำนักงานกฎหมาย ‘ชิลลิงส์’ ซึ่งเป็นผู้แทนของดัชเชสเมแกน ระบุว่า พวกเขาเริ่มการประบวนการทางกฎหมายต่อ เมล ออน ซันเดย์ และบริษัทแม่อย่าง แอสโซซิเอตเตด…

ข้อมูลผู้โดยสาร Malindo – Thai Lion Air รั่วไหลนับล้านรายการ

Loading

พบข้อมูลผู้โดยสารสายการบิน Malindo Air ซึ่งรวมถึงชื่อ ที่อยู่ หมายเลขพาสปอร์ต รั่วไหลนับล้านรายการ Thai Lion Air กระทบด้วย เซาท์ไช่น่ามอร์นิ่งโพสต์รายงานว่า สายการบิน Malindo Air ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Lion Air สายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติอินโดนีเซียพบว่ามีข้อมูลของผู้โดยสารที่ประกอบด้วย ชื่อผู้โดยสาร อีเมล์ วันเกิด เลขที่พาสปอร์ต ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้โดยสารนับล้านรายรั่วไหลตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา Chandran Rama Muthy ซีอีโอของ Malindo Air ยอมรับว่า “เราพบการละเมิดข้อมูลของผู้โดยสารตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน โดยขณะนี่้กำลังเร่งประสานงานกับทางมาเลเซีย ซึ่งเป็นฐานปฏิบัติการบินของทางสายการบินให้เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้แล้ว รวมถึงกำลังร่วมมือกับบริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับการวิเคราะห์แบบเต็มรูปแบบเกี่ยวกับการรั่วไหลพร้อมหามาตรการรับมือในอนาคต รายงานระบุว่าข้อมูลของผู้โดยสารที่เดินทางกับสารการบิน Malindo Air และ Thai Lion Air ซึ่งทั้งสองเป็นบริษัทลูกของ Lion Air นั้นถูกอัพโหลดเก็บไว้ใน Amazon Web Services ซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลบนคลาวด์สาธารณะ โดยข้อมูลที่หลุดออกมานั้นมานั้นมีทั้งหมด 4 ไฟล์…

ธนชาตเตือนนักพนันออนไลน์ต่างประเทศ ถูกมิจฉาชีพล้วงข้อมูลส่วนตัว

Loading

ธนาคารธนชาตเตือนภัยผู้ที่เข้าเว็บไซต์เล่นพนันออนไลน์จากต่างประเทศ ระวังถูกมิจฉาชีพล้วง “ข้อมูลส่วนตัว” ไปใช้หาประโยชน์ ธนาคารธนชาต ออกประกาศเตือนภัยประชาชน หลังมีรายงานจากศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) และศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT ) ว่า เกิดเหตุการณ์ข้อมูลประชาชนซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารหลายแห่งรั่วไหลจากเว็บพนันออนไลน์ในต่างประเทศ ทั้งนี้ ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อได้ให้ข้อมูลส่วนตัวแก่เว็บไซต์พนัน ได้แก่ ข้อมูลเลขที่บัญชีธนาคารที่ใช้ในการโอนเงิน ชื่อ-สกุล วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน รวมถึงรหัสหลังบัตรประชาชน เป็นต้น โดยประมาณการจำนวนข้อมูลที่รั่วไหลออกไปราว 40 ล้านรายการซึ่งการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าว “ไม่ได้เกิดจากระบบธนาคาร” แต่เป็นเพราะระบบฐานข้อมูลของเว็บพนัน ไม่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลใดๆ ทำให้บรรดามิจฉาชีพเจาะเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานเว็บไซต์ได้ ธนาคารธนชาตมีความเป็นห่วงและอยากให้ลูกค้าทุกท่านระมัดระวังในการให้ข้อมูลส่วนตัวกับเว็บไซต์ต่างๆ โดยมีแนวทางเสนอแนะ ดังนี้ – ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ก่อนจะให้ข้อมูลส่วนตัวทุกครั้ง (ดูวิธีการสังเกตเบื้องต้นได้ที่ลิงค์นี้ https://facebook.com/thanachartbank/posts/2044524652236929 – ระวังการคลิกลิงก์จากอีเมลหลอกลวง (Phishing Mail) (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.thanachartbank.co.th/TbankCMSFrontend/newsletter/tbankdsi_14.html) – ไม่ควรใช้ Password ของ Mobile Banking, Internet Banking เหมือนกับเว็บไซต์อื่น ๆ – ระมัดระวังมิจฉาชีพที่หลอกลวงทางโทรศัพท์ ——————————————…