คปภ. ยกระดับป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับธุรกิจประกันภัย

Loading

สำนักงาน คปภ. ทำงานร่วมกับ สคส. สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน และสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย เพื่อยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของภาคธุรกิจประกันภัย

‘วราวุธ’ขอโทษผู้สูงอายุ-ปชช. หลังข้อมูลโดนแฮ็ก เร่งสาวต้นตอคนผิด-เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

นายวราวุธ​ ศิลปอาชา รมว.พม. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีแฮ็กเกอร์ต่างประเทศประกาศขายข้อมูลในเว็บไซต์ อ้างเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้จากกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นำใช้ในทางมิชอบ

หน่วยความมั่นคงสหรัฐฯ ซื้อข้อมูลส่วนตัวของประชาชนโดยไม่มีหมาย

Loading

สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) ระบุว่าทางหน่วยงานซื้อข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตของชาวอเมริกันจากผู้ค้าข้อมูลโดยไม่มีหมายศาล NSA ชี้ว่าข้อมูลที่ว่านี้มีความสำคัญอย่างมากกับภารกิจในด้านความมั่นคงแห่งชาติและความมั่นคงไซเบอร์ โดยมีการใช้ข้อมูลค่อนข้างระมัดระวัง

“28 ม.ค.วันแห่งข้อมูลส่วนตัว” ถึงเวลาคนไทยต้องตระหนักรู้

Loading

  วันที่ 28 ม.ค.ของทุกปี เป็น “วันแห่งข้อมูลส่วนตัว” (Data Privacy Day)  ซึ่งในยุค “ดิจิทัล”  ข้อมูลส่วนบุคคล ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก!!   ทุกประเทศต่างมีกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหากเจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้ข้อมูล หรือเปิดข้อมูล หากมีการละเมิด ก็ถือว่าผิดกฎหมาย!?!   ซึ่งจากผลสำรวจโดย Telenor Asia Digital Lives Decoded ปี 2023 พบว่าคนไทยมีความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลเพียง 17% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่อยู่ที่ 44% ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าไม่กังวลเรื่องนี้มี 21% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียที่มีเพียง 8% เท่านั้น แสดงให้เห็นว่า คนไทยกังวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชีย!!   ภาพ pixabay.com   อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย ก็มี พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ ก.ม.พีดีพีเอ  ที่ออกมาบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทุกองค์กรไม่ว่าภาครัฐ หรือเอกชน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย   สำหรับองค์กรโทรคมนาคมใหญ่อย่าง ทรู ที่หลังมีการควบรวมกับดีแทคแล้ว ยิ่งทำให้มีลูกค้าที่ต้องดูแลเพิ่มมากขึ้น จะมีวิธีจัดการและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างไร?   “มนตรี สถาพรกุล” หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า  ทรู คอร์ปอเรชั่น ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ถือเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนอีกมิติหนึ่งในยุคดิจิทัล ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเด็นด้านความยั่งยืนที่ทรูให้ความสำคัญในระดับสูงมาก   มนตรี สถาพรกุล   “หลังการควบรวมระหว่างทรู และดีแทค ทำให้มีฐานลูกค้ากว่า 51 ล้านรายที่ต้องดูแล และหากรวมบริการต่างๆ ทั้งหมดแล้ว จะมีมากกว่า 100 ล้านบัญชีที่ต้องดูแลข้อมูลส่วนบุคคล โดยได้ยึดกลยุทธ์ “Privacy and Security by Design” ซึ่งเป็นการเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวที่ปกป้องข้อมูลลูกค้าให้ปลอดภัย ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ พร้อมคุมเข้มความปลอดภัยสารสนเทศ ด้วยมาตรฐานสากล ISO 27001 และเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อจำกัด การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็น”   นอกจากนี้ยังได้มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ มาใช้ในการลงทะเบียนซิมเพื่อความแม่นยำและปลอดภัย การเปลี่ยนเอกสารไปเป็นดิจิทัล เลิกใช้กระดาษ 100% นำ เอไอ และแชตบอทเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า เพื่อลดระยะเวลารอและลดระดับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล   หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บอกต่อว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองน้อย จึงต้องมีการสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล ควรทำในวงกว้าง และต่อเนื่อง เราต้องการให้ผู้ใช้บริการมือถือและเทคโนโลยีดิจิทัลทุกคนเข้าใจสิทธิของการเป็นเจ้าของข้อมูลและรับรู้วัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูล เลือกที่จะให้หรือไม่ให้ความยินยอมในการเข้าถึง เปิดเผย และใช้ข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิทราบ ขั้นตอนที่ได้มาของข้อมูล และมีสิทธิยกเลิกหรือแจ้งให้ลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายเมื่อไหร่ก็ได้   โดยผู้ให้บริการมือถือและดิจิทัล เป็นเพียง “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” เท่านั้น  ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูล สามารถเลือกให้ความยินยอมด้านความเป็นส่วนตัวใน 2…

บัวแก้วเตือนคนไทยในต่างแดน ระวังเพจปลอม-แอบอ้างเป็นจนท.หลอกเอาข้อมูลส่วนตัว

Loading

กรมการกงสุลได้ประกาศเตือนให้ประชาชนระวังเพจปลอมที่แอบอ้างเป็นกรมการกงสุล ขอให้ประชาชนไม่หลงเชื่อคนที่ขอให้ลงทะเบียนทำหนังสือเดินทาง ขอเพิ่มเป็นเพื่อนในไลน์ หรือเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ขอให้ทุกคนทราบว่าเว็บไซต์ของกรมการกงสุลจะลงท้ายด้วย .go.th เท่านั้น

วิจัยเผยข้อมูลผู้ใช้ Facebook 1 คนอาจอยู่ในมือของเกือบ 50,000 บริษัท

Loading

ผลการศึกษาจาก Consumer Reports เผยว่า Facebook ได้ข้อมูลของผู้ใช้งาน 1 คนจากบริษัทมากกว่า 2,000 บริษัท นักวิจัยของ Consumer Reports ชี้ว่า Facebook ได้รับข้อมูลผู้ใช้งาน 1 คน โดยเฉลี่ยคนละ 2,230 บริษัท โดยศึกษาจากอาสาสมัคร 709 คน